ในปัจจุบัน ข้อมูลส่วนตัวของเราถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่เหล่ามิจฉาชีพต้องการมาก เพราะข้อมูลส่วนตัวนี้สามารถนำไปโจรกรรมทางการเงินได้ ด้วยเหตุนี้ ระบบป้องกันข้อมูลส่วนตัวในโลกอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก จนทำให้ Cyber Security เป็นที่นิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยควบคุมและป้องกันข้อมูลต่าง ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่รู้ในเรื่องนี้ บอกเลยว่าสำคัญมาก วันนี้ Ditto เตรียมข้อมูลนี้มาให้ทุกคนแล้ว
Cyber Security คืออะไร?
Cyber Security คือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ต้องการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยจุดประสงค์ คือ เพื่อป้องกันการเข้าถึง การแก้ไข การเปลี่ยนแปลง หรือการทำลายข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือบุคคลที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้หลายองค์กร ต่างให้ความสำคัญเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลไม่แพ้กัน เพราะหากลูกค้าหรือผู้ใช้บริการโดนโจรกรรมข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ไป อาจทำให้องค์กรเสียชื่อได้ เพราะฉะนั้น Cyber Security จึงมีความสำคัญดังนี้
1. ความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์
จากการศึกษาของ University of Maryland พบว่าระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกมีแฮกเกอร์พยายามเข้าถึงและโจมตีระบบในระยะเวลาเพียง 39 วินาทีโดยประมาณหรือประมาณ 2,244 ครั้งต่อวัน ดังนั้นองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ข้อมูลทางการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา และข้อมูลสำคัญระดับประเทศ เป็นต้น หากไม่มีระบบการป้องกันทางไซเบอร์ที่เข้มงวด แฮกเกอร์อาจสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย
2. การรั่วไหลของข้อมูล
หากองค์กรไม่มีระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) อาจถูกเปิดเผยหรือนำไปใช้งานอย่างไม่เหมาะสมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลตามมาได้
3. บริษัทเสียชื่อเสียง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่องค์กรไม่สามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลไ จนทำให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงหรือเปิดเผยข้อมูล อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อองค์กร เช่น สูญเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าและซื้อข้อมูลที่ถูกขโมยไปกลับมา หรือแม้กระทั่ง ชื่อเสียงเกี่ยวกับความปลอดภัยขององค์กรก็จะเสื่อมถอยลง ทำให้เกิดภาพลักษณ์ไม่ดีต่อองค์กรและยากที่จะกู้คืนความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการให้กลับมาเชื่อมั่นในองค์กรเหมือนเดิม
Cyber Security มีกี่ประเภท
1. Critical Infrastructure Security
เป็นการรักษาความปลอดภัยของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ การสร้างระบบความปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากหากไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม อาจเกิดความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากกว่ารูปแบบอื่น โดยเฉพาะระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ รัฐบาล ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เป็นจำนวนมาก หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางการเงินก็นับว่าเป็นข้อมูลละเอียดอ่อน ที่การรักษาความปลอดภัย Critical Infrastructure Security จะต้องทำโครงสร้างออกมาให้แข็งแรง เพื่อป้องกันข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
2. Network Security
คือ การรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการป้องกันการคุกคามจากบุคคลภายนอกที่พยายามเข้าถึงและใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกับการนำเทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเพื่อตรวจจับและแจ้งเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนนี้
3. Cloud Security
หากองค์กรตัดสินใจเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ภายในบริษัท จะมีความเสี่ยงที่ข้อมูลอาจถูกโจมตีได้ การโอนย้ายข้อมูลเพื่อจัดเก็บบน Cloud Security เป็นตัวช่วยที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันระบบความปลอดภัยของคลาวด์ก็มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เหมาะสมกับความต้องการและเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้งาน
4. Application Security
ในกระบวนการพัฒนาหรือติดตั้งแอปพลิเคชัน อาจเกิดการโจมตีหรือการแฝงตัวเข้ามาได้ ดังนั้นการเลือกใช้ตัวช่วยในการรักษาความปลอดภัยผ่านแอปพลิเคชันเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับกระบวนการพัฒนาระบบได้อีกวิธีหนึ่ง
5. Internet of Things Security
การรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่มีการใช้งานตลอดเวลาเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากระบบ IoT มีการส่งรับข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต
และนี้คือข้อมูลของ Cyber Security ที่แต่ละองค์กรต้องมี และเลือกใช้ให้เหมาะสม เพราะการป้องกันปัญหาแต่เนิ่น ๆ มักจะง่ายกว่าการตามแก้ไขปัญหาที่ไม่อาจประเมินมูลค่าความเสียหายได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้บริการ Ditto ได้ทำการพัฒนาระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. ที่ให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งานเป็นหลัก ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มาตรฐานสากลตอบโจทย์การป้องกันได้ทั้งข้อมูลของหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน และตรงกับการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหน่วยงานรัฐที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของหน่วยงานราชการให้ทันสมัย และใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม
📞 02-517-5555
Line ID: @dittothailand