ยกระดับภาครัฐกับการใช้ Big Data คลังข้อมูลขนาดใหญ่

  • December 23, 2022

News Description

big data

 

ในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล การทำงานรูปแบบออฟไลน์แบบเดิม ๆ อาจทำให้การทำงานล่าช้าลง เมื่อเทียบกับการทำงานผ่านระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการประชุมทางไกล ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถประชุมได้ทุกที่ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลเอกสารจากรูปแบบกระดาษ ก็เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล หรือ ที่เราเรียกกันว่า Big Data ซึ่งในบริษัทเอกชนไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่างเริ่มหยิบชุดข้อมูลที่มีในมือ มาวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การตลาดเป็นที่เรียบร้อย แต่ในส่วนของราชการอาจยังสงสัยว่า Big Data หน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้เราเลยเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับ Big Data ในหน่วยงานภาครัฐมาฝาก เพื่อให้คุณทำความเข้าใจได้มากขึ้น

 

Big Data คืออะไร?

Big Data คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีทั้งหมดภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลของบริษัท ข้อมูลการติดต่อลูกค้า ข้อมูลการติดต่อของผู้ร่วมธุรกิจ ข้อมูลลักษณะของผู้บริโภค การทำรายการธุรกิจต่าง ๆ ในแต่ละวัน ตัวอักษร ไฟล์เอกสาร รูปภาพ ทั้งหมดในองค์กร และข้อมูลอื่น ๆ ทุกประเภทที่อยู่บนโลกออนไลน์

 

และด้วยปริมาณของชุดข้อมูลที่มีเป็นจำนวนมาก เราจำเป็นต้องมีระบบสำหรับประมวลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลมหาศาลได้ เพราะเราจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ เพื่อไปวางแผน และใช้สำหรับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ สามารถเพิ่มฐานลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

 

ลักษณะของ Big Data มีด้วยกัน 4 ลักษณะดังนี้

 

1. ปริมาณ

อย่างแรกคือ ปริมาณข้อมูลที่สามารถผลิตได้และจัดเก็บไว้จะต้องมีจำนวนมาก โดยปริมาณของข้อมูลทั้งหมดจะเป็นตัวบอกคุณภาพและประสิทธิภาพของข้อมูลไปในตัว

 

2. ความหลากหลายของข้อมูล

ยิ่งองค์กรไหนมีข้อมูลที่หลากหลาย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ไฟล์ข้อมูล e-Document รูปภาพ วิดีโอ ข้อมูลการบันทึกเสียง และรูปแบบข้อมูลประเภทอื่น ๆ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เช่นกัน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้มา ควรจะเป็นข้อมูลของทุกฝ่ายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย หรือแม้กระทั่งข้อความจาก Social Media ก็ควรถูกจัดเก็บเป็น Big Data ด้วยเช่นกัน

 

3. ความเร็ว

ความรวดเร็วในการประมวลผลและผลิตข้อมูลขึ้นมา เพื่อให้ทันต่อผู้ใช้งานถือเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งทางฝั่งของเจ้าหน้าที่ พนักงาน และฝั่งของผู้บริโภคเองต้องสามารถเข้าถึงชุดข้อมูลได้อย่างง่ายและรวดเร็ว หรือแบบ Real Time เพื่อประสิทธิภาพของการเรียกใช้ข้อมูลนั่นเอง

 

4. คุณภาพของข้อมูล

คุณภาพของข้อมูลที่เราสามารถนำไปวิเคราะห์วางกลยุทธ์การทำงานได้ โดยจะต้องเป็นข้อมูลดิบที่เป็นข้อมูลที่หลากหลาย มาจากหลายแหล่งที่มา เมื่อทำการรวบรวมข้อมูลเป็นที่เรียบร้อย จะต้องผ่านกระบวนการทำ Data Cleansing ก่อน เพื่อควบคุมคุณภาพของข้อมูล และสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดได้อีก

 

ตัวอย่าง Big Data ของหน่วยงานภาครัฐ

จากข้างต้นเราพูดถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลของหน่วยงานเอกชน หรือบริษัททั่วไป ที่เชื่อว่าทุกคนคงเห็นภาพของแต่ละบริษัทแล้ว แต่ถ้าให้พูดถึงของฝั่งหน่วยงานภาครัฐ หลายคนอาจจะนึกภาพ หรือมองไม่ออกว่า Big Data ของหน่วยงานภาครัฐมีอะไรบ้าง และข้อมูลจะเป็นรูปแบบไหน?

 

ซึ่ง Big Data ของหน่วยงานภาครัฐหลัก ๆ จะเป็นการทำเพื่อนำมาปรับและพัฒนาการบริการภาครัฐให้ตรงต่อความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด และใช้งบประมาณน้อยที่สุด โดยข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐนำมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อประชาชน มีมากมาย จะขอยกตัวอย่างดังนี้

 

  • ข้อมูลสภาพอากาศ ที่หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นข้อมูลในปริมาณมหาศาล จากเครื่องตรวจวัดสภาพอากาศจำนวนมาก ทั้งดาวเทียม เครื่องวัดความกดอากาศ เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน และนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และนำเสนอสภาพอากาศในประเทศไทยอย่างแม่นยำ

 

  • ข้อมูลสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพื่อที่จะได้จัดแจงยารักษาเชื้อไวรัส หรือแม้กระทั่งโรคต่าง ๆ ที่คนไทยเป็น เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของผู้ป่วย การรักษาพยาบาล เพื่อที่จะได้สั่งยา และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าที่สุด

 

  • ข้อมูลการจราจร วิเคราะห์จากปริมาณรถสาธารณะ รถส่วนบุคคลในกรุงเทพฯ พร้อมกับวิเคราะห์แต่ละเวลามีปริมาณรถหนาแน่นเท่าไหร่ เพื่อทำการแก้ปัญหาการจราจร และแจ้งกับประชาชนเพื่อเตรียมรับมือปัญหาการจราจรติดขัด

 

จะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐขนาดใหญ่เท่านั้นที่ต้องสร้าง Big Data หน่วยงานภาครัฐขนาดเล็กอย่าง อบต. และ อบจ. เองก็จำเป็นเช่นกัน เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบข้อมูลมาใช้งาน เพื่อปรับและพัฒนารูปแบบการบริการแก่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่ายและรวดเร็วไม่ต่างกัน แต่การจัดการ Big Data ให้มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่เวลาประชาชนเข้ามาลงทะเบียน หรือยื่นเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์กับ อบต. และ อบจ. เจ้าพนักงานหน่วยงานรัฐจะสามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูลได้ตามหมวดหมู่ และยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ความต้องการของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ อบต. และ อบจ. นั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูล:

1stcraft.com

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand