ราชการ 4.0 ทำงานได้ไวขึ้น ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

  • January 31, 2023

News Description

ราชการ 4.0

 

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นตัวแปรในการบริหารจัดการองค์กร ทางองค์กรเอกชนมากมายได้พัฒนาระบบจัดการเอกสารและระบบการทำงานให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้องค์กรที่เริ่มก่อนวิ่งได้ไกลกว่า โดดเด่นกว่า แต่ในขณะที่ทางหน่วยงานราชการเอง ก็เริ่มมีการปรับตัวจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้หน่วยงานราชการหลายที่เริ่มปรับรูปแบบการทำงานให้อยู่ในแบบออนไลน์ ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้รูปแบบหน่วยงานราชการแบบ 4.0 ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรที่ต่างไปจากเดิมบ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว

 

รูปแบบการทำงานหน่วยงานราชการ 4.0 ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

1. ติดต่อหรือออกเอกสารหลักฐานโดยใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

เพื่อเตรียมตัวในการให้บริการประชาชนที่จะเข้ามาติดต่อราชการ ก็สามารถติดต่อผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที ไม่ว่าจะยื่นเรื่อง ดาวน์โหลดเอกสาร หรือหาข้อมูลทั่วไป อีกนัยหนึ่ง หน่วยงานราชการเองก็สามารถออกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกัน เพราะเอกสารและข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บอยู่ในระบบที่เปรียบเหมือนศูนย์กลางที่ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขั้นตอนติดต่อหรือออกเอกสารก็ไม่ยาก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

 

2. ไม่ต้องเสียเวลาไปทำสำเนาเอกสารเพิ่ม

หากผู้ใช้บริการนำสำเนาเอกสารหลักฐานต้นฉบับมาเรียบร้อย แต่เจ้าหน้าที่หน่วยงานต้องการสำเนาเอกสารเพิ่ม ทางเจ้าหน้าที่ต้องจัดทำสำเนาเองโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพราะเมื่อก่อนเวลาที่เจ้าหน้าที่ต้องการสำเนาเอกสารเพิ่ม จะเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องวิ่งหาร้านถ่ายเอกสาร เพื่อถ่ายสำเนาทำเรื่อง แต่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ประชาชนไม่ต้องดำเนินการ เพราะทางหน่วยงานราชการจะต้องเป็นฝ่ายจัดการให้เอง

 

3. สามารถทำลายลักษณ์อักษรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

ทุกเอกสารที่เราจำเป็นต้องลงลายลักษณ์อักษร หรือเซ็นชื่อกำกับเอกสาร ก็ไม่จำเป็นต้องเซ็นด้วยปากกา หรือลายมืออีกต่อไป เพราะ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ สามารถเซ็นเอกสาร ทำลายลักษณ์อักษรเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Digital Signature ได้ ซึ่งการทำลายลักษณ์อักษรผ่านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการยอมรับ และมีระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อสอดคล้องกับเทคโนโลยีและเพิ่มความสะดวกสบาย สามารถเซ็นได้ทุกที่ทุกเวลา

 

4. แค่ยื่นบัตรประชาชนก็ทำเรื่องได้

ประชาชนสามารถยื่นบัตรประชาชนเพื่อขอรับบริการต่าง ๆ จากหน่วยงานราชการ และทางเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการจะเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามบัตรประชาชน กับทางสำนักทะเบียนกลางด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความรวดเร็วและพร้อมให้บริการกับประชาชนเป็นหลัก

 

5. เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

โดยปกติแล้วทางหน่วยงานราชการจะทำการปริ้นเอกสารเพื่อให้ประชาชนทำการตรวจสอบข้อมูล หรือประชาสัมพันธ์ผ่านโปสเตอร์หรือจดหมายราชการ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าจะเป็นรูปแบบออฟไลน์เป็นหลัก แต่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางหน่วยงานราชการจะต้องเปิดข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที มีเมื่อมีการอนุญาตแล้วหน่วยงานจะต้องเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว

 

6. เริ่มเข้าระบบตั้งแต่วันส่งคำขอ

เมื่อก่อนเราจำเป็นต้องเดินทางไปยังหน่วยงานราชการเพื่อยื่นเอกสาร ทำเรื่อง ซึ่งเรียกว่าเสียเวลาในการเดินทางไปและเสียค่าเดินทาง กว่าเรื่องที่ยื่นจะเข้ากระบวนการก็อาจจะใช้เวลาดำเนินการที่คาดเดาไม่ได้ แต่เมื่อมีการประกาศ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เราสามารถยื่นคำขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที และระบบจะทำการลงข้อมูลตั้งแต่วันที่เราส่งเรื่องเข้าระบบ เพราะฉะนั้นหมดกังวลว่าการทำเรื่องผ่านอิเล็กทรอนิกส์จะช้าหรือตกหล่นจากระบบราชการไปได้เลย

 

7. พัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นประโยชน์กับหน่วยงานราชการมาก เพราะเป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของหน่วยงานราชการนั้นเอาไว้ และพร้อมดำเนินการในด้านเอกสารต่าง ๆ เช่น ส่งหนังสือชี้แจง การเรียกประชุม การเกษียณหนังสือ หรือแม้กระทั่งการลงนามเพื่ออนุมัติ ซึ่งทางหน่วยงานควรพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการติดต่อไม่ว่าจะเป็น การติดต่อระหว่างหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก และประชาชน

 

ทั้งหมดนี้คือรูปแบบการทำงานราชการโฉมใหม่แบบ 4.0 ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลังจากที่มีประกาศ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตอบโจทย์พฤติกรรมของประชาชน ลดการใช้กระดาษสำหรับติดต่อราชการ ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งทาง Ditto เองเล็งเห็นความสำคัญของ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ และต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการดำเนินงานของหน่วยงานราชการได้ในทุกภาคส่วน ด้วยระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. ที่เป็นระบบจัดการเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแปลงโฉมหน่วยงานราชแบบ 4.0 ให้ประชาชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานรัฐได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand