Data Driven กลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรด้วย Data เพื่อความก้าวหน้าทางธุรกิจ

  • May 23, 2024

News Description

data driven คือ

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในทุกวันนี้ เราได้เข้าสู่ยุค “การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” หรือที่รู้จักกันในชื่อ Data Driven” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Nexflix, Amazon, Starbucks หรือแบรนด์อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งประโยชน์ที่สำคัญของ Data Driven คือ ช่วยวางแผนทางการตลาด สร้างผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการ และขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้ข้อมูลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานทางธุรกิจมากขึ้น

บทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Data Driven และการดำเนินงานที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณขับเคลื่อนได้อย่างมีคุณภาพ ก้าวสู่การเป็นผู้ทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง

 

 

กลยุทธ์ Data Driven คืออะไร

Data Driven คือ กระบวนการที่รวบรวมข้อมูลจากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือข้อมูลที่ได้จากผู้บริโภคโดยตรงมาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาข้อมูลเชิงลึก (Insights) ทั้งในด้านพฤติกรรมลูกค้า การบริหารองค์กร และการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดด้วย Data-Driven

นอกจากนี้ Data Driven ยังรู้จักกันชื่อ Data Driven Marketing, Data Driven Organization, Data Driven Business, Data Driven Decision Making, Data Driven Strategy และชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย โดยเรียกตามการใช้งานที่แตกต่างกันนั่นเอง

 

 

5 กลยุทธ์ Data Driven เพื่อพัฒนาธุรกิจ

 

data driven organization คือ

 

1. ตั้งเป้าหมายในการทำธุรกิจ

สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเริ่มเข้าสู่กระบวนการ Data Driven Strategy คือ การตั้งเป้าหมายเมื่อและกำหนดวัตถุประสงค์ โดยกำหนดประเภทของข้อมูลที่ต้องการรวบรวม หรือรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้โฟกัสกับสิ่งที่ต้องการและทำงานตามขั้นตอนอื่น ๆ ได้อย่างเป็นระบบ

 

2. รวบรวมข้อมูลให้พร้อมใช้งาน

ขั้นตอนต่อไปในการก้าวสู่ Data Driven คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) จากแหล่งต่าง ๆ มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการดึงข้อมูลไปใช้ ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงในการเก็บข้อมูลนั่นคือ ความยินยอมของจากเจ้าของข้อมูล ไม่ละเมิดสิทธิและเผยแพร่ข้อมูลหากไม่ได้รับอนุญาต และอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act)

 

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อรวบรวมข้อมูลที่ต้องการได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปของ Data Driven คือ การนำ Data มาวิเคราะห์ (Data Analytics) เพื่อดูว่าธุรกิจมีจุดไหนที่ทำได้ดี มีจุดไหนที่ต้องปรับปรุง และเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ตลอดจนสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างตรงจุด โดยรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นมีดังนี้

  • Descriptive Analytics เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน เพื่อแสดงผลที่กำลังจะเกิดขึ้นจากข้อมูลขององค์กรในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
  • Diagnostic Analytics หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวินิจฉัย เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบหรือคำอธิบายปัจจัยและตัวแปรที่เป็นสาเหตุในการเกิดสิ่งนั้น ๆ
  • Predictive & Prescriptive Analytics เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตและปัจจุบันในเชิงคาดการณ์ เพื่อหาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
  • Prescriptive Analytics การวิเคราะห์ข้อมูลแบบให้คำแนะนำ ช่วยแนะนำแนวทางการดำเนินงานในขั้นตอนที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจภายในององค์กรได้เป็นอย่างดี

 

4. การพัฒนาบุคลากร

การพัฒนาบุคลากรภายในทีม (People Empowerment) ให้สามารถใช้ทักษะที่มีอยู่ในการทำงานพร้อมปลูกฝังแนวคิดที่ก้าวทันโลกอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ด้านเครื่องมือ (Tools) หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ หากมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในด้านนี้ก็จะช่วยให้การทำงานราบรื่นมากขึ้น และสามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ รวมไปถึงการวางโครงสร้างให้พร้อมใช้งาน การบริหารข้อมูลที่ช่วยให้บุคลากรสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การทำงานแบบ Data-Driven ได้อย่างสมบูรณ์

 

5. การนำ Insights มาประยุกต์ใช้

สำหรับขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญเป็นอย่างมากในการก้าวเข้าสู่ยุค Data Driven คือ การนำข้อมูลเชิงลึกหรือ Insights ที่ได้จากการวิเคราะห์มาตั้งสมมติฐาน วางกลยุทธ์ ออกแบบสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการขอผู้บริโภค

 

 

ข้อดีของ Data Driven ต่อองค์กรในปัจจุบัน

 

1. เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น

ข้อดีแรกในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยหลัก Data Driven คือ เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น เพราะมีการนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกที่สามารถตอบคำถามหรือสมมติฐานต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ ทำให้เกิดการวางแผนการตลาดที่ชาญฉลาดและสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกดำเนินการโดยใช้กลยุทธ์ใด

 

2. รู้จักลูกค้ามากขึ้น เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า

ข้อดีถัดไปของ Data Driven คือ ทำให้องค์กรรู้จักลูกค้ามากขึ้น เนื่องจากข้อมูลเชิงลึกที่ได้สามารถนำมาต่อยอดเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและหาความต้องการของลูกค้า จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาผลิตหรือปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับลูกค้าได้อย่างยั่งยืน

 

3. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่

เนื่องจากองค์กรสามารถเข้าใจพฤติกรรมและรับรู้ความต้องการของลูกค้า จนสามารถผลิตสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ สู่ตลาด ส่งผลให้เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น สร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าเพื่อพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4. สามารถวัดผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ข้อสุดท้ายของ Data Driven คือ สามารถวัดผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากองค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี ทำให้การทำงานภายในองค์กรมีความราบรื่น สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่มาดำเนินงานทางการตลาด และวัดผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย

 

 

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Data Driven ขับเคลื่อนองค์กร

 

Netflix

Data Driven Strategy

 

เคยสงสัยไหมว่าทำไม Netflix ถึงแนะนำภาพยนตร์ได้ถูกใจคุณ นั่นเป็นเพราะ Netflix สามารถเข้าถึงพฤติกรรมลูกค้า โดยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากการค้นหา แนวภาพยนตร์ที่ชอบดู รวมถึงข้อมูลสมาชิก ทำให้ Netflix สามารถคัดเลือกภาพยนตร์ที่เป็นแนวเดียวกันขึ้นมาแนะนำ User ได้นั่นเอง

 

Shopee

Data Driven Business

 

Shopee เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชัน Shopping Online ที่โดดเด่นอย่างมากในด้านของการใช้ความต้องการของลูกค้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ เมื่อคุณค้นหาสินค้าที่ต้องการจะมีรายการสินค้าจากร้านค้าต่าง ๆ มากมาย พร้อมแนะนำสินค้าที่คุณอาจจะสนใจเพิ่มเติม อีกทั้งยังศึกษาพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันของ User ว่ามีการใช้งานในช่วงเวลาใดบ้าง เพื่อแจกโค้ดส่วนลดและจัดแคมเปญต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้น

 

 

สรุป Data-Driven Marketing

โดยสรุปแล้วประโยชน์ของ Data Driven Organization คือ การทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า หากองค์กรสามารถวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ต่อยอดสู่การเป็น Smart Office ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย

 

ในการตั้งเป้าหมายเพื่อก้าวสู่ Data-Driven Organization องค์กรควรทำ Digital Transformation ที่ช่วยปรับปรุงการทำงานและกระบวนการภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบจัดการข้อมูลภายในองค์กร ที่โดดเด่นในด้านลดการใช้กระดาษจำนวนมากอย่างระบบ DMS (Document Management System) เข้ามาพัฒนาการทำงานให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลควบคู่ไปกับการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

 

ทำความรู้จักเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สร้างความพลิกผันให้องค์กรของคุณได้ที่: Disruptive Technology

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม

📞 02-517-555

📱063 204 0321

Line ID: @dittothailand