Blue Carbon คืออะไร ปลูกป่า พัฒนาเศรษฐกิจและลดโลกร้อนได้จริงไหม

  • December 11, 2024

News Description

Blue Carbon

 

ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิธีการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจึงเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญ โครงการ Blue Carbon หรือคาร์บอนสีน้ำเงินได้กลายเป็นความหวังใหม่ในการต่อสู้กับวิกฤตโลกร้อน ด้วยประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนที่สูงกว่าป่าบกถึง 4 เท่า ซึ่งประเทศไทยของเราเองก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ โดยตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาโครงการ Blue Carbon

 

Blue Carbon คืออะไร ปลูกป่า พัฒนาเศรษฐกิจและลดโลกร้อนได้จริงไหม

Blue Carbon คืออะไร

Blue Carbon หรือคาร์บอนสีน้ำเงิน คือระบบการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งโดยอาศัยกลไกธรรมชาติของพืชในระบบนิเวศเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง แหล่งหญ้าทะเลและพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเก็บกักไว้ในรูปแบบของชีวมวลและตะกอนใต้พื้นดิน เพื่อลดการจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

ซึ่ง Blue Carbon (บลูคาร์บอน) ถือเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า Green Carbon โดยคาร์บอนไดออกไซด์บนชั้นอากาศจะถูกกักเก็บไว้ที่ต้นไม้ ป่าไม้ ทั้งนี้ กรีนคาร์บอนอาจจะมีการหมุนเวียนคาร์บอนที่เร็วกว่าและอาจปลดปล่อยกลับสู่บรรยากาศได้ง่ายกว่า Blue Carbon เมื่อเกิดการทำลายป่าหรือไฟป่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการกักเก็บคาร์บอนแล้ว Blue Carbon (บลูคาร์บอน) มีความสามารถในการเก็บกักคาร์บอน เนื่องจากอยู่ในระบบนิเวศที่มีน้ำท่วมขัง ทำให้กระบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นช้า ส่งผลให้สามารถเก็บกักคาร์บอนไว้ในตะกอนใต้ท้องทะเลได้ยาวนานเป็นพันปี

 

Blue Carbon มีความสำคัญอย่างไร

ระบบนิเวศ Blue Carbon มีความโดดเด่นในการกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าป่าบกถึง 4 เท่า ด้วยความสามารถในการดึงคาร์บอนลงไปเก็บไว้ใต้ดินได้ถึง 50 – 99% นอกจากนี้ ระบบนิเวศชายฝั่งยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและที่อยู่อาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงช่วยกรองน้ำเสีย ลดแรงปะทะของคลื่น และเพิ่มพื้นที่ชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าชายเลนลดลงถึง 30 – 50% ส่งผลให้การปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นถึง 10% ของการปล่อยคาร์บอนจากการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าชายเลนก็จะทำให้ก๊าซเรือนกระจกลดลง ช่วยกู้วิกฤตโลกร้อนได้

 

ระบบนิเวศของ Blue Carbon มีอะไรบ้าง

 

ป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศ Blue Carbon ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกักเก็บคาร์บอน ด้วยระบบรากที่แข็งแรงและซับซ้อน ทำให้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ทั้งในส่วนของต้นไม้และในดินใต้ผิวดิน โดยเฉพาะในชั้นดินที่มีความลึก ซึ่งสามารถเก็บกักคาร์บอนได้เป็นระยะเวลายาวนานนับพันปี

 

ป่าชายเลน

 

ที่ราบน้ำขึ้นถึง

ที่ราบน้ำขึ้นถึงเป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง มีความสำคัญในการกักเก็บคาร์บอนผ่านการสะสมตะกอนและการเติบโตของพืชน้ำเค็ม พื้นที่เหล่านี้ยังช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

 

แหล่งหญ้าทะเล

แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญในการกักเก็บคาร์บอนใต้ทะเล โดยหญ้าทะเลสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากน้ำทะเลและเก็บกักไว้ในเนื้อเยื่อพืชและตะกอนใต้ท้องทะเล นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลหายาก

 

โครงการ Blue Carbon แหล่งกักเก็บคาร์บอนในประเทศไทย

ประเทศไทยได้ดำเนินโครงการ Blue Carbon อย่างจริงจังผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ทั้งสำหรับบุคคลภายนอกและชุมชน พ.ศ. 2565 โดยมีโครงการสำคัญ ได้แก่ แผนปลูกป่าชายเลนระยะ 10 ปี (2565-2574) ครอบคลุมพื้นที่ 300,000 ไร่ ใน 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล

สำหรับดิทโต้ ได้เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศผ่านการปลูกป่าชายเลน โดยใช้ระบบการติดตาม (Monitoring) และการตรวจสอบ (Verification) ป่าชายเลน

 

โครงการ Blue Carbon

 

สรุป

Blue Carbon เป็นกลไกสำคัญในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ด้วยประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนที่สูง และประโยชน์หลากหลายด้านต่อระบบนิเวศและชุมชน การพัฒนาโครงการ Blue Carbon ในประเทศไทยจึงเป็นก้าวสำคัญสู่การบรรลุเป้าหมาย Net Zero สู่ Sustainable Development Goals ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในระยะยาว

ซึ่ง Ditto ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงได้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อคาร์บอนเครดิต ควบคู่กับการสนับสนุนในด้านงบประมาณและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและดูแลรักษาป่าเพื่อให้ป่ามีความสมบูรณ์และยังให้การสนับสนุนชุมชนในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เป็นการสนับสนุนนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหล่านี้จะทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green & Climate Technology), คาร์บอนเครดิต และการขยายการลงทุนกับกลุ่มพลังงานสะอาด – พลังงานทดแทนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ Zero-Carbon ได้ในที่สุดนั่นเอง

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Ditto (Thailand)

📞02-517-5555

📱063-204-0321

https://dittothailand.com/contact-us/

Line ID: @dittothailand

Line edoc