การบริหารจัดการ
ห่วงโซ่อุปทาน
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
แนวทางบริหารจัดการ
บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ตามหลักการกำกับดูแลที่ดี มุ่งเน้นการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าของบริษัทฯ ดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนของทางบริษัทฯ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการผลกระทบการดำเนินงานด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม, สังคม, อาชีวอนามัย และความปลอดภัย ส่งเสริมนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นการสนับสนุนหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจได้อย่างมั่นคงเพื่อสร้างความเติบโตและยั่งยืนไปด้วยกัน
- มุ่งมั่นบริหารห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพและสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพตามกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ
- ส่งมอบผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีคุณภาพ และตรงต่อเวลาให้แก่ลูกค้า
- ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)
นอกเหนือจากการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป - ดำเนินงานที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้
จรรยาบรรณคู่ค้าและการทำงานคู่ค้า
บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิบัติตามบรรษัทภิบาล สิทธิมนุยชน สังคมและสิ่งแวดล้อม มีเจตนารมณ์ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน บริษัทฯ จึงได้กำหนดและจัดทำจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ มุ่งหวังที่จะให้คู่ค้าของบริษัทฯ ปฎิบัติและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมรวมถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีจริยธรรม
การวิเคราะห์คู่ค้ารายสำคัญ
บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มุ่งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ส่งเสริมประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการทำงานร่วมกับคู่ค้าที่มีความสำคัญ โดยในปี 2566 นี้ ทางบริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดลำดับกลุ่มคู่ค้าที่มีความสำคัญต่อบริษัทฯ โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณา เป็น 2 ประเภทดังนี้
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566
การสนับสนุนเข้าร่วมเครือข่ายในการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น
บริษัทฯ ได้แสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมเป็น “แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่นของภาคเอกชนไทย” (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) ซึ่งสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของบริษัทในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล มีการกำกับดูแลกิจการให้มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและยึดหลักคุณธรรม รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างที่สุดกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯ ส่งหนังสือเชิญให้คู่ค้าเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) พร้อมทั้งเผยแพร่จรรยาบรรณธุรกิจ และแนวปฏิบัติในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
การประเมินด้านความยั่งยืนและการดำเนินการของคู่ค้า
บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้า ทำการประเมินความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของคู่ค้าที่มีความสำคัญ ด้วยการ ตอบแบบสอบถาม ตรวจประเมินคู่ค้า ESG (Self-Assessment Questionnaire) เพื่อเข้าสู่กระบวนการด้านบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทฯ ภายใต้ประเด็นด้านธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยมีการประเมินตามลำดับความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนด มีแนวทางจัดการคู่ค้าแต่ละรายตามระดับความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ตามแนวปฏิบัติ
ผลประเมินความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม ของคู่ค้าโดยภาพรวม
จากผลคะแนนรวมประเด็นความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาลเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG พบว่าคู่ค้ารายสำคัญของบริษัทฯ มีการดำเนินงานตามมาตรฐานที่ดี
- มีความเสี่ยงน้อยมาก (ระดับA) จำนวน 20 ราย
- มีความเสี่ยงน้อย (ระดับB) จำนวน 4 ราย
เมื่อแบ่งเป็นความเสี่ยงในแต่ละด้าน มีผลการประเมินความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปโดยมีดังนี้
– ผลการประเมินความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
- ระดับ A ความเสี่ยงน้อยมาก จำนวน 19 ราย
- ระดับ B ความเสี่ยงน้อย จำนวน 5 ราย
– ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสังคม
- ระดับ A ความเสี่ยงน้อยมาก จำนวน 19 ราย
- ระดับ B ความเสี่ยงน้อย จำนวน 4 ราย
- ระดับ C ความเสี่ยงปานกลาง จำนวน 1ราย
– ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
- ระดับ A ความเสี่ยงน้อยมาก จำนวน 15 ราย
- ระดับ B ความเสี่ยงน้อย จำนวน 4 ราย
- ระดับ C ความเสี่ยงปานกลาง จำนวน 2 ราย
- ระดับ D ความเสี่ยงสูง จำนวน 3 ราย
บริษัทฯ มีข้อเสนอแนะ/มาตรการแก้ไข เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของคู่ค้าในการจัดการความเสี่ยงในแต่ละประเด็นดังนี้
การคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่
(New Approved Vendor)
ในการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ บริษัทฯ ได้คำนึงถึงระบบถึงการบริหารจัดการคู่ค้ารายใหม่ที่ยั่งยืน เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการลดความเสี่ยงในระยะยาว โดยการขึ้นทะเบียนคู่ค้ารายใหม่นอกจากจะทำการกรอกแบบฟอร์มมาตรฐานขึ้นทะเบียนคู่ค้าของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ ได้นำเกณฑ์ด้าน ESG (Self-Assessment Questionnaire) ให้ทางคู่ค้าได้ประเมินความเสี่ยงก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทั้งสินค้า และบริการจากคู่ค้าทุกราย เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าจะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีจริยธ รรม
ปี 2566 ได้มีการคัดเลือกคู่ค้ารายสำคัญรายใหม่ที่ได้รับการประเมิน ESG
(Self-Assessment Questionnaire) มีจำนวน 7 ราย
การประเมิน ESG (Self-Assessment Questionnaire) สำหรับคู่ค้ารายใหม่ ตามแนวปฏิบัติการบริหารจัดหารห่วงโซ่อุปทานจะเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี 2567 เป็นต้นไป โดยคู่ค้ารายใหม่จะต้องผ่านการประเมินทุกราย รวมถึงรับทราบจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า Ditto ก่อนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
ผลการตรวจประเมินคู่ค้าในสถานที่ปฏิบัติงาน (On-site ESG Audit) ในรอบปี
บริษัทฯ ได้มีการจัดทำเกณฑ์การตรวจประเมินคู่ค้าในสถานที่ปฏิบัติงาน ตามแนวปฏิบัติการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในปี 2566 เป็นปีแรกในการจัดทำเกณฑ์การตรวจประเมิน ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์การตรวจประเมินคู่ค้าในสถานที่ปฏิบัติงาน ดังนั้นในปี 2566 จึงยังมิได้มีการประเมินคู่ค้าในสถานที่ปฏิบัติงาน
นโยบายและระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term)
บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกรายด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฎิบัติตามเงื่อนไขและสัญญาอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความเชื่อมั้นต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ ทั้งนี้ได้กำหนดระยะเวลาชำระเงินให้แก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรม บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสภาพคล่องและการบริหารจัดการวงจรเงินสดเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยบริษัทฯ มีนโยบายเพื่อกำหนดระยะเวลา Credit Term ภายใน 7-60 วัน ข้อมูลระยะเวลาการให้ Credit Term ของบริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตามงบการเงินมีรายละเอียดดังนี้
จากตารางสรุปข้างต้น Credit Term 30วัน มีระยะเวลาชำระที่เกินกำหนด 9 วัน เนื่องจากทางคู่ค้ามีการวางบิลที่เกินระยะเวลาที่ไม่เป็นไปตามกำหนด ซึ่งบริษัทฯ มีกำหนดระยะเวลาวางบิล นัดรับเช็คและโอนเงิน ประจำปี2566 โดยประกาศให้ทราบ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ทำให้ระยะเวลาที่ได้รับชำระเงินเกินกว่าที่กำหนดไว้
นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
-
นโยบาย และแนวปฏิบัติการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน