Data Collection มีประโยชน์อย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล

  • July 3, 2024

News Description

Data Collection คือ

 

ในยุค Data-Driven ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้นทุกวัน การจัดเก็บข้อมูล หรือ Data Collection กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ออกแบบสินค้าและบริการให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายไปสู่ตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง

บทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่าประโยชน์ของ Data Collection มีอะไรบ้าง? แล้วตอบโจทย์การทำธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างไร? เรามีคำตอบ

 

 

Data Collection คืออะไร

 

ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจว่าประโยชน์ของ Data Collection มีอะไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Data Collection คืออะไร

การจัดเก็บข้อมูล หรือ Data Collection คือ กระบวนการที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่องค์กรให้ความสนใจมาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ (Data Analytics) และนำข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่ได้มาตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจาก Data Collection มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยได้มาจากวิธีต่าง ๆ เช่น การทำแบบสอบถาม, การสำรวจ, การสอบถามผู้เชี่ยวชาญ หรือการเก็บข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วมาทำการวิเคราะห์ใหม่ เป็นต้น

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: ทำความรู้จักการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection คืออะไร

 

 

ประโยชน์ของ Data Collection ในการดำเนินธุรกิจ

 

หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า Data Collection คืออะไร เราจะมาดูกันว่า Data Collection ที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญ มีประโยชน์อย่างไร?

 

1. นำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์

Data Collection มีอะไรบ้าง

 

ประโยชน์ข้อแรกของ Data Collection คือ สามารถนำข้อมูลที่รวบรวมมาใช้วิเคราะห์เพื่อตัดสินใจทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลคู่แข่ง, ข้อมูลการขาย, ข้อมูลจากแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านั้นจะต้องผ่าน Data Collection Techniques ในขั้นตอนการทำความสะอาด (Data Clensing) จนได้เฉพาะข้อมูลที่มีความแม่นยำ และเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบสิ่งที่องค์กรให้ความสนใจ จากนั้นจึงนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม

 

 

2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

Data Collection Method

 

ประโยชน์ข้อที่ 2 ของ Data Collection คือ องค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากช่องทางต่าง ๆ ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลพฤติกรรมและความสนใจของลูกค้า ช่วยให้องค์กรมองเห็นจุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาสในการปรับปรุงสินค้าและบริการปัจจุบันให้สอดคล้องกับความต้องการลูกค้าได้ สามารถออกแบบแคมเปญและโปรโมชันที่ส่งเสริมการขายกับลูกค้าแต่ละประเภทได้อย่างชาญฉลาด อีกทั้งยังนำข้อมูลมาคาดการณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้องค์กรมองเห็นช่องทางการตลาดใหม่ ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย

โดยสิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อมีการทำ Data Collection จากลูกค้า คือ ต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือทำการเผยแพร่ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA)

 

 

3. สร้างการตัดสินใจที่ดีขึ้น

data collection techniques

 

ประโยชน์ข้อที่ 3 ของ Data Collection คือ เมื่อองค์กรสามารถทำตาม Data Collection Method ได้ครบถ้วน ส่งผลให้องค์กรมี Data ที่สำคัญอยู่ในมือ ส่งผลให้การทำงานและการตัดสินใจร่วมกันจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้อ้างอิงในการตัดสินใจนั่นเอง

 

 

4. ขับเคลื่อนองค์กรตามหลัก Data-Driven

 

ประโยชน์ของ Data Collection

 

ประโยชน์ข้อที่ 4 ของ Data Collection คือ องค์กรสามารถใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ (Data-Driven) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์โลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง หากองค์การมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถนำไปวิเคราะห์และนำข้อมูลที่ได้มาใช้วางแผนการตลาดเพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาสใหม่ ๆ และเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจ ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จจากการใช้ Big Data อย่างชาญฉลาด

 

 

สรุป Data Collection

 

สรุปแล้ว Data Collection คือ หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการจัดเก็บข้อมูลได้แก่ การปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลของลูกค้าจะถูกดูแลตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) และได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

 

เริ่มทำ Data Collection อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยบริการ BPO Service (Data Protection Officer) จากดิทโต้ (Ditto) ที่ช่วยออกแบบระบบบริหารจัดการงานเอกสารได้แบบครบวงจรให้ตรงกับรูปแบบการทำงานของแต่ละองค์กรด้วยทีมงานมืออาชีพ ดำเนินการสแกนเอกสารกระดาษเพื่อแปลงข้อมูลสู่ไฟล์ดิจิทัล จัดเก็บพร้อมเตรียมข้อมูลของคุณให้พร้อมใช้งาน และอัปเดทให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหา ด้วยระบบการค้นหาข้อมูลแบบดิจิทัล ง่ายแค่ปลายนิ้ว ไม่ต้องเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ ตอบโจทย์ทั้งระบบการทำงานภายใน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของคุณผ่านการดำเนินงานที่ทันสมัย เสริมภาพลักษณ์องค์กรให้ทันสมัยเหนือคู่แข่ง และเป็นช่วยรักษาโลกได้อย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม

📞 02-517-555

📱063 204 0321

Line ID: @dittothailand