ข่าวสารและบทความ
ยกระดับการทำงานองค์กรด้วยระบบ e-Service
November 6, 2024
จากการผลักดันของภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จึงมีการบังคับใช้ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล หรือ พรบ. ดิจิทัล ทำให้หลายหน่วยงานต่างเริ่มปรับตัวเพื่อเข้าสู่การทำงานรูปแบบดิจิทัลกันมากขึ้น ซึ่ง e-Service คือ หนึ่งในระบบที่น่าจับตามองและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น e-Service คืออะไร หรือ Electronic Service หรือ e-Service คือ การให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรืออีเมล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง e-Service ครอบคลุมบริการหลากหลายประเภท ได้แก่ การให้ข้อมูลและคำแนะนำ การยื่นคำร้องหรือกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ การชำระค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม การนัดหมายหรือจองคิว การติดตามสถานะการดำเนินการ การนำ e-Service มาใช้ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ อีกทั้งยังเพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เนื่องจากมีการบันทึกข้อมูลการใช้บริการไว้ในระบบ วัตถุประสงค์ของ e-Service วัตถุประสงค์ของการพัฒนา e-Service คือ ต้องการยกระดับคุณภาพการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ดังนี้ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง ลดความซ้ำซ้อนในการกรอกข้อมูลและยื่นเอกสาร ... read more
ECM คืออะไร ช่วยให้การทำงานขององค์กรดีขึ้นอย่างไร
November 6, 2024
องค์กรของคุณเคยเจอปัญหานี้ไหม? มีเอกสารกระดาษมากมายที่ต้องจัดเก็บ ยิ่งนานเท่าไหร่จำนวนเอกสารก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อต้องการค้นหาเอกสารสำคัญก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะค้นหาเจอ บางทีเอกสารนั้นอาจเกิดการสูญหายไปก่อนที่คุณจะใช้งานเสียอีก แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อคุณใช้ระบบจัดการข้อมูลองค์กร Enterprise Content Management หรือ ECM ที่เข้ามาแปลงเอกสารกระดาษให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document) บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกันว่าระบบ ECM คืออะไร? และมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กรของคุณ? มาศึกษาพร้อม ๆ กันเลย ระบบ ECM คืออะไร Enterprise Content Management หรือ ECM คือ ระบบจัดการข้อมูลองค์กร ที่ประกอบไปด้วยกระบวนการออกแบบกลยุทธ์ เครื่องมือ และแพลตฟอร์มที่นำมาใช้เพื่อจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ เช่น ระบบการจัดการเอกสาร การสแกนไฟล์ แชร์ข้อมูลภายในหน่วยงานหรือภายนอก และการจัดการเว็บไซต์ นับเป็นการต่อยอดจากระบบ DMS (Document Management System) เพื่อผลักดันการทำงานของเครื่องมือให้เป็นมากกว่าระบบจัดการเอกสาร แต่สามารถต่อยอดได้ถึงข้อมูลขององค์กรได้ ความสำคัญของระบบ ECM เป็นที่รู้กันว่าการดำเนินงานในระดับองค์กรนั้นมีข้อมูลมากมาย แต่ละแผนกนั้นมีข้อมูลมหาศาล ซึ่งเป็นเรื่องยากที่คนในแต่ละแผนกจะจัดการและรักษาข้อมูลของพวกเขาอย่างเป็นระเบียบ ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่แผนกและทีมต่าง ๆ... read more
เสริมความเชื่อมั่นองค์กรและผู้ใช้บริการ ด้วย e-Services Platform
November 6, 2024
จากการที่ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทำให้หน่วยงานรัฐต่างปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและบริการประชาชนให้เข้าสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น การนำตัวช่วยที่สนับสนุน พรบ. ดิจิทัล อย่างระบบ e-Services ที่อำนวยความสะดวกระหว่างภาครัฐและประชาชนจึงเป็นตัวเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ ในบทความนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ e-Services Platform จาก Ditto บริการที่จะช่วยให้องค์กรภาครัฐสามารถทำงานได้อย่างทันสมัย และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการอย่างครบวงจรในยุค Digital Transformation e-Services Platform จาก Ditto คืออะไร e-Services Platform บริการใหม่ล่าสุดจาก Ditto ที่ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลายทั้งแบบพื้นฐานและแบบเสริม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างภาครัฐและประชาชนให้ราบรื่นยิ่งขึ้น เพียงแค่ใช้บริการผ่าน LINE Official ท่านก็สามารถจองบริการต่าง ๆ (Booking Service), ชำระบิล (Billing & Payment Service), แจ้งเรื่องและติดตามงาน (Request & Tracking) ได้อย่างง่ายดายจากทุกที่ทุกเวลา... read more
ระบบบริการประชาชน e-Service คืออะไร สามารถเข้าใช้งานจากที่ไหนได้บ้าง
November 5, 2024
การพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของภาครัฐ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ากับระบบให้บริการประชาชนให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ประชาชนสามารถติดต่อกับภาครัฐได้ไม่ว่าจะเวลาไหนหรืออยู่ที่ไหน รวมไปถึงการได้รับบริการที่รวดเร็วและเท่าเทียมกัน โดยเราเรียกระบบบริการประชาชนนี้ว่า “e-Service” ทำความเข้าใจ ระบบบริการประชาชน e-Service ระบบบริการประชาชน e-Service คือ ระบบบริการประชาชนผ่าน ทาง online โดยเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสำหรับบริการด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งถือเป็นการให้บริการได้เบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เวลาไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ โดย user เป็นคนจัดการเองซึ่งจะง่ายและสะดวกแก่การให้บริการลูกค้าหรือสมาชิก ซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น ระบบจองบริการ ระบบลงทะเบียนต่าง ๆ การเสียภาษี/ค่าธรรมเนียม การจดทะเบียน และการยื่นคำร้องต่าง ๆ เป็นต้น จุดประสงค์ของระบบบริการประชาชน e-Service ระบบบริการประชาชน e-Service เป็นเป้าหมายหลักของทุกประเทศที่มุ่งพัฒนาบริการของภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้ โดยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาช่องทางใหม่ ในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มักจะเน้นช่องทางที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อและให้บริการกับประชาชน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบบริการประชาชน e-Service ได้รับความสนใจ ระบบ e-Service กลายเป็นที่จับตามองและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจัยสำคัญดังนี้ ความคาดหวังอันสูงส่งของประชาชนและภาคธุรกิจ... read more
Micromanagement การจู้จี้จุกจิกด้านการทำงานที่อาจทำร้ายองค์กรโดยไม่รู้ตัว
November 5, 2024
ชีวิตการทำงานของคุณเคยพบเจอปัญหาเหล่านี้ไหม? เจอหัวหน้าทีมที่จู้จี้จุกจิก จ้องจะจับผิดในเรื่องการทำงานและอาจลามไปถึงชีวิตส่วนตัว ส่งผลให้รู้สึกเบื่อหน่าย หมดไฟ ไม่อยากทำงาน ซึ่งบางคนอาจมองข้ามการกระทำเหล่านี้เพราะคิดว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว นิสัยเหล่านี้กำลังทำร้ายเพื่อนร่วมงาน และทำลายบรรยากาศในการทำงานโดยที่คุณไม่รู้ตัว โดยเราเรียกคนที่มีนิสัยเหล่านี้ว่า “Micromanagement” หากองค์กรของคุณกำลังพบเจอปัญหาจากการบริหารงานแบบ Micromanagement อยู่ หรือสงสัยว่าคุณกำลังเป็นหัวหน้าทีมที่มีนิสัย Micromanagement หรือไม่? ควรรับมือและแก้ไขอย่างไร? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ การบริหารงานแบบ Micromanagement คืออะไร การบริหารงานแบบจุลภาค หรือ Micromanagement คือ รูปแบบการบริหารงานแบบที่หัวหน้าโฟกัสกับดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ มากเกินไปไม่ว่าจะเป็นวิธีการทำงานของพนักงานแต่ละคน และอาจลามไปเรื่องส่วนตัว โดยการใส่ใจที่มากเกินไปนี้เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่มีส่วนสำคัญในการทำลายบรรยากาศในที่ทำงาน เนื่องจากการจู้จี้มากเกินไปส่งผลให้ทำพนักงานรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจ และไม่กล้าลงมือทำ ต้องทำงานภายใต้กรอบที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว หน้าที่ของหัวหน้าคือการโฟกัสการทำงานในประเด็นใหญ่ ๆ ที่ส่งผลกับองค์กร ตรวจสอบความถูกต้องและความผิดพลาด ไม่ควรกดดันพนักงานจนมากเกินไป ชมเชย และสนับสนุนให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ทำไมจึงมีการบริหารงานแบบ Micromanagement การบริการงานด้วยนิสัยแบบ Micromanagement... read more
ทำความเข้าใจ พรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
November 5, 2024
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการขับเคลื่อนมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต การประกอบกิจการ งานธุรกิจของภาคประชาชน โดยเครื่องมือสำคัญที่ภาครัฐใช้ผลักดันสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า พรบ. ดิจิทัล ความเป็นมาของ พรบ. ดิจิทัล พรบ. ดิจิทัล หรือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดแนวทาง ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย โดยกำหนดให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดให้มีบริการสาธารณะ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกันให้เป็นระบบ ฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่มาใช้บริการกับหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบัน พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ศึกษา พรบ. ดิจิทัล ฉบับเต็มได้ที่: https://defund.onde.go.th/th/file/get/file/20211217365012fc2828ea531d71ab1e7cca681d214854.PDF ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจาก พรบ. ดิจิทัล 1. ประชาชนได้รับบริการที่ดี สะดวก และรวดเร็วขึ้น ประชาชนจะได้รับบริการภาครัฐดิจิทัลที่ดีขึ้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ จัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน อีกทั้งยังได้ได้รับความสะดวกจากการเข้ารับบริการภาครัฐมากขึ้น จากการให้บริการแบบ เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว... read more
Gig Economy เทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ที่ทุกองค์กรควรรู้
October 11, 2024
เป็นเรื่องจริงที่ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของใครหลายคนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนจากการทำงานออฟฟิสสู่การทำงานรูปแบบ Hybrid Working จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหญ่ ๆ ในตลาดงานตามมา เช่น การที่บริษัทหลายแห่งเริ่มเล็งเห็นแล้วว่าการให้พนักงาน Hybrid Working จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า หรือตัวพนักงานเริ่มคุ้นเคยกับการทำงานที่บ้าน หรือที่อื่น ๆ ที่ทำให้ได้อิสระในด้านเวลา และเหลือเวลาไปใช้ชีวิตมากขึ้นโดยที่งานก็ไม่เสีย ยิ่งไปกว่านั้นพนักงานประจำหลายคน ยังเปลี่ยนใจหันหลังให้การทำงานประจำที่มั่นคงในบริษัท เปลี่ยนมาเป็นการทำงานแบบ Gig Economy ที่เน้นความอิสระและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น Gig Economy คืออะไร Gig Economy คือ ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากงานแบบครั้งคราว หรืองานที่รับจ้างแล้วจบไป ส่วนมากมักใช้เรียกพนักงานพาร์ทไทม์หรือฟรีแลนซ์ โดยเฉพาะช่วงปี 2009 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์ (Subprime Crisis) หรือในประเทศไทยเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้คนออกมาทำงานอิสระเป็นจำนวนมาก ความแตกต่างระหว่าง Gig Worker และ Freelancer จะเห็นได้ว่าการทำงานในระบบของ Gig Economy จะมีความคล้ายคลึงกับการทำงานระบบ Freelance... read more
ทำความเข้าใจตลาด Carbon Credit การซื้อขาย และตัวอย่างการคำนวณ
October 11, 2024
ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ไม่ใช่เรื่องที่สามารถนิ่งนอนใจได้หรือเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป เนื่องจากนับวันปัญหาดังกล่าวยิ่งส่งผลกระทบชัดเจนขึ้น การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) จึงกลายเป็นเป้าหมายที่ไม่เพียงแค่ฝ่ายกำหนดนโยบายจะเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ประเทศบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่านั้น แต่ภาคเอกชนก็เป็นผู้เล่นสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อน และลดผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนได้ จึงทำให้เกิด Carbon Credit และตลาด Carbon Credit ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา บทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่าตลาด Carbon Credit คืออะไร? Carbon Credit ขายยังไง? และมีวิธีการคำนวณอย่างไร? ไปศึกษาพร้อม ๆ กันเลย ทำความรู้จัก “ตลาด Carbon Credit” ก่อนที่เราจะไปดูกันว่า Carbon Credit ขายยังไง Carbon Credit คำนวณอย่างไร เรามาทำความเข้าใจตลาด Carbon Credit กันก่อนดีกว่า ตลาด Carbon Credit หรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตนั้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ให้คำนิยามไว้ว่า... read more
ทำความเข้าใจเรื่อง Data Encryption การเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลองค์กร
October 11, 2024
ข้อมูลองค์กรถือเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล เพราะเป็นรากฐานที่ใช้ในการขับเคลื่อน ตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า จึงมีการใช้วิธีต่าง ๆ เพื่อปกป้องข้อมูลให้เป็นความลับ ปลอดภัยและไม่รั่วไหล จนสร้างความเสียหายให้กับองค์กร ซึ่ง “Data Encryption” คือ หนึ่งในวิธีการป้องกันข้อมูลที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ช่วยให้ข้อมูลปลอดภัยจากการโดนละเมิดหรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรทั้งชื่อเสียงและทรัพย์สิน วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Data Encryption กันให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงาน และประโยชน์ของการใช้งาน Data Encryption กับองค์กรที่มีข้อมูลมหาศาล Data Encryption คืออะไร การเข้ารหัสข้อมูล หรือ Data Encryption คือ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปรหัสคอมพิวเตอร์หรือโค้ด เพื่อให้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงคีย์ลับหรือรหัสผ่านเท่านั้นที่สามารถอ่านได้ ข้อมูลที่เข้ารหัสจะถูกเรียกว่า “Ciphertext” ในขณะที่ข้อมูลที่ไม่ได้รับการเข้ารหัสจะถูกเรียกว่า “Plain Text” ซึ่งช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจากการถูกโจรกรรมและภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้องค์กรได้รับความเสียหาย Data Encryption มีกี่ประเภท Symmetric-key Cryptography Symmetric-key Cryptography หรือที่เรียกว่า การเข้ารหัสแบบสมมาตร คือ... read more
ทำความเข้าใจ Data Visualization ศาสตร์แห่งการนำข้อมูลมาแสดงเป็นภาพ
October 8, 2024
การมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานเป็นหนึ่งสิ่งที่หลายองค์กรต่างให้ความสำคัญ เพราะข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการวิเคราะห์มีความซับซ้อนและยากที่จะทำให้ผู้รับสารทุกคนเข้าใจ จึงได้มีการนำศาสตร์ที่ช่วยแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพอย่าง Data Visualization มาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล “Data Scientist” และ นักวิเคราะห์ข้อมูล หรือ “Data Analyst” มีความสะดวกยิ่งขึ้น โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า Data Visualization คืออะไร? มีกี่รูปแบบ? ทำไมจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการวิเคราะห์? และยกตัวอย่าง 6 Data Visualization Tools ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทำความรู้จัก Data Visualization คืออะไร Data Visualization คือ การสรุปผลข้อมูลให้เป็นรูปภาพที่เขาใจง่าย ชี้ประเด็นของข้อมูลได้อย่างตรงจุด และสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าชิ้นงานต้องการสื่อสารอะไรบ้าง เพราะข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ (Data Analytics) เป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อน จึงต้องมีวิธีการนำเสนอแบบ Data Visualization ที่ช่วยให้ผู้รับสารทุกคนเข้าใจข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน และนำไปสู่การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด Data Visualization มีอะไรบ้าง อย่างที่เราได้กล่าวไปในหัวข้อข้างต้นว่า Data Visualization คือ... read more
IoT คืออะไร ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน และการปรับใช้กับองค์กร
October 8, 2024
IoT หรือ Internet of Thing เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ด้วยแนวคิดเรื่องอุตสาหกรรม 5.0 ที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม ด้วยการช่วยวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูล ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่า IoT คืออะไร? และทำไมจึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน และมีการนำ IoT มาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้างกับอุตสาหกรรมปัจจุบัน IoT คืออะไร Internet of Things หรือ ระบบ IoT คือ ระบบที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลและทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ ระบบ IoT นี้มีความสำคัญในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ในโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ทำให้เกิดการควบคุมและการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง IoT มีจุดประสงค์ในการช่วยให้ผู้ผบริโภคใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น สะดวกสบาย และเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น การประยุกต์ใช้ IoT ในชีวิตประจำวัน หลังจาที่เราทราบันแล้วว่า IoT คือ ระบบที่เชื่ออุปกรณ์ต่าง... read more
e-Government Services ระบบยกระดับการทำงานองค์กรภาครัฐ
October 8, 2024
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลดิจิทัล (Digitalization) กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ต้องการปรับตัวให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานระหว่างภาครัฐและประชาชน ให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเราเรียกกระบวนการทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นี้ว่า “e-Government Services” หรือ “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” บทความนี้จะพาคุณทำความรู้จักกันว่า e-Government Services คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? และมีประโยชน์กับภาครัฐอย่างไรบ้าง? e-Government Services Platform คืออะไร e-Government Services Platform หรือที่เรียกกันว่า e-Service คือ ระบบบริการประชาชนต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานราชการ ที่มอบความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐได้จากทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ ซึ่งการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของภาครัฐให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น จึงมีการนำ e-Government Services Platform มาปรับใช้กับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบการจองบริการต่าง ๆ (Booking Service) ระบบการชำระบิล (Billing... read more