รัฐบาลดิจิทัลคืออะไร สำคัญกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไรบ้าง?

  • October 28, 2022

News Description

รัฐบาลดิจิทัล

 

ร่างพ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็น พ.ร.บ. เรื่องเทคโนโลยี ที่ทางภาครัฐเพิ่งลงมติเห็นชอบ ให้หน่วยงานราชการสามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการให้ทันสมัย และเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการติดต่อทางออนไลน์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้เรียกว่า “รัฐบาลดิจิทัล” หรือ “Digital government” ที่ทั่วโลกต่างกำลังปรับใช้กัน ว่าแต่ รัฐบาลดิจิทัล คืออะไร แล้วความสำคัญของรัฐบาลดิจิทัลเป็นอย่างไร วันนี้ Ditto เตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว

 

เสริมความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี กับ รัฐบาลดิจิทัล

รัฐบาลดิจิทัล หรือ Digital government คือ การที่หน่วยงานภาครัฐนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในหน่วยงาน เพิ่มศักยภาพการทำงานขององค์กรรัฐให้รวดเร็ว ก้าวทันตามเทคโนโลยีขององค์กรเอกชนได้อย่างเทียบเท่า รวมถึงยังมีระบบการเชื่อมโยงการเข้าถึงข้อมูล ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ลักษณะรัฐบาลดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบดังนี้

 

1. Reintegration

เป็นรูปแบบของการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในภาครัฐ เชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสร้างศูนย์ข้อมูล และยังง่ายต่อการควบคุมและการจัดการของหน่วยงานราชการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

2. Needs-based holism

เป็นรูปแบบการปรับปรุงองค์กรภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้บริการแก่สาธารณะ ซึ่งข้อดีของรูปแบบนี้คือเป็นการทำให้หน่วยงานภาครัฐเข้าใจความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะข้อมูลเหล่านี้อยู่ในศูนย์เก็บข้อมูลที่เดียวกัน

 

3. Digitalization

และอย่างสุดท้ายคือหัวใจในการเสริมสร้างศักยภาพในการทำระบบบริหารสารสนเทศมาใช้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ รวมถึงประชาชนเองก็ใช้งานระบบนี้ได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต แทนการทำงานแบบเดิม

 

ทั้งนี้แนวคิดรัฐบาลดิจิทัลมีที่มาจากการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นประธานในการประชุม โดยทางการมีมติเห็นชอบและเริ่มร่างแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสัมคมไทย เข้าสู่ Digital Thailand

 

วัตถุประสงค์สำคัญของรัฐบาลดิจิทัล

 

1. เสริมสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายในประเทศ

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเสริมสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีภายในประเทศให้ทันสมัย และสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้มาสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตและการบริการของประเทศ

 

innovarion

2. สร้างสังคมที่เท่าเทียม รับข้อมูลข่าวสารผ่านระบบดิจิทัล

เมื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศก้าวทันยุคสมัย จะช่วยสร้างโอกาสทางสังคมอย่างเท่าเทียม ด้วยการรับทราบข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่น ๆ ของรัฐ ผ่านการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพสังคมของประชาชน

 

3. เพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล

เมื่อรัฐบาลส่งเสริมสังคมแบบดิจิทัล หรือส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทำงานด้วยระบบดิจิทัล จะช่วยเพิ่มความพร้อมให้บุคลากรทุกกลุ่ม ทุกหน่วย มีความรู้ และมีทักษะที่เหมาะสำหรับการดำเนินชีวิตด้วยระบบดิจิทัล และยังเป็นการเพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัลอีกด้วย

 

4. เข้าถึงหน่วยงานรัฐได้ง่าย ผ่านการใช้ระบบดิจิทัล

และหากรัฐบาลได้พัฒนารูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลในทุกภาคส่วนจนกลายเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้ามาดูข้อมูล ตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐบาลได้อย่างโปร่งใสชัดเจน

 

ท้ายที่สุดแล้ว รัฐบาลดิจิทัลถือเป็นสิ่งสำคัญต่อประเทศไทย เพราะเทคโนโลยีโลกออนไลน์ไม่ได้หยุดนิ่ง หากหน่วยงานราชการในประเทศไทยไม่ปรับตัวเข้าสู่สังคมดิจิทัลได้ทันท่วงที อาจทำให้ประเทศเสียโอกาสในเชิงเศรษฐกิจ และมีคุณภาพทางสังคมที่ล้าสมัย ด้วยการทำงานของภาครัฐที่มีขอบเขต เต็มไปด้วยข้อกำหนด ยากที่จะเข้าถึง แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลดิจิทัลตอนนี้อยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีการลงมติเห็นชอบเรื่องร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ถูกลงมติเห็นชอบ และจะมีการประกาศใช้ในอีกไม่นานนี้ นับว่าเป็นการผลักดันให้ทางหน่วยงานราชการได้ปรับใช้ทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มระบบ ซึ่ง พ.ร.บ. นี้ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมที่จะเทียบเคียงนานาประเทศได้อย่างภาคภูมิ

 

 

 

สอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand

 

อ้างอิงข้อมูลจาก:

scbeic.com, web.krisdika.go.th