ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดขององค์กร การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้องค์สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และทำงานได้เป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนี่คือที่มาของ “Data Governance” หรือ ธรรมาภิบาลข้อมูล
เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Governance เพื่อนำมาปรับใช้ทั้งในการวางแผนธุรกิจและการบริหารงานภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยวางแผนการใช้ข้อมูลให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
Data Governance คืออะไร สำคัญอย่างไร
Data Governance หรือ ธรรมาภิบาลข้อมูล คือ กระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย กระบวนการ และความรับผิดชอบในการจัดการข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ Data Governance จึงเหมาะอย่างยิ่งกับองค์กรที่ต้องการเป็น Data Driven
Data Governance Framework คืออะไร
Data Governance ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่ดี และเป็นแนวทางที่ช่วยกำหนดทิศทาง ควบคุม จัดการคุณภาพข้อมูลให้มีคุณภาพ ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้ข้อมูลภายในองค์กรดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้การจัดทำ Data Governance นั้นไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวชัดเจน เราจึงกำหนด Data Governance Framework ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง มาให้ศึกษาพร้อมกัน
จากที่ได้ทราบความหมายของ Data Governance และเข้าใจถึงความสำคัญแล้ว เราจะมาทำความรู้จักกับ Data Governance Framework ที่เป็นกระบวนการที่ไม่ได้มีรูปแบบชัดเจน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละองค์กร ซึ่งเราได้กำหนดตัวอย่าง Data Governance Framework ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง ดังนี้
- Policy & Standard: เป็นการกำหนดนโยบายต่างและสร้างมาตรฐานสำหรับการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจะมีการจัดทำเอกสารเพื่ออธิบายข้อมูลให้ชัดเจน
- Privacy & Compliance: นโยบายความเป็นส่วนตัวและการเผยแพร่ ซึ่งการจะเข้าถึงข้อมูลจำเป็นต้องกำหนดสิทธิ์ รวมไปถึงการอนุญาตให้ใช้งานข้อมูลดังกล่าว เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์
- Role & Responsibility: เป็นการกำหนดความรับผิดชอบในการจัดการข้อมูล ใครมีหน้าที่ในการดูแลข้อมูลส่วนไหนและต้องทำอะไรบ้าง อย่างเช่น ใครเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Owner) ใครเป็นผู้ใช้ข้อมูล (Data User) หรือใครเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล (Data Supporter)
- Process: เป็นกระบวนการที่ใช้ในการบริหารข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้มีข้อมูลพร้อมใช้งานตลอดเวลา และมีการอัปเดตข้อมูลเสมอเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
- Guideline: เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ทุกหน้าที่สามารถเข้าใจและบริหารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Data Governance Framework จาก The Data Governance Institute
จากรูปด้านบน เป็นตัวอย่าง Data Governance Framework จาก The Data Governance Institute ที่มีการกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ บุคคลากรผู้รับผิดชอบ กระบวนการ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็น Framework ที่มีความละเอียดเป็นอย่างมาก จึงเหมาะกับองค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก
ประโยชน์ของ Data Governance
1. ความปลอดภัยของข้อมูล
ในด้านความปลอดภัย Data Governance ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันข้อมูลจากการถูกเข้าถึง ทำลาย หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังช่วยปกป้องข้อมูลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อีกด้วย
2. คุณภาพของข้อมูล
ในด้านคุณภาพของข้อมูล Data Governance ช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจของผู้มีอำนาจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถวางแผนหรือพัฒนาธุรกิจได้อย่างมั่นคง
3. การปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ Data Governance ช่วยให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล เช่น ระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR) และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นต้น
4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ในด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน Data Governance ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้การทำงานภายในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น จากการกำหนดความรับผิดชอบในกระบวนการต่าง ๆ
สรุป Data Governance
โดยสรุปแล้ว Data Governance เป็นกรอบการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรในปัจจุบัน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลขององค์กร ทำให้ข้อมูลมีคุณภาพ พร้อมใช้งาน และสอดคล้องกับกฎระเบียบที่ชนำไปสู่การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด กำหนดและวางแผนการใช้ข้อมูลให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำข้อมูลนั้นมาต่อยอดเพื่อพัฒนาองค์กรได้อย่างก้าวกระโดด
หากหน่วยงานราชการไหนต้องการสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ต้องการสร้างศูนย์รวมข้อมูลที่มาพร้อมระบบจัดการเอกสารและข้อมูล ให้เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้และง่ายต่อการบริหารจัดการได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การนำเข้า ค้นหา และจัดเก็บ เราขอแนะนำ ระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. ที่ Ditto (ดิทโต้) ออกแบบระบบมาเพื่อตอบโจทย์ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้องค์กรของคุณมีข้อมูลที่ทรงคุณค่าและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม
📞 02-517-555
📱063 204 0321
Line ID: @dittothailand