Digital Footprint ร่องรอยบนโลกออนไลน์ที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม

  • May 24, 2024

News Description

Digital Footprint คือ

 

ในยุคดิจิทัลที่ใช้ชีวิตอยู่นี้ ทุกการกระทำของเราล้วนทิ้งร่องรอยดิจิทัลไว้มากมาย แม้ว่าจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ซึ่งนักท่องโลกออนไลน์หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “Digital Footprint” ผ่านหูกันมาบ่อย ๆ แต่รู้กันไหมว่า Digital Footprint นอกจากจะส่งผลกับตัวบุคคลแล้ว ยังสามารถส่งผลต่อระดับองค์กรได้อีกด้วย

 

บทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่าแท้จริงแล้ว Digital Footprint คืออะไร? มีประโยชน์หรือส่งผลเสียอย่างไรต่อธุรกิจ? และสามารถจัดการ Digital Footprint ให้ส่งผลดีต่อเราอย่างไร? มาศึกษาไปพร้อม ๆ กันเลย

 

 

Digital Footprint คืออะไร

 

digital footprint มีอะไรบ้าง

 

Digital Footprint หรือที่เรียกกันว่า รอยเท้าบนโลกดิจิทัล โดย Digital Footprint คือ ร่องรอยดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความ การแชร์รูปภาพ การกดไลค์ หรือการค้นหาข้อมูล บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ (Platfrom) เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube ซึ่งร่องรอยเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้และสามารถติดตามย้อนกลับได้ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร และอาจเป็นช่องโหว่ให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้าถึงข้อมูลได้

 

 

Digital Footprint มีอะไรบ้าง

โดย Digital Footprint มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ Passive Digital Footprint และ Active Digital Footprint โดยมีความแตกต่างกันดังนี้

 

 

Passive Digital Footprint

Passive Digital Footprint คือ ร่องรอยดิจิทัลที่ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งใจสร้างขึ้น โดยทิ้งไว้บนอินเทอร์เน็ตโดยไม่รู้ตัว เช่น IP Address, ประวัติการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือแม้แต่พาสเวิร์ดที่ถูกบันทึกไว้อัตโนมัติ ร่องรอยเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ หากไม่มีการดูแลและจัดการอย่างระมัดระวัง

 

Active Digital Footprint

Active Digital Footprint คือ ร่องรอยดิจิทัลที่ผู้ใช้เจตนาสร้างขึ้นด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นข้อมูลดิจิทัลที่เปิดเผยโดยตั้งใจ อาทิ การโพสต์ลงในโซเชียลมีเดียส่วนตัว เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube หรือการส่งอีเมล การเขียนบล็อก และการคอมเมนต์ด้วยข้อความหรือรูปภาพต่าง ๆ ร่องรอยเหล่านี้สามารถสืบค้นได้ และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในอนาคต จึงควรตระหนักและใช้งานอย่างระมัดระวัง

 

 

ข้อดีของ Digital Footprint

1. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

องค์กรสามารถสร้างหรือบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับการโฆษณา และแทรกการทำแคมเปญที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร เช่น แคมเปญที่คืนประโยชน์ให้แก่สังคม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากลูกค้า

 

2. เพิ่มโอกาสในการข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ

Digital Footprint ที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้บนอินเทอร์เน็ต ทำให้องค์กรสามารถศึกษาพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และสามารถปรับปรุงสินค้าหรือบริการเพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้มากขึ้น

3. ช่วยในการตัดสินใจและวางแผนทางการตลาด

องค์กรสามารถนำข้อมูลจาก Digital Footprint มาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ (Data Analytics) และนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4. เรียนรู้จากพฤติกรรมในอดีต

ในระดับบุคคลข้อดีของ Digital Footprint คือ สามารถย้อนดูถึงทัศนคติ และความคิดของเราในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุงความคิด และพัฒนาทัศนคติจากอดีตให้ดียิ่งขึ้นได้ หากมีการสร้างและจัดการ Digital Footprint อย่างชาญฉลาด จะช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางดิจิทัลที่มีความโดดเด่นและสะท้อนถึงตัวตนที่แท้จริงของเรา และอาจนำไปสู่โอกาสทางอาชีพที่มีคุณค่าในอนาคตได้อีกด้วย

 

 

ข้อเสียของ Digital Footprint

1. ขาดความเป็นส่วนตัว

ข้อเสียหลัก ๆ ของ Digital Footprint คือ เนื่องจากบุคคลอื่นก็สามารถสืบค้นข้อมูลของเราจาก Digital Footprint ได้ จึงทำให้ขาดความเป็นส่วนตัว และอาจเกิดการติดตามจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่ต้องการนำข้อมูลไปทำการหลอกลวงและสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูล

 

อ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับ Cyber Security ได้ที่: 5 ประเภท Cyber Security ที่องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญ

 

2. เกิดการโจมตีบนโลกออนไลน์

ไม่ว่าจะระดับบุคคลหรือระดับองค์กร ก็สามารถเกิดการโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี ที่ขุดคุ้ย Digital Footprint เก่า ๆ มาโจมตีให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และเกิดการถกเถียงกันบนโลกออนไลน์

 

 

จะเริ่มต้นจัดการ Digital Footprint ได้อย่างไร

หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า Digital Footprint มีอะไรบ้าง และ Digital Footprint มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาศึกษาถึงแนวทางที่ช่วยจัดการ Digital Footprint ได้อย่างมีประสิทธิภาพกัน

 

digital footprint ข้อดี ข้อเสีย

 

การจัดการ Digital Footprint ให้มีประสิทธิภาพ เริ่มต้นด้วยการ

  • ตรวจสอบและเฝ้าระวังร่องรอยดิจิทัลของคุณอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับปรุงและควบคุมเนื้อหาที่โพสต์ให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่ต้องการ
  • สร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
  • ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ
  • ติดตามและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ในอนาคต

 

 

สรุป Digital Footprint

โดยสรุปแล้ว Digital Footprint มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ตามมา ซึ่งมีทั้งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น นักท่องโลกออนไลน์จึงควรใช้วิจารณญาณ พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ลงบนโลกอินเทอร์เน็ต และหมั่นศึกษากฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อป้องกันการกระทำผิดทางไซเบอร์ เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นต้น

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand