ข่าวสารประชาสัมพันธ์

อ่านต่อ

TOKENIZATION SUMMIT 2024: Unveiling the next BIG thing

April 19, 2024

ดิทโต้ ขอแนะนำ event ดี ๆ ที่จะพาคุณเปิดประตูสู่โลก Tokenization ปัจจัยสำคัญที่พาคุณก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ในด้านการลงทุนและการใช้งานเทคโนโลยีที่แตกต่างจากเดิม . “TOKENIZATION SUMMIT 2024: Unveiling the next BIG thing” งานใหญ่ประจำปีของ Token X ที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2024 เวลา 13:00 - 19:30 ณ SCBX Next Tech, Siam Paragon ชั้น 4 ภายในงานมี Speaker ระดับหัวกะทิจากหลากหลายองค์กร พร้อมความรู้และประสบการณ์สำคัญมาแชร์ให้ฟัง ซึ่งในงานนี้ ดิทโต้ ได้รับเกียรติให้เข้าร่วม โดยมี คุณฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ... read more

Data Governance อ่านต่อ

Data Governance คืออะไร มีส่วนสำคัญอย่างไรเพื่อให้ข้อมูลองค์กรปลอดภัย

April 9, 2024

  ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดขององค์กร การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้องค์สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และทำงานได้เป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนี่คือที่มาของ “Data Governance” หรือ ธรรมาภิบาลข้อมูล   เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Governance เพื่อนำมาปรับใช้ทั้งในการวางแผนธุรกิจและการบริหารงานภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยวางแผนการใช้ข้อมูลให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์     Data Governance คืออะไร สำคัญอย่างไร Data Governance หรือ ธรรมาภิบาลข้อมูล คือ กระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย กระบวนการ และความรับผิดชอบในการจัดการข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ Data Governance จึงเหมาะอย่างยิ่งกับองค์กรที่ต้องการเป็น Data Driven     Data Governance Framework คืออะไร Data Governance ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่ดี และเป็นแนวทางที่ช่วยกำหนดทิศทาง ควบคุม จัดการคุณภาพข้อมูลให้มีคุณภาพ ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้ข้อมูลภายในองค์กรดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้การจัดทำ Data Governance นั้นไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวชัดเจน... read more

Data Ingestion คือ อ่านต่อ

Data Ingestion คือ? กุญแจสำคัญสู่การนำ Big Data ไปใช้งานจริง

April 9, 2024

  ขั้นตอนสำคัญสำหรับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data คงจะหนีไม่พ้น “Data Ingestion” หรือ “การนำเข้าข้อมูล” ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้ด้วยกัน หากองค์กรขาดการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่รู้วิธีในการทำ Data Ingestion ก็อาจทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่ตรงกับเป้าหมาย ขาดความแม่นยำ หรือได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจที่ผิดพลาดนั่นเอง   บทความนี้จะพาคุณมาศึกษาไปพร้อมกันว่า กุญแจสำคัญสู่การนำ Data ไปใช้งานอย่าง Data Ingestion คืออะไร? มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร? พร้อมขั้นตอนที่นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง     Data Ingestion คืออะไร การนำเข้าข้อมูล หรือ Data Ingestion คือ กระบวนการนำเข้าไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จากหลายแหล่งมาไว้ในคลังจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์เดียว เช่น Data Warehouse, Data Lake หรือ Database ซึ่งสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ได้ เนื่องจากข้อมูลอาจมีหลายรูปแบบและมาจากแหล่งที่มาหลายร้อยแหล่ง ข้อมูลจึงได้รับการทำความสะอาด (Data Cleansing) และแปลงให้เป็นรูปแบบเดียวกันโดยใช้กระบวนการ... read more

Data Lake คือ อ่านต่อ

Data Lake คืออะไร สำคัญต่อโลกธุรกิจที่ต้องพึ่งพิง Data มากขนาดไหน

April 9, 2024

  ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสำหรับยุคที่ข้อมูลเป็นทรัพย์สินมีค่า หากองค์กรของคุณมีคลังเก็บข้อมูลที่ได้มาตรฐาน สามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ และจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล หรือ Big Data ได้แบบเรียลไทม์ จะช่วยพัฒนาธุกิจได้อย่างก้าวกระโดด ทั้งด้านการวางแผนการตลาด รวมไปถึงการบริหารองค์กรให้เป็นระบบ   บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกันว่าทะเลสาปข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางข้อมูลขององค์กรอย่าง Data lake คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? มีความสำคัญต่อธุรกิจที่ต้องพึ่งพิง Data มากขนาดไหน? มาศึกษาไปพร้อมกันเลย     Data Lake คืออะไร     Data Lake คือ คลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บรวบรวมข้อมูลดิบ (Raw Data) จากแหล่งต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการวางโครงสร้างหรือแปลงข้อมูล ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลโครงสร้าง (Structured Data) ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Data) หรือข้อมูลไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) สามารถประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้แบบเรียลไทม์และ Machine Learning เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลจากระบบ ERP, CRM,... read more

Data Cleansing อ่านต่อ

Data Cleansing คืออะไร มีความสำคัญต่อองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากอย่างไรบ้าง

April 9, 2024

  ยิ่งองค์กรมีจำนวนข้อมูลจำนวนมหาศาลเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความท้าทายในการนำข้อมูลไปใช้ก็มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ได้ชุดข้อมูลที่สมบูรณ์ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูล ซึ่งมีหนึ่งขั้นตอนในการจัดการข้อมูลที่สำคัญเป็นอย่างมาก และต้องทำทุกครั้งที่มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ นั่นคือการทำ “Data Cleansing” หรือที่เรียกกันว่า “การทำความสะอาดข้อมูล”   เรามักจะเห็นคำนี้อยู่แทบทุกกระบวนการ ทุกเทคนิค แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วการทำ Data Cleansing มีขั้นตอนอย่างไร? มีข้อดีอะไรบ้าง? ทำไมองค์กรควรให้ความสำคัญ? บทความนี้จะพาคุณมาเจาะลึก Data Cleansing อย่างละเอียดกัน     Data Cleansing คืออะไร การทำความสะอาดข้อมูล หรือ Data Cleansing คือ กระบวนการตรวจจับข้อมูล แก้ไข ลบ แทนที่ และจัดรูปแบบของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ซ้ำซ้อน ให้มีความถูกต้องและเป็นระเบียบ ตลอดจนนำไปใช้งานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ     Cleansing Data มีความสำคัญอย่างไร สำหรับคำถามที่ว่า Cleansing Data มีความสำคัญอย่างไร? ในการทำธุรกิจจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำ มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์และสามารถนำไปวางแผนทางการตลาดได้ หากขาดการเตรียมข้อมูลที่คุณภาพ ไม่มีการคัดกรองข้อมูลด้วย Data Cleansing... read more

Green Economy คือ อ่านต่อ

เศรษฐกิจเติบโต พร้อมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด Green Economy

April 9, 2024

  ยิ่งเศรษฐกิจโลกมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลมากขึ้นเท่านั้น และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งทางดิน น้ำ อากาศ ซึ่งทั่วโลกต่างรับรู้ถึงปัญหาและต้องการแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้ จึงผลักดันให้เกิดแนวคิดที่น่าสนใจอย่าง “Green Economy” ที่สร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อม   และแนวคิดนี้ยังถูกนำมาปรับใช้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า Green Economy คืออะไร? มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร? มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษกิจพร้อมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้จริงรือไม่? บทความนี้มีคำตอบ     Green Economy คืออะไร โดยนิยามที่ครอบคลุม Green Economy ที่สุด เป็นนิยามของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) ที่นิยามว่า “เศรษฐกิจสีเขียว” หรือ “Green Economy” คือ ระบบเศรษฐกิจที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการและยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น โดยลดการใช้ทรัพยากร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งยังคงคำนึงถึงหลักการและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน     Green Economy มีความสำคัญอย่างไร     เราคงรู้แล้วว่า Green Economy คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร แต่นอกจากที่ได้กล่าวไป เศรษฐกิจสีเขียวยังช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ... read more

Green Marketing อ่านต่อ

เจาะลึก Green Marketing กลยุทธ์ธุรกิจแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม

April 9, 2024

  ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบโจทย์แนวคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่าง “Green Marketing” มาใช้ในธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันอีกด้วย บทความนี้จะพาคุณมาเจาะลึกกันว่า Green Marketing คืออะไร? มีกลยุทธ์อย่างไรที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณ? พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจที่ทำ Green Marketing มาให้ศึกษาไปพร้อมกัน   ทำความรู้จัก Green Marketing คืออะไร     Green Marketing หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “การตลาดสีเขียว” เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาว โดยมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการจะลงทุนเพื่อวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การนำกลยุทธ์ Green Marketing มาใช้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้แบรนด์มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม     กลยุทธ์ 4P เพื่อการตลาดสีเขียว หนึ่งในกลยุทธ์ด้านธุรกิจที่หลายคนรู้จักอย่าง “4P Marketing Mix” หรือ “กลยุทธ์การตลาด 4P” เป็นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการที่ใช้วางแผนการตลาด เพื่อผลักดันสินค้าหรือบริการถูกใจผู้บริโภค ซึ่งแนวคิด Green Marketing ก็ได้นำกลยุทธ์... read more

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อ่านต่อ

5 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อัปเดท 2024

March 15, 2024

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนพบเจอ หากยังไม่มีการแก้ไขและหาทางออกให้กับปัญหานี้ นอกจากเกิดผลกระทบกับโลกแล้วยังเกิดผลกระทบกับประชากรโลกอย่างมนุษย์และสัตว์อีกด้วย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ถือเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่สามารถเริ่มได้ที่ตัวเราและองค์กรของเรา เริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ลดการใช้ทรัพยากรโดยสิ้นเปลืองได้เร็วเท่านั้น   บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่า 5 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง องค์กรของคุณสามารถดำเนินการได้โดยไม่ทำร้ายโลกและใช้พัฒนาได้ธุรกิจได้อย่างยั่งยืน มาศึกษาไปพร้อมกันเลย   5 เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   1.พลังงานทดแทน (Renewable Energy)     พลังงานทดแทน คือพลังงานสีเขียวที่ใช้แทนพลังงานจากน้ำมันและเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดไปในอนาคต เพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน โดยแหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นทางเลือกที่นิยมมากที่สุด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ และพลังงานน้ำ ซึ่งการหันมาใช้พลังงานทดแทนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการทำร้ายโลก ช่วยให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีขึ้นนั่นเอง   2.การประมวลผลระบบคลาวด์ (Cloud Computing)     หลายคนรู้จักกันดีกับการประมวลผลระบบคลาวด์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้รับความนิยม ตัวอย่างเช่น Google Workspace และ Microsoft 365 ข้อดีของคลาวด์ ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนการติดตั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สำหรับระบบเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องเสียค่าบำรุงระบบ ระบบคลาวด์สามารถใช้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมในเรื่องการติดต่อสื่อสาร   3.ระบบอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)     อาคารอัจฉริยะ เป็นระบบบริหารจัดการอาคารที่ได้รวมเอาเทคโนโลยีอาคารที่ล้ำสมัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพอาคารให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานได้ ทั้งระบบปรับอากาศภายในอาคาร การควบคุมอาคาร การจัดเก็บข้อมูล... read more

Carbon Neutral คือ อ่านต่อ

รู้จัก Carbon Neutral ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อลดการทำร้ายโลก

March 15, 2024

  หลายคนเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของอากาศในช่วงนี้ เช่น สภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนขึ้นกว่าปกติ ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ไปจนถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ยังไม่หมดไป ซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา หนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาที่ทั่วโลกและประเทศไทยกำลังทำอยู่นั่นคือ Carbon Neutral เพื่อบรรลุเป้า Net zero emissions ในอนาคต   บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่า Carbon Neutral คืออะไร? Carbon Neutral vs Net zero มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรกับโลกของเรา เรามาเจาะลึกไปพร้อม ๆ กันเลย     สาเหตุที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจกและก๊าซคาร์บอน     ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามายังโลก เพื่อรักษาให้อุณหภูมิบนโลกมีความสมดุลและเหมาะกับสิ่งมีชีวิต แต่ถ้ามีมากไปอาจส่งผลให้ชั้นบรรยากาศเสียสมดุลและเกิดผลกระทบต่อโลก เช่น ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีอันตรายส่องเข้ามายังโลกมากขึ้น, สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิโลกสูงขึ้น เป็นต้น     Carbon Neutral คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร Carbon neutrality หรือที่เรียกว่า... read more

Decarbonization อ่านต่อ

Decarbonization กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เป้าหมายสู่ความยั่งยืนในอนาคต

March 15, 2024

  จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรา ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยพยายามนำพลังงานทดแทนเข้ามาปรับใช้ในการผลิตไฟฟ้า พร้อมลดการใช้แหล่งพลังงานที่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ด้วยความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน จึงมีการเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคทำงานหนักขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน (Decarbonization) ได้ในเชิงรุกมากขึ้น   หลายคนอาจสงสัยว่า Decarbonization คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับโลกของเรา? บทความนี้เราได้สรุป Decarbonization ฉบับเข้าใจง่ายมาได้คุณได้ทำความรู้จักกัน   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากไหน     การเกิดขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน ทั้งกระบวนการผลิตไฟฟ้า กระบวนการคมนาคม รวมไปถึงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน     Decarbonization คืออะไร Decarbonization คือ กระบวนการลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมหรือลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลกในอัตรา 25% จึงทำให้มีบทบาทสำคัญในการเดินหน้าลดปริมาณคาร์บอนนั่นเอง     การจำกัดคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้อย่างไร     การกำจัดคาร์บอนเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้เป้าหมายการ Decarbonization บรรลุได้ เป็นทางเลือกที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เป็นหลักพื้นฐานในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งความท้าทายแรกของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้ยังมีประสิทธิภาพ นั่นคือการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นพลังงานสะอาดเข้ามาช่วยเพื่อลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   อีกหนึ่งความท้าทายสำหรับการ Decarbonization คือการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการคมนาคม และการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หากมีมาตรการที่ช่วยเข้ามาควบคุมและมีระเบียบวินัย จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน     สรุป Decarbonization   ขณะที่หลายหน่วยงานกำลังเร่งลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค และภาครัฐของแต่ละประเทศ ในฐานะประชากรของโลก... read more

พลังงานทดแทน มีอะไรบ้าง อ่านต่อ

พลังงานทดแทนคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างจากพลังงานสะอาดอย่างไร ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

March 15, 2024

  พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัย การคมนาคม การประกอบอาหาร การแพทย์ และสิ่งอื่น ๆ รอบตัวเราอีกมากมาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายิ่งมนุษย์มีความต้องการมากขึ้นเท่าไหร่ ก็มีการใช้พลังก็มากขึ้นเท่านั้น หากไปปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปโดยไม่แก้ไขอาจถึงวันที่เราไม่เหลือพลังงานให้ใช้เลยก็เป็นได้   ในปัจจุบันจึงมีการใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานที่กำลังจะหมดไป บทความนี้จากพาคุณมาทำความรู้จักไปพร้อมกันว่าพลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง? และพลังงานทดแทนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?   พลังงานทดแทนคืออะไร   พลังงานทดแทน คือ พลังที่ใช้แทนพลังงานจากน้ำมันและเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดไปในอนาคต และส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน พลังงานทดแทนจึงเป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและเกิดขึ้นต่อเนื่อง สามารถใช้ทดแทนพลังงานเดิมและช่วยลดปัญหามลพิษได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล เป็นต้น   พลังงานทดแทนมีหลักการทำงานอย่างไร     พลังงานทดแทนนำไปใช้ประโยชน์มีหลักการอยู่ 2 รูปแบบ นั่นคือ การนำไปใช้โดยตรง และการเปลี่ยนพลังงานให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างการนำพลังงานทดแทนไปใช้โดยตรง เช่น การล่องเรือโดยใช้แรงลม การถนอมอาหารด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น   ส่วนการเปลี่ยนพลังงานให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า ซึ่งในทางฟิสิกส์มีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานจลน์ พลังงานกล หรือพลังงานศักย์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นต้น โดยพลังงานทดแทนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พลังงานสิ้นเปลือง... read more