ปรับวัฒนธรรมองค์กรด้วย Digitization ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ 2022

  • March 22, 2022

News Description

ปรับวัฒนธรรมองค์กรด้วย Digitization ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ 2022

 

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Digital Disruption กลายมาเป็นคลื่นลูกใหม่ที่โหมกระหน่ำให้แทบทุกแบรนด์หันมาทำความรู้จักและเรียนรู้ เรื่อง Digitization หรือการเปลี่ยนรูปแบบจากแอนะล็อกแบบเดิมให้เป็นดิจิทัลกันมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อผู้คนแทบทั้งโลก เพราะพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน ทำให้แทบไม่มีการใช้งานแอนะล็อกเกิดขึ้นมาพักใหญ่แล้ว ในทางตรงกันข้ามการใช้งานดิจิทัลในทุกวงการดูจะมีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวี

 

 

ดังนั้นในช่วงเวลานี้หากอยากให้แบรนด์เติบโตโดยที่ไม่ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา จึงเป็นคำถามสำคัญที่ผู้บริหารต้องตอบให้ได้ เพราะในตอนนี้แบรนด์ที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนและพาตัวเองเข้าสู่โลกดิจิทัลหรือออนไลน์ ค่อนข้างอยู่ยากกว่าเดิมแล้ว แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่วิธีการ ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เป็น Digitization เราขอแนะนำเทรนด์ธุรกิจการตลาดที่น่าสนใจในปี 2022 เพื่อเป็นแนวทางให้คุณเห็นว่า ควรปรับรูปแบบการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางไหน สอดคล้องกับเทรนด์ที่กำลังมาใหม่กับการเปลี่ยนแปลงแบรนด์ให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น

 

ปรับวัฒนธรรมองค์กร

 

เทรนด์ธุรกิจที่นักการตลาดควรทำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในปี 2022

 

  • เอาใจกลุ่มผู้บริโภคหลักอย่างมิลเลนเนียล

คนกลุ่มมิลเลนเนียลหรือที่รู้จักกันอีกชื่อ คือ กลุ่มคนเจนวาย เกิดในช่วงปี 1980 – 2000 เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและกำลังมีจำนวนแรงงานเข้ามาในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นเทรนด์ต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับคนกลุ่มมิลเลนเนียลยังเปลี่ยนแปลงเร็วและมีความหลากหลายสูง ฉะนั้นการสร้างความเข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภคจึงเป็นหัวข้อสำคัญ ซึ่งแตกแขนงออกได้เป็น 5 แนวทางดังนี้

 

1.1 Desire for Customization การผลิตสินค้าแบบเฉพาะให้ผู้บริโภค ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า

 

1.2 Expanded Delivery การบริการส่งพัสดุแบบ Delivery หรือ Takeaway กลายมาเป็นกระแสหลักทางธุรกิจแบบฉับพลันทันด่วน ช่วยให้การรับส่งพัสดุทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

1.3 High-Quality Frozen Food and Microwavable Food ผลสืบเนื่องมาจากเทรนด์ Delivery ทำให้การส่งอาหารทางไกลถูกพัฒนาไปอีกขั้น วัตถุดิบที่ถูกจัดส่งจึงต้องไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการระหว่างขนส่ง

 

1.4 Organic and Natural, Locally Grown อาหารออแกนิกจากธรรมชาติ สินค้าท้องถิ่น OTOP หรือการพัฒนาการศึกษาในระดับท้องถิ่น ไม่ยึดติดอยู่กับแบรนด์ใหญ่ คือเทรนด์ที่กลุ่มคนมิลเลนเนียลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

 

1.5 Edible Insect “แมลง” สิ่งมีชีวิตที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุที่จำเป็น คืออาหารทางเลือกที่กำลังเข้ามาตีตลาดวงการอาหาร ทดแทนการเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรปริมาณมากในการเลี้ยงดู

 

ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสู่ความเข้าใจผู้บริโภคแบบ Data-Driven Marketing

 

  • ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสู่ความเข้าใจผู้บริโภคแบบ Data-Driven Marketing

สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในโลกธุรกิจและการตลาดคือจุดเล็ก ๆ สำคัญที่เรียกว่า “ข้อมูล” ผู้ประกอบการที่มีข้อมูลลูกค้าเยอะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและฟันกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคอยากให้ผู้ประกอบการเข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อซื้อใจผู้บริโภคได้ คือการสร้างความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจใน Pain Point ของผู้บริโภค

 

นักการตลาดรุ่นใหม่จำเป็นต้องเพิ่มความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจลงไปในปัญหาของผู้บริโภค การสื่อสารในประเด็นทางสังคมที่ต้องให้ความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ การสื่อสารการตลาดที่ไม่กล่าวเกินจริงหรือหลอกลวง และการสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงเจตนาที่องค์กรตั้งใจจะทำ

 

  • ความร่วมมือทางธุรกิจที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่

การทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็น Collaboration หรือ Crossover ต่างก็เป็นแนวทางการดำเนินงานที่เกิดขึ้นมานานแล้วและจะยังเป็นที่นิยมต่อไปเรื่อย ๆ ในปีหน้า แต่สิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้ามาคือการทำงานร่วมกันจะเจาะลึกและลงลึกมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่การผลิตสินค้าร่วมกันหรือ Co-Branding เหมือนอย่างเคย แต่จะเป็นการร่วมทุน (Joint Venture) การแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน และการเปลี่ยน Marketing Mix ระหว่างกัน ซึ่งจะดึงเอาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายออกมาสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้แบรนด์เติบโตล้ำหน้าไปอีกขั้น

 

  • ความเที่ยงธรรมนำความรู้สึก เมื่อความซื่อสัตย์ต้องมาก่อนกำไร

“ข่าวลือไปไวกว่าจรวด” วลีนี้ดูจะไม่เกินจริงไปมาก เนื่องจากการทำธุรกิจในยุคดิจิทัลทำให้แบรนด์โกหกผู้บริโภคไม่ได้ เพราะหลักฐานจะยังคงค้างอยู่ในโลกดิจิทัลไปตลอด และตรวจสอบย้อนหลังได้ง่าย ฉะนั้นแบรนด์จึงต้องแสดงความจริงใจต่อผู้บริโภคจนถึงที่สุด แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2022 การเป็นแบรนด์ที่มีความจริงใจอย่างเดียวคงไม่พอ ยังต้องมาพร้อมกับการสื่อสารที่มีเหตุผลชัดเจนอีกด้วย (Make Sense Communication) ซึ่งต้องสื่อสารลงลึกเข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรทั้งในด้านธุรกิจและ CSV (Creating Shared Value) เพราะหากกิจกรรมที่องค์กรทำอยู่ไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอ หรือขัดแย้งกันเอง ก็อาจทำให้ผู้บริโภคโบกมือลาจากแบรนด์ของคุณไปได้

 

  • อย่าหลงลืมตัวตน! แสดงจุดยืนของแบรนด์ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สายตาผู้บริโภค

ช่วงปี 2019 – 2021 คือปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง แบรนด์ที่ยังคงอยู่จะถูกผู้บริโภคบีบให้แสดงจุดยืนของตัวเองมากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง แต่ยังพูดถึงเรื่องทางสังคม โลก เพศสภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบรนด์สามารถสร้างจุดยืน และเพิ่มคุณค่าโดยการเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นเหล่านี้ได้ในหลากหลายทิศทางมากขึ้น สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์เองและยังได้ลูกค้าเพิ่มจากมุมมองเหล่านั้นอีกด้วย

 

  • Metaverse & Virtual World เมื่อสร้างโลกไว้สองใบ โลกเสมือนจึงอาจน่าอยู่กว่า

“จักรวาลนฤมิตร” หรือ Metaverse คือโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาบนโลกดิจิทัล ทั้งคู่ขนานและซ้อนทับไปกับโลกแห่งความจริงโดยใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อให้เราเข้าถึงโลกเสมือนได้ง่าย อาทิ แว่นตา VR, AR หรือ MR ที่สร้างโลกเสมือนเชื่อมคุณเข้ากับอินเทอร์เน็ต และยังช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจแบบใหม่อย่าง NFT, Cryptocurrency บนระบบบล็อกเชนที่จะเข้ามาดิสรับระบบเศรษฐกิจแบบเดิม ทำให้โลกเสมือนกลายเป็นที่ที่น่าสนใจและจับต้องได้มากขึ้น

 

คงพอเข้าใจกันแล้วว่าเทรนด์ธุรกิจในปี 2022 ที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร การปรับตัวให้อยู่รอดถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ ฉะนั้นการเตรียมพร้อมรับมือจึงสำคัญ รวมถึงปรับวัฒนธรรมองค์กรด้วยการทำ Digitization โดยเฉพาะการบริหารคนและเครื่องมือให้สามารถทำงานได้ผ่านระบบดิจิทัล

 

ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เป็น Digitization ด้วย Digital Skills

ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เป็น Digitization ด้วย Digital Skills

ในบทความก่อน Ditto ได้อธิบายความหมายและความแตกต่างของกลุ่มคำ 3 คำ Digitization, Digitalization และ Digital Transformation ไว้แล้ว (อ่านบทความได้ที่นี่)

 

ทำให้เห็นข้อสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะเหมาะกับการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจไปสู่ดิจิทัลได้ครบ 100% เพราะรูปแบบการทำธุรกิจที่มีความแตกต่างกันนั่นเอง

 

แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในตอนนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งของผู้บริโภคหรือผู้ผลิตเองก็ตาม เพื่อพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งการดำเนินงานยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีเท่านั้น ฉะนั้นแบรนด์จึงควรเพิ่ม Digital Tools มาเป็นตัวช่วยที่เหมาะสมกับการทำงานขององค์กร ตัวอย่าง Tools ที่สามารถนำมาใช้กับองค์กรได้ ได้แก่ ระบบ Cloud, IoT, e-Document, OCR หรือ DMS ซึ่งล้วนเป็นส่วนช่วยทุ่นแรงบุคลากร เพื่อแบ่งเบาภาระงานที่หนักหน่วงในแต่ละวันอีกด้วย ซึ่งข้อดีของการใช้ Digital Tools ดังกล่าวภายในองค์กรมีดังนี้

 

 

  1. ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา
  2. สร้างฐานเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลที่คงทน ง่ายต่อการใช้งาน
  3. สามารถเข้าถึงประวัติข้อมูลเก่าและค้นหาข้อมูลได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
  4. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระหว่างแผนก
  5. เพิ่มความละเอียด ความแม่นยำของการนำข้อมูลมาใช้
  6. ลดขั้นตอนงานซ้ำซ้อน ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานได้มาก
  7. ประหยัดค่าใช้จ่ายหลายด้าน เช่น กระดาษ อุปกรณ์ และพื้นที่จัดเก็บเอกสาร
  8. ทำให้การตัดสินใจในการทำงานรวดเร็วและส่งผลในทางที่ดีขึ้น

 

 

นอกจากนี้การเพิ่มทักษะการใช้งาน Digital Tools หรือที่เรียกว่า Digital Skills ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการทำงานในสมัยนี้และเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงไปได้ตลอด ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกลุ่มอาชีพที่ทำงานโดยตรงทางด้านไอทีอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรที่จะหยุดพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลไปเลย ซึ่งในอนาคต Digital Skills จะกลายเป็นทักษะที่มีความใกล้ชิดกับเรามากที่สุด เป็นเหมือนอีกอวัยวะที่มีติดตัวตลอดเวลา หากลองมองลงลึกเข้าไปจะเห็นว่า ทักษะนี้ก็เป็นอีกส่วนที่ฝังตัวอยู่ใน Hard Skills เช่นกัน เป็นทักษะเฉพาะด้านวิชาชีพ เช่น การใช้งาน Excel ในการคำนวณลอตสินค้า, การปรับเปลี่ยน Google Analytics ให้เป็นตามเป้า หรือแม้แต่งานแม่บ้านก็ยังต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันเรียกแม่บ้านสำหรับการทำความสะอาด ซึ่งถ้าบุคคลเหล่านี้ใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่เป็น ก็อาจเสียรายได้จากช่องทางออนไลน์ไปอย่างน่าเสียดาย

 

มาถึงตอนนี้จะเข้าใจได้ว่าเทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมากหากนับปีต่อปี จนคนทั่วไปต้องพัฒนาทักษะของตัวเองให้ก้าวทันตามเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้ถูกทดแทนโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากตลาดแรงงานจะต้องการคนที่มีทักษะ Soft Skills และ Hard Skills แล้ว Digital Skills ยังคงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่แทบไม่ควรละสายตาออกไปเลย เพราะเมื่อนำมาประกอบกันทั้งสามทักษะจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานยิ่งขึ้นไปอีก

 

และนี่คือสาเหตุว่าทำไมองค์กรต่าง ๆ ถึงควรปรับวัฒนธรรมการทำงานให้เป็น Digitization กันมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางตลาดที่อาจเกิดขึ้นในปี 2022

 

อ้างอิง

Thestandard

Techsauce