บริษัทเอกชนตลอดจนองค์กรทั่วไปต่างก็ต้องปรับรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้กระบวนการทำงานดำเนินต่อได้อย่างราบรื่นและได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ด้วยการย้ายไปสู่รูปแบบดิจิทัล (Digital) มากขึ้น
ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2020 ยาวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อย่างที่หลายคนเห็นแล้วว่าโรคระบาดส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนทั้งโลก จากที่ไม่ต้องกังวลใด ๆ ก็กลายมาเป็นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน รวมถึงพกพาเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ถือเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนต้องพกติดตัวตลอดเพิ่มขึ้นมาจากกระเป๋าสตางค์และโทรศัพท์มือถือ จนเป็นภาพที่เราคุ้นชินตากันทั่วไป ในด้านเศรษฐกิจ บริษัทเอกชนตลอดจนองค์กรทั่วไปต่างก็ต้องปรับรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้กระบวนการทำงานดำเนินต่อได้อย่างราบรื่นและได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งอนาคตสถานที่ทำงานจะถูกปรับเปลี่ยน ย้ายไปสู่รูปแบบดิจิทัล (Digital) มากขึ้นจากสภาวะบีบบังคับนี้
เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสร้าง New Normal ให้พนักงานทุกคนเข้าใจร่วมกัน ในการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หรือจะเป็น Next Normal หลังโควิด-19 ก็ตาม ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เพราะเป็นตัวกำหนดแนวทางการทำงานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับที่ทำงานและบริษัทเปลี่ยนไป โดยวันนี้ Ditto เองก็มี 5 ข้อปฏิวัติการทำงานแบบเดิม ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมานำเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบกัน
5 ข้อปฏิวัติการทำงานในอนาคต
1. ทำงานได้จากทุกที่ (Work from anywhere)
ผลจากการแพร่ระบาดของโรค ทำให้หลาย ๆ บริษัทต้องเปลี่ยนมาให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้านแทนการเข้าออฟฟิศ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลงพบว่า ประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ด้อยกว่าการทำงานที่ออฟฟิศ หลาย ๆ ที่จึงให้ทำงานจากที่บ้านต่อไปในขณะที่ได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการปรับรูปแบบการทำงาน ให้สามารถทำจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้ในระยะยาว โดยการใช้เครื่องมือดิจิทัลมาลดข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ใช้ซอฟต์แวร์ Zoom, Miro สำหรับประชุมงานออนไลน์,
การใช้ซอฟต์แวร์ Ditto DMS มาใช้บริหารจัดการเอกสารภายในองค์กร, การใช้ระบบคลาวด์มาเก็บข้อมูลของบริษัท ทำให้แนวโน้มของการทำงานที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ นายจ้างหรือบริษัทอาจให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานน้อยลง แต่ไปเน้นผลลัพธ์ของงานแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงานและลูกจ้างทั่วไปปรารถนา เพราะไม่ต้องรีบตื่นเพื่อฝ่าการจราจรที่พลุกพล่านมายังออฟฟิศ ทำให้ดึงดูดใจคนทำงาน ให้อยากมาร่วมงานด้วย เพราะทำให้เวลาที่ต้องเสียไปจากการเดินทางในแต่ละวัน สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ในงาน ด้านที่สนใจ หรือใช้ในชีวิตส่วนตัวได้มากขึ้น
2. ทำงานเท่าที่ต้องการ (Work at will)
อาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นจากการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้อาชีพอย่างฟรีแลนซ์และอาชีพสัญญาจ้างระยะสั้นมีเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของ Intuit คาดการณ์ได้ว่า 40% ของคนอเมริกันวัยทำงาน จะถูกจ้างแบบสัญญาจ้างแทนที่การจ้างแบบพนักงานประจำมากขึ้น อย่างไรก็ตามกลุ่มมิลเลนเนียล (Millenial) ที่มีมุมมองการใช้ชีวิตแบบอิสระเสรีและ Work-life balance ต้องการทำงานที่ยืดหยุ่นตอบโจทย์กับการใช้ชีวิต จึงค่อนข้างชื่นชอบงานที่กำหนดตารางเวลาได้ชัดเจน ซึ่งก็ win-win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะทางบริษัทเองก็ต้องการผลกำไร ขณะที่สถานการณ์โรคระบาดยังไม่หมดไป รายได้ของกิจการสูญเสียไปเยอะ
ดังนั้นการลดต้นทุนจึงเป็นทางออกที่ดีกว่าด้วยการจ้างพนักงานสัญญาจ้างหรือฟรีแลนซ์แทน ถึงแม้อัตราค่าจ้างจะสูงกว่า แต่ในระยะยาวย่อมประหยัดต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทมากกว่า และจะกลายเป็นค่านิยมของบริษัททั่วไปตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงอนาคต
3. ทำงานได้หลายๆ อย่าง (Work for all)
ยุคที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจดุเดือดอย่างปัจจุบัน หลายธุรกิจหันมาเน้นการลงทุนแบบคุ้มค่าเพื่อประหยัดต้นทุนให้มากที่สุด อย่างการจ้างพนักงานแต่ก่อนอาจจะเลือกพิจารณาจากความเชี่ยวชาญในตำแหน่งงานนั้น ๆ เป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันอาจจะไม่ต้องเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเหมือนเดิม แต่มีทักษะทำงานได้กว้างหลายอย่าง โดยรู้เนื้องานในส่วนงานอื่นในระดับพื้นฐานด้วย แต่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษแบบที่เรียกกันว่ามนุษย์เป็ด จะเป็นที่ต้องการของบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพราะความต้องการบุคลากรที่สามารถทำงานได้หมดภายในตำแหน่งเดียวย่อมประหยัดค่าจ้างกว่าการจ้างพนักงานอีก 2 – 3 ตำแหน่งมาทำงานในส่วนที่ไม่ต้องใช้ทักษะความรู้ในเชิงลึก เนื่องจากมองว่าทักษะในงานสามารถเสริมสร้างทีหลังได้ หรือจะเป็นการดีขึ้นไปอีกหากมีพนักงานที่มีทักษะความเชี่ยวชาญในเชิงลึกด้วย และรู้กว้างด้วย ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
4. ทำงานอย่างฉลาด (Work smarter)
การนำเทคโนโลยีประเภท AI กับหุ่นยนต์มาใช้ในธุรกิจอุตสากรรมหรือการบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธฺิภาพการทำงานแทนที่แรงงานมนุษย์ เริ่มแพร่หลายมากขึ้น พนักงานบริษัทหรือเจ้าของกิจการจึงไม่ควรละเลย แต่ต้องปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกแทรกแซงงานบางประเภทจากเครื่องจักร รวมทั้งเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วพร้อมใช้งาน ถือเป็นแนวทางหนึ่งของการ Work Smart เพราะมองถึงกระบวนการและผลลัพธ์ของงานเป็นหลัก มากกว่าการทุ่มเทแรงงานหรือใช้เวลามากเกินไปโดยที่ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม ซึ่งบางองค์กรยืดหยุ่นเรื่องเวลาเข้างานเลยทีเดียว ว่าจะเข้าเวลาไหนก็ได้ขอแค่งานต้องเสร็จไม่มีปัญหา ดังนั้นอนาคตการทำงานจะไม่มีวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดีที่สุดเหมือนแต่ก่อน หากต้องปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปมาตลอดของเทคโนโลยี
5. ทำงานอย่างรักษ์โลก (Work for planet)
คนวัยทำงานหนุ่มสาวสมัยใหม่โดยเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennial) ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่พวกเขาอาศัยอยู่ เพราะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทางชีวภาพและกายภาพต่อพวกเขาโดยตรง ดังนั้นพวกเขาต้องการทำงานกับธุรกิจหรือองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและมองถึงสังคมส่วนรวม นอกเหนือไปจากผลกำไร นโบายขององค์กรต้องแสดงออกมาเป็นรูปธรรมได้ ซึ่งบริษัทชั้นนำต่างตระหนักถึงเรื่องนี้ทั้งสิ้น พร้อมนำแนวทางการดำเนินงานแบบ Sustainable Workplace มาใช้ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนสถานที่ทำงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและโลกอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศที่ออกแบบให้ประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าโดยใช้แสงจากธรรมชาติช่วยหรือการติดโซลาเซลล์เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานไฟฟ้าและความร้อน, การมีพื้นที่ปลูกต้นไม้ในอาคารเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ, การมีถังเก็บน้ำฝนเพื่อนำมาใช้ล้างทำความสะอาดพื้นหรือรดน้ำต้นไม้ ฯลฯ เพราะเมื่อให้คุณค่ากับการดูแลรักษาโลกแล้ว ผลที่ได้กลับมาก็คือสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของมนุษย์ต่อไป
ด้วยเงื่อนไขและปัจจัยที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา ย่อมทำให้รูปแบบการทำงานแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมา เนื่องจากมีช่องทางหารายได้เพิ่มขึ้น จากการเข้ามาแทรกแซงของเทคโนโลยี รวมถึงอาจมีบางอาชีพอาจหายไปเพราะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำงานในอนาคต 5 ข้อนี้เผยให้เห็นมาตรฐานและค่านิยมต่อการทำงาน มุมมองด้านอื่นนอกเหนือจากตัวเงินเพียงอย่างเดียวของมนุษย์เงินเดือน ในขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการก็ต้องเข้าใจมุมมองความคิดของคนทำงานแต่ละช่วงวัย เพื่อจะได้หาวิธีปรับแนวทางการทำงานขององค์กรเองให้สอดคล้องกับแนวทางความปรารถนาของคนกลุ่มนี้ ในการหาจุดร่วมตรงกลางระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย
ขอบคุณข้อมูลจาก Intuit
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Ditto (Thailand)
📞 02-517-5555