ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบโจทย์แนวคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่าง “Green Marketing” มาใช้ในธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอีกด้วย
บทความนี้จะพาคุณมาเจาะลึกกันว่า Green Marketing คืออะไร? มีกลยุทธ์อย่างไรที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณ? พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจที่ทำ Green Marketing มาให้ศึกษาไปพร้อมกัน
ทำความรู้จัก Green Marketing คืออะไร
Green Marketing หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “การตลาดสีเขียว” เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาว โดยมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการจะลงทุนเพื่อวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การนำกลยุทธ์ Green Marketing มาใช้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้แบรนด์มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ 4P เพื่อการตลาดสีเขียว
หนึ่งในกลยุทธ์ด้านธุรกิจที่หลายคนรู้จักอย่าง “4P Marketing Mix” หรือ “กลยุทธ์การตลาด 4P” เป็นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการที่ใช้วางแผนการตลาด เพื่อผลักดันสินค้าหรือบริการถูกใจผู้บริโภค ซึ่งแนวคิด Green Marketing ก็ได้นำกลยุทธ์ 4P มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของแนวคิด โดยกลยุทธ์ 4P เพื่อการตลาดสีเขียว มีดังนี้
Green Product
ปัจจัยแรกที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจคือตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงสินค้าและบริการที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์และพัฒนาสินค้าโดยยึดหลัก Green Marketing เช่น การใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืน เป็นต้น
Green Price
ตามปกติแล้วการกำหนดราคาจะคำนึงถึงมูลค่าของแบรนด์ วิธีการชำระเงิน ส่วนลด ตลอดจนต้นทุนด้านการผลิต แม้ว่าการนำกลยุทธ์ Green Marketing มาผลิตสินค้าจะส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น ลูกค้าเองก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมกับต้นทุนของแบนด์ที่ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่ก็เป็นการลงทุนในะระยะยาวที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ในฐานะองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม
Green Place
แนวคิดการตลาดสีเขียวเกี่ยวข้องกับการเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้าง Carbon Footprint ต่ำ ซึ่งอาจรวมถึงวิธีการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ การลดระยะห่างระหว่างโรงงานผลิตกับลูกค้า หรือใช้กลยุทธ์การจัดส่งแบบขายส่งเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขนส่ง
Green Promotion
การโปรโมตของสินค้าควรมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มยอดขายและการรับรู้ถึงแบรนด์ โดยสื่อสารถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในกลยุทธ์ Green Marketing ทำให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับผู้บริโภคอย่างไรบ้าง
ประโยชน์ของการทำ Green Marketing
1. ส่งเสริมภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบรนด์
เมื่อองค์กรเผยให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในแนวคิด Green Marketing และร่วมผลักดันให้เกิดการตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม จะสร้างภาพลักษณ์ในฐานะองค์กรใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้กับแบรนด์
2. ได้เปรียบคู่แข่งทางธุรกิจ
Green Marketing ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เข้าถึงตลาด สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าบริษัทอื่น ๆ ในธุรกิจเดียวกัน
3. รักษากลุ่มลูกค้าและสร้าง Brand Loyalty
เมื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ ด้วยการผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์การรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว การใช้กลยุทธ์ Green Marketing ยังช่วยรักษากลุ่มลูกค้าเดิมที่มีอยู่ให้คงซื้อสินค้าหรือบริการของคุณต่อไป สร้างความไว้ใจด้วยการคงคุณภาพสินค้า และสร้าง Brand Loyalty ในที่สุด
4. ขยายฐานลูกค้า
การเข้าสู่ Green Marketing ช่วยดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมให้มาเป็นลูกค้าของคุณ จากเดิมที่มีสินค้าหรือบริการแค่รูปแบบเดียว ก็จะมีสินค้าใหม่ ๆ ที่ถูกใจกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่เช่นกัน
5. ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
เมื่อธุรกิจสามารถทำ Green Marketing ได้คล่องตัวแล้ว องค์กรสามารถเติบเติบพร้อมยังให้ความใส่ใจกับสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อไป และก่อให้การสินค้าใหม่ ๆ มากขึ้น นำเทคโนโลยีอนุรักษ์โลกมาปรับใช้มากขึ้น สร้างโลกให้น่าอยู่พร้อมเติบโตไปพร้อมกัน
ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำกลยุทธ์ Green Marketing
จากการริเริ่มโดยแบรนด์ใหญ่ระดับโลกที่จัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ ทำให้หลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก ต่างให้ความสนใจกับ Green Marketing และนำมาปรับใช้อย่างเป็นวงกว้าง เราจึงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Green Marketing มาให้ศึกษากัน
IKEA
บริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่สัญชาติชาติสวีเดนที่ใคร ๆ ก็ต้องรู้จัก เปิดตัวด้วยแคมเปญมากมายเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนให้ผู้บริโภคขายต่อเฟอร์นิเจอร์มือสองคุณภาพสูงเพื่อลดขยะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรีไซเคิลของบริษัท
The Body Shop
The Body Shop แบรนด์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ความสวยงาม เป็นแบรนด์ที่อุทิศตนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้สัญลักษณ์ “Leaping Bunny” ที่รับรองว่าผลิตภัณฑ์ไม่มีการทดลองกับสัตว์ นอกจากนี้บริษัทยังผลิตสินค้าจาก Tea tree oil ร่วมกับสหกรณ์ที่ประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อยจำนวน 380 ราย ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรน้ำมันอินทรีย์เคนยา (KOOFA) เพื่อเป็นการสับสนุนอีกด้วย
Refill Station ปั๊มน้ำยา
Refill Station ปั๊มน้ำยา ธุรกิจของคนไทยที่เป็นบริการจัดเตรียมสินค้าอย่าง สบู่ แชมพู น้ำยาทำความสะอาด โดยให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่มาบรรจุสินค้าที่ต้องการ ซึ่งตอบโจทย์แนวคิด Green Marketing ในไทยที่เป็นการช่วยลดขยะและช่วยอนุรักษ์โลก
สรุป Green Marketing
โดยสรุป Green Marketing มุ่งพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ยังคงคุณภาพและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้ากับแนวคิดของคนยุคใหม่ที่ใส่ใจโลก นับว่าเป็นแนวคิดรักโลกและปลูกฝังวิถีชีวิตที่ยั่งยืนให้แก่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
และนอกจากการใช้แนวคิด Green Marketing มาผลิตสินค้าหรือบริการแล้ว การมีส่วนร่วมอย่างการใช้ Green Technology ด้วยระบบการจัดการข้อมูลภายในองค์กรอันทรงคุณค่า และโดดเด่นในด้านลดการใช้หมึกและกระดาษจำนวนมากอย่างระบบ DMS ก็ถือเป็นการอนุรักษ์โลกอีกหนึ่งวิธี ที่เจ้าของธุรกิจสามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาองค์กรได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม
📞 02-517-555
📱063 204 0321
Line ID: @dittothailand