ESG คืออะไร เทรนด์ใหม่ที่ผู้บริหารองค์กรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

  • August 23, 2024

News Description

esg คือ

 

ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมากมาย ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจกับการอนุรักษ์โลกมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวและมองหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน โดยไม่ให้ความสำคัญกับความสำเร็จทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมุ่งเน้นไปที่การใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ซึ่งหนึ่งในแนวคิดที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ “ESG” ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ

บทความนี้เราจะพามารู้จักกันว่า ESG คืออะไร? มีประโยชน์และความสำคัญของแต่ละปัจจัยอย่างไรในการทำธุรกิจ? มาศึกษาไปพร้อม ๆ กันเลย

 

 

ESG คืออะไร

ESG มาจาก Environment, Social และ Governance หรือแปลเป็นไทยว่า สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล โดย ESG คือ แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ที่คำนึงถึงปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้ควบคู่ไปกับผลประกอบการทางการเงิน ซึ่งในปัจจุบัน ESG คือ เทรนด์ที่ได้รับความนิยมจากองค์กรทั่วโลก เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ช่วยแก้ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม และสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพขององค์กรในการเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

 

ESG มีอะไรบ้าง

อย่างที่เราทราบกันว่า ESG คือ แนวคิดที่รวบรวมปัจจัยทั้ง 3 ด้านไว้ด้วยกัน โดยแต่ละด้านมีความสำคัญ ดังนี้

ESG มีอะไรบ้าง

 

E – Environment (สิ่งแวดล้อม)

E ใน ESG คือ Environment หรือ สิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจ การทำโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างเป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น องค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจึงมุ่งลดผลกระทบเชิงลบต่อโลก เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, ใช้พลังงานทดแทน, ลดการใช้กระดาษตามแนวคิด Paperless, และการนำกลยุทธ์ Green Marketing มาปรับใช้ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์อีกด้วย

 

S – Social (สังคม)

S ใน ESG คือ Social หรือ สังคม ซึ่งเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับสังคม และผู้ทำงานในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตลอดจนสังคมวงกว้าง เช่น การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม, การผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค, การช่วยเหลือชุมชน เป็นต้น

 

G – Governance (บรรษัทภิบาล)

G ใน ESG คือ Governance หรือ บรรษัทภิบาล หมายถึงการบริหารจัดการองค์กรอย่างโปร่งใส เป็นธรรม มีความรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบการดำเนินธุรกิจได้ เช่น มีคณะกรรมการอิสระ, เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและตรงไปตรงมา, ต่อต้านคอร์รัปชัน, เคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและสังคมวงกว้าง

แล้ว Data Governance คืออะไร? อ่านเพิ่มเติมได้ที่: Data Governance

 

 

ประโยชน์ของแนวคิด ESG

ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความใส่ใจกับองค์กร ESG มากขึ้น ด้วยการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ส่งผลให้องค์กรที่นำแนวคิด ESG มาประยุกต์ใช้ เกิดประโยชน์ดังนี้

  • เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: นักลงทุนมองหาบริษัทที่ยึดหลัก ESG เพราะมีความเสี่ยงต่ำและมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
  • การปรับตัวตามกฎระเบียบ: กฎหมายและกฎระเบียบด้าน ESG ทั่วโลกเข้มงวดขึ้น องค์กรที่ไม่ปรับตัวอาจเสียค่าปรับหรือถูกฟ้องร้องได้
  • เติบโตอย่างยั่งยืน: การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสังคม ซึ่งส่งผลดีต่อผลกำไรในระยะยาว

ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับ ESG และนำมาปรับใช้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

 

 

ข้อสงสัยเกี่ยวกับ ESG

หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า ESG คืออะไร แต่ละปัจจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างไร เรามาตอบคำถามเกี่ยวกับข้อสงสัยแนวคิด ESG กันดีกว่า

ESG Integration คือ

 

ESG Standard คืออะไร?

ESG Standard คือ การให้ความสำคัญกับองค์กรที่ใช้แนวคิด ESG ในการดำเนินธุรกิจ โดยกำหนดเป็นมารตรฐานในการพิจารณาลงทุน ว่าจะร่วมลงทุนกับองค์กรนี้หรือไม่ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

ESG Integration คืออะไร?

ESG Integration คือ การบูรณาการแนวคิด ESG ซึ่งเป็นการใช้คะแนน ESG ของแต่ละองค์กรมาใช้ในการตัดสินใจลงทุน แทนที่การคัดกรองแบบเดิมด้วยการเลือกเพียงแค่ว่าใช่หรือไม่ใช่ การลงทุนในองค์กรที่มีคะแนน ESG สูง จะมีความเสี่ยงต่ำและมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจได้ในระยะยาว

 

ESG เกี่ยวข้องกับ CSR หรือไม่?

ESG และ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ กิจกรรมเพื่อสังคม มีความคล้ายคลึงกันตรงที่เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ ESG มีขอบเขตที่กว้างกว่าการทำ CSR และเน้นการบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์หลักขององค์กร ในขณะที่ CSR มักเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่แยกออกจากการดำเนินธุรกิจ

 

องค์กรขนาดเล็กควรทำ ESG ด้วยหรือไม่?

ESG ไม่ได้จำกัดอยู่แค่บริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น องค์กรขนาดเล็กก็สามารถนำหลัก ESG มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน โดยเริ่มจากการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติง่าย ๆ ที่สอดคล้องกับทรัพยากรและความสามารถขององค์กร แล้วค่อย ๆ ต่อยอดขยายผลไปเรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างคุณค่าให้กิจการแล้ว ยังเป็นการวางรากฐานที่ดีสำหรับการเติบโตในอนาคตอีกด้วย

 

 

สรุป ESG

โดยสรุปแล้ว แนวคิด ESG คือ การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล กำลังกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่สำคัญในโลกธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรจึงควรให้ความสำคัญและนำมาปรับใช้ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งนี้ ความสำเร็จของ ESG ไม่ได้อยู่ที่ขนาดขององค์กร แต่อยู่ที่ความมุ่งมั่นของผู้นำในการขับเคลื่อนและปลูกฝังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร เมื่อทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน เราจะสามารถสร้างโลกที่น่าอยู่และสังคมที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

Dito (ดิทโต้) ร่วมสนับสนุนแนวคิด ESG ด้วยการยื่น ESG Ratings เพื่อให้กองทุน Thai ESG เข้ามาลงทุน เนื่องจากเราเล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด จึงมุ่งมั่นและใส่ใจในการทำธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อการเติบโตพร้อมผลักดันแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะช่วยอนุรักษ์โลกอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม: “ดิทโต้” ยื่นตามเกณฑ์ SET ESG Ratings โชว์ศักยภาพธุรกิจความยั่งยืน

 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม

📞 02-517-555

📱063 204 0321

Line ID: @dittothailand