ในยุคที่รัฐบาลดิจิทัลยุคใหม่ ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต ในการทำงาน และจัดการข้อมูล เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่สุด ทั้งนี้ เมื่อไม่นานนี้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ บังคับใช้หน่วยงานราชการ ไม่ว่าจะเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐทุกหน่วย ให้ดำเนินงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้รูปแบบการทำงานรัฐบาลเป็นรูปแบบดิจิทัลยุคใหม่ เพื่อต้อนรับไทยแลนด์ 4.0
ซึ่งรูปแบบการทำงานที่จะถูกเปลี่ยนแปลงมีหลากหลายมาก แต่วันนี้เราขอยกตัวอย่างการปรับเปลี่ยนการทำงานของภาครัฐ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนได้มากขึ้นหรือไม่
จุดประสงค์ของการเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลยุคใหม่
โดยที่ผ่านมามีนโยบายของภาครัฐพยายามปรับปรุงรูปแบบการทำงานของข้าราชการ เพื่อให้ตอบโจทย์กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน เพราะฉะนั้นหน่วยงานภาครัฐเองก็พยายามพัฒนาเว็บไซต์ ระบบการทำงาน หรือแแม้กระทั่งพัฒนาระบบ Mobile Application ให้บริการกับประชาชน
แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลก็มีอุปสรรคและปัญหาติดขัดในการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง เพราะรูปแบบการทำงานรัฐบาลในอดีตที่มักจะทำงานผ่านเอกสารกระดาษเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อเทคโนโลยีเริ่มได้รับความนิยม และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รัฐบาลดิจิทัลค่อย ๆ พัฒนาระบบต่าง ๆ ออกมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการของรัฐบาลยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ทำให้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานข้าราชการทำงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ต้องทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาหน่วยงานภาครัฐและการบริการของข้าราชการ
6 รูปแบบการปรับเปลี่ยนการทำงานของรัฐบาลดิจิทัลยุคใหม่
1. มี Data Governance หรือธรรมาภิบาลข้อมูลของภาครัฐ
อย่างแรกคือการวางรากฐานในการจัดเก็บ รักษา อัปเดต บริหารจัดการ และเปิดให้การนำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานในภาครัฐสามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยข้อมูลที่อยู่ในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ หรือ Data Governance จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย และอยู่ในรูปแบบการใช้งานที่ง่าย สามารถให้หน่วยงานอื่นมาใช้งานได้ตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งภาคเอกชนและประชาชนก็สามารถเข้ามาใช้งานได้เช่นกัน
2. จัดการข้อมูลและบริการในแบบดิจิทัล Digitization
เพื่อให้กระบวนการทำงานของภาครัฐและการจัดการข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมด เพื่อสอดคล้องกับ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้งานผ่านอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการชำระเงินทางดิจิทัล (National e-Payment) ใช้สำหรับชำระค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าปรับ และทุกการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัล จะมีระบบยืนยันตัวตนดิจิทัล (Digital ID) มาใช้ภายในระบบของภาครัฐ
3. เชื่อมต่อข้อมูลด้วยรูปแบบ Integration
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐส่วนไหน หรืออยู่ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ก็สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างง่ายดาย สร้างระบบที่เป็นมาตรฐาน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัย ใช้งานง่าย ลดความซับซ้อนในการยื่นเรื่องต่าง ๆ ช่วยให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะต้องมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ดูแลศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
4. One Stop Service ที่เดียวจบ
ต้องการสร้างบริการที่พร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ทำธุรกรรมกับภาครัฐ สามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการของภาครัฐให้ได้มากที่สุดภายในระบบเดียวจบ ไม่ต้องไปยื่นเรื่อง หรือติดต่อที่อื่นหลายทอด หรือต้องเดินทางไปหน่วยงานภาครัฐเพื่อทำเรื่องเหมือนแต่ก่อน
5. เปิดเผยข้อมูลรัฐผ่าน Open Government Data
ปัจจุบันภาครัฐได้ออกแบบเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลรัฐแบบ Open Government Data ที่เว็บไซต์ data.go.th โดยวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูลรัฐก็เพื่อสร้างความโปร่งใสในการทำงาน ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ดำเนินธุรกิจได้เช่นกัน
6. พัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลบุคลากรภาครัฐ
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐเข้าใจระบบการทำงานของอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ทางภาครัฐเองก็ต้องเตรียมเสริมทักษะในด้านต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่จะได้ทันกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ของประชาชนและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
และทั้งหมดนี้คือ รูปแบบรัฐบาลดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากแต่เดิม โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อยกระดับหน่วยงานราชการไทย และต้องการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ ทั้งนี้ทาง Ditto เองได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ควบคู่กับการทำงานของหน่วยงานราชการ เราจึงออกแบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่ราชการใช้งานง่าย เป็นระบบที่รวบรวมเอกสาร ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ ที่มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐานสากลภายในระบบ พร้อมสร้างแนวคิด Digitization ให้หน่วยงานภาครัฐ ได้ร่วมก้าวสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม
📞 02-517-5555
Line ID: @dittothailand