ปัจจุบันการทำธุรกรรมและเอกสารราชการต่าง ๆ กำลังเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง e-Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนเอกสารที่เป็นกระดาษให้มาอยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และประหยัดเวลาในการดำเนินงาน แต่ยังช่วยเพิ่มความโปร่งใส ทำให้สามารถติดตามตรวจสอบได้ อำนวยความสะดวกให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า e-Signature คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบราชการอย่างไรบ้าง ในบทความนี้กัน
e-Signature คืออะไร
e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้เทคโนโลยีในการลงลายมือชื่อบนเอกสารออนไลน์ สามารถใช้ทดแทนลายเซ็นที่เป็นปากกาได้ อีกทั้งลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ยังได้ถูกรองรับตามกระบวนการกฎหมาย มาตรา 26 สามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมได้ไม่ว่าจะเป็น การเงิน อสังหาริมทรัพย์ หรือทางด้านกฎหมาย และตอนนี้ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเข้าถึงบริการของราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากคุณยังไม่รู้จักหรือไม่รู้ว่าข้อดีของการมีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างไร แล้วหน่วยงานรัฐไหนใช้ e-Signature บ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
Digital Signature คืออะไร
Digital Signature หรือลายเซ็นดิจิทัล คือ รูปแบบของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบกุญแจคู่ (Public Key Infrastructure – PKI) เพื่อสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับเอกสารดิจิทัล ระบบจะสร้างลายเซ็นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับเอกสารแต่ละฉบับ ทำให้สามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ลงนาม ความถูกต้องของเอกสารและป้องกันการปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
e-Signature VS Digital Signature แตกต่างกันอย่างไร
e-Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบพื้นฐานของการลงลายมือชื่อในรูปแบบดิจิทัล อาจเป็นภาพสแกนลายเซ็น การพิมพ์ชื่อ ตัวเลข อักขระ สัญลักษณ์ต่าง ๆ หรือการวาดลายเซ็นบนหน้าจอ ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้รหัสผ่านในการยืนยันตัวตนการเป็นเจ้าของข้อมูล
ในขณะที่ Digital Signature จะนิยมใช้งานกับเอกสารที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยเช่นเดียวกันกับ e-Signature และมีใบรับรองลายเซ็นที่ออกโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือได้
ทำไมองค์และหน่วยงานต่าง ๆ ถึงหันมาใช้ระบบ e-Signature
การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระบบ e-Signature จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการเซ็นเอกสาร ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์และจัดส่งเอกสาร อีกทั้งยังช่วยลดการใช้กระดาษซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Paperless ระบบ ESG ขององค์กรอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบ e-Signature ยังมีความปลอดภัยสูง สามารถตรวจสอบได้ และถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมรองรับการทำงานระยะไกล ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
4 ประโยชน์ e-Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่คุณควรรู้
1. เซ็นได้ทุกที่ทุกเวลา
เราสามารถเซ็นชื่อ เซ็นเอกสารสำคัญได้ทุกที่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้าน อยู่ต่างประเทศ ก็สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในการอนุมัติหรือเซ็นรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางไปถึงบริษัท หรือหน่วยงานราชการให้เสียเงินเสียเวลา ก็สามารถเซ็นเอกสารได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต
2. เก็บเอกสารเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เพราะฉะนั้นไฟล์เอกสารที่เซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน ซึ่งข้อดีนี้จะช่วยให้การเก็บเอกสารนั่นง่ายขึ้น ลดพื้นที่เก็บกระดาษในหน่วยงานมากยิ่งขึ้น
3. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการ
เมื่อใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะทำให้การทำงาน ในการวิเคราะห์และตรวจสอบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งระบบคอมพิวเตอร์เองยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา ลดความผิดพลาดของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
4. ลดเวลาการทำงาน จัดส่งเอกสารได้รวดเร็ว
ปกติถ้าเวลาที่เราไปเซ็นเอกสารที่หน่วยงานราชการ นอกจากเสียเวลาเดินทางไปเซ็นแล้ว ยังต้องเสียเวลาในการรอคอยระบบปฏิบัติการที่ใช้คนในการทำงาน แต่ถ้าเราเซ็นเอกสารด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เราไม่ต้องเดินทางไปเซ็น แถมยังใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบลายเซ็นได้อีกด้วย ลดการทำงาน เอกสารดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยงานรัฐที่ใช้ e-Signature
กรมสรรพากร
เรียกว่าเป็นหน่วยงานแรก ๆ ของประเทศไทยที่ได้นำลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานบริการประชาชน ได้มีการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นตอนการยื่นคำขอแบบ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล การใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax & invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)
กรมบัญชีกลาง
อีกหนึ่งหน่วยงานที่สนับสนุนให้มีการใช้งานลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยออกแนวทางการใช้ เพื่อให้หน่วยงานรัฐนำไปใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อความว่องไวในการอนุมัติ ลดขั้นตอนการทำงาน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ได้ออกหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล โดยใช้ลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ Digital Signature ซึ่งจะต้องใช้รหัสที่มีความปลอดภัยสูง อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเซ็นชื่อ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวของผู้ประกอบการ
กรมการค้าต่างประเทศ
ใช้สำหรับในการเข้าระบบลงทะเบียนผู้ประกอบการ และระบบในการให้บริการออกใบอนุญาตและออกหนังสือรับรองการส่งออก – นำเข้าสินค้าทั่วไป
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จัดทำระบบภายในของตัวเอง เพื่อรองรับการใช้งาน Digital Signature ภายในหน่วยงานอย่างเต็มรูปแบบ
สรุปบทความ
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการเจ้าอื่น ๆ อีกมากที่เปิดใช้ระบบ e-Signature เพื่อให้ง่ายต่อการบริการ ให้ประชาชนได้มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าใช้บริการของหน่วยงานราชการ นอกจากนี้การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา เน้นความปลอดภัยของผู้ใช้ทุกคน อีกทั้งเมื่อมีการประกาศ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้หน่วยงานราชการต้องปรับตัวมาใช้อิเล็กทรอนิกส์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเซ็นเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับระบบจัดการเอกสารในไม่ช้า เพื่อให้สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
Ditto มีระบบ e-Signature ที่รองรับการลงนามบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ มีความปลอดภัยสูง ระบบของเรารองรับทั้ง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ป้องกันการปลอมแปลงและแก้ไขเอกสาร มาพร้อมระบบตรวจสอบและยืนยันตัวตน ทำให้เอกสารที่ลงนามมีความปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย
ขอบคุณข้อมูล:
crossingsoft.com, fusionsol.com, standard.dga.or.th, thansettakij.com
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม
📞 02-517-5555
Line ID: @dittothailand