NEWS & ARTICLES

RPA และ AI แตกต่างกันอย่างไร อ่านต่อ

RPA และ AI แตกต่างกันอย่างไร สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

March 24, 2025

  ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะเห็นได้ว่า Digital Technology ค่อนข้างจะเข้ามามีบทความในการทำงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยี RPA และ AI ทั้ง 2 ระบบนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนให้องค์กรธุรกิจ แต่หลายคนยังสับสนว่า ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรและสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของ RPA และ AI พร้อมวิเคราะห์ศักยภาพการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับกระบวนการทำงานขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   ทำความรู้จักกับ RPA  RPA หรือ Robotic Process Automation เป็นเทคโนโลยีซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ในกระบวนการที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยจะเปรียบเสมือนหุ่นยนต์ดิจิทัลที่จำลองการทำงานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนที่มนุษย์ทำ เช่น การคลิก การป้อนข้อมูลหรือการคัดลอกข้อมูลระหว่างระบบ ช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานสามารถไปโฟกัสกับงานที่มีความซับซ้อนหรืองานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่า อย่างเช่น การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือการบริการลูกค้า เป็นต้น   แล้ว AI คืออะไร  AI หรือ Artificial Intelligence คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบมาให้มีความสามารถในการเลียนแบบสติปัญญาของมนุษย์ ด้วยการรวบรวมเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อสร้างระบบที่สามารถคิด เรียนรู้และตัดสินใจได้คล้ายมนุษย์ ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากผ่านอัลกอริธึมขั้นสูง และพัฒนาตัวเองจากการเรียนรู้ข้อมูลใหม่... read more

ระบบ Paperless ขององค์กรยุคใหม่ อ่านต่อ

แนวทางรณรงค์ลดการใช้กระดาษ พลิกโฉมองค์กรยุคใหม่สู่ Paperless เต็มรูปแบบ

March 24, 2025

  ปัจจุบัน แนวทางการรณรงค์ลดการใช้กระดาษกลายเป็นเทรนด์สำคัญสำหรับหลาย ๆ องค์กรที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Digital Transformation ทั้งนี้การลดใช้กระดาษไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานและภาพลักษณ์ขององค์กร หลายบริษัทชั้นนำทั่วโลกกำลังมุ่งสู่การเป็นออฟฟิศ Paperless อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การลดการใช้กระดาษจึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการปฏิวัติระบบการทำงานและปรับองค์กรให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัล    3 วิธีลดการใช้กระดาษ    อย่างไรก็ตาม การลดการใช้กระดาษในองค์กรจำเป็นต้องอาศัยแนวทางที่เป็นระบบและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพื่อช่วยให้การรณรงค์ลดการใช้กระดาษเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีวิธีดังนี้   1. ใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น  การรณรงค์ลดการใช้กระดาษโดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ องค์กรควรวิเคราะห์และคัดกรองเอกสารที่ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา โดยเริ่มจากการแปลงเอกสารที่ไม่สำคัญให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บันทึกข้อความภายใน รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้ ควรปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้พนักงานได้ปรับตัวและเรียนรู้ระบบใหม่ ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงการสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการลดการใช้กระดาษ โดยรณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงผลกระทบของการใช้กระดาษฟุ่มเฟือยต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนขององค์กรด้วย   2. ใช้กระดาษรีไซเคิล จัดวางจุดรวบรวมกระดาษใช้แล้วไว้ในบริเวณที่เข้าถึงง่าย เช่น ข้างเครื่องถ่ายเอกสารหรือในพื้นที่ส่วนกลาง พร้อมทั้งติดป้ายแนะนำวิธีการใช้งานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ควรมีการแยกประเภทของกระดาษรีไซเคิล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล กระดาษที่มีข้อมูลสำคัญหรือเป็นความลับขององค์กรไม่ควรนำมาใช้ซ้ำในงานที่อาจเกิดการรั่วไหลของข้อมูลได้     3. ใช้ระบบจัดเก็บและจัดการเอกสาร การรณรงค์ลดการใช้กระดาษให้ได้ผลอย่างยั่งยืนต้องอาศัยระบบจัดการเอกสารที่มีประสิทธิภาพ ระบบ Enterprise Content Management (ECM) และระบบ Document Management System (DMS) จาก... read more

Digital Technology คืออะไร อ่านต่อ

Digital Technology คืออะไร ช่วยผลักดันธุรกิจของคุณให้เติบโตเหนือกว่าคู่แข่ง

March 24, 2025

  ปัจจุบันโลกได้พัฒนาจนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยการนำ Digital Technology มาประยุกต์ใช้ในการทำงานถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ธุรกิจที่ปรับตัวช้าหรือไม่ยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็มักจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ในขณะที่องค์กรที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างชาญฉลาดกลับได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนลงหรือเป็นสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่า Digital Technology คืออะไร และประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลว่าจะช่วยผลักดันธุรกิจของคุณให้ก้าวหน้าเหนือคู่แข่งได้อย่างไร     Digital Technology คืออะไร Digital Technology คือการรวมกันของอุปกรณ์ ระบบและทรัพยากรดิจิทัลที่ช่วยในการสร้าง จัดเก็บ ประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ธุรกิจนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานและการให้บริการลูกค้า เช่น การใช้ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) หรือระบบจัดการเอกสารที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Green Technology ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน     Digital Technology มีความสำคัญอย่างไร โลกเรากำลังก้าวเข้าสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น เทคโนโลยีดิจิทัลจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้... read more

Objectives and Key Results อ่านต่อ

OKR คืออะไร กุญแจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

March 4, 2025

  ในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนความสำเร็จ ซึ่งระบบ OKR (Objectives and Key Results) ถือเป็นหนึ่งในระบบการบริหารผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากบริษัทชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Google, Intel, LinkedIn หรือแม้แต่ Netflix ต่างนำระบบนี้มาใช้เพื่อผลักดันการเติบโตขององค์กรเช่นกัน   ดังนั้น วันนี้ DITTO จะพาคุณไปทำความรู้จักกันว่า OKR คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร พร้อมวิธีการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กรคุณสู่ความสำเร็จให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่สู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดด     OKR คืออะไร    OKR คือระบบการตั้งเป้าหมายและวัดผลที่มีประสิทธิภาพ โดยย่อมาจาก Objectives and Key Results ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางและผลักดันองค์กรสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่   Objectives (O) คือเป้าหมายหลักที่องค์กรหรือทีมต้องการบรรลุ มักเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและสร้างแรงบันดาลใจ ตอบคำถามว่า "เราต้องการทำอะไรให้สำเร็จ?" ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ก็จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกมุ่งมั่นอยากที่จะทำงานมากขึ้น  Key Results (KR)... read more

การวิเคราะห์ข้อมูล อ่านต่อ

การวิเคราะห์ข้อมูลคืออะไร มีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

February 28, 2025

    ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลมหาศาลถูกสร้างขึ้นทุกวัน การวิเคราะห์ข้อมูลจึงกลายเป็นทักษะสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ต้องมี เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ โดยเฉพาะข้อมูลจาก Big Data ที่สามารถนำข้อมูลตรงนี้มาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมลูกค้า คาดการณ์แนวโน้มตลาดไปจนถึงการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ล้วนอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นพื้นฐาน ดังนั้นในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการวิเคราะห์ข้อมูล มีอะไรบ้าง รวมไปถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ   การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คืออะไร   การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คือกระบวนการนำข้อมูลมาเรียบเรียง จัดกลุ่ม แยกประเภทชุดข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลแต่ละชุดในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight) หรือข้อสรุป (Conclusion) ที่มีประโยชน์ การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ ค้นหาสาเหตุของปัญหาและช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในแง่มุมของธุรกิจและการตลาด จนเกิดเป็นวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือ Data Science และการใช้ Big Data เพื่อให้องค์กรได้องค์ความรู้มาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน   การวิเคราะห์ข้อมูล มีอะไรบ้าง   การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก แต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์และวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้    1. Descriptive Analysis Descriptive... read more

จัดเทรนนิงสอนงานให้แก่คนในทีม อ่านต่อ

Knowledge Management คืออะไร ช่วยจัดการองค์ความรู้ได้อย่างไร

February 7, 2025

  การเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital Transformation อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวลาเดินไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นการจัดการองค์ความรู้ หรือ Knowledge Management จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวม จัดเก็บ และถ่ายทอดความรู้ที่มีค่าจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จากฐานความรู้ที่มีอยู่ มาทำความเข้าใจกันว่า Knowledge Management คืออะไร และมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ในบทความนี้กัน       Knowledge Management คืออะไร Knowledge Management หรือการจัดการองค์ความรู้ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กร ครอบคลุมตั้งแต่การระบุ การจัดเก็บ การประเมิน การเข้าถึง และการแบ่งปันความรู้ทั่วทั้งองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งไม่เพียงแต่จัดการกับข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลทั่วไป ดังนั้นการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร นำไปสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องได้   Knowledge Management มีกี่ประเภทอะไรบ้าง    การจัดการองค์ความรู้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่    1. Explicit knowledge Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถเห็นและจับต้องได้ มีความชัดเจนและสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเอกสาร คู่มือหรือสื่อดิจิทัลต่าง... read more

อ่านต่อ

มาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง? ช่วยยกระดับองค์กร เพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจได้อย่างไร

February 7, 2025

  ในโลกธุรกิจปัจจุบัน การสร้างความน่าเชื่อถือและการรับรองคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่องค์กรทั่วโลกใช้ เพื่อยกระดับการดำเนินงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับมาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง ไปจนถึงประโยชน์ที่จะได้รับเลย   ISO คืออะไร ISO หรือ International Organization for Standardization คือองค์กรระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐานสากลสำหรับการดำเนินธุรกิจและองค์กร ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อพัฒนาคุณภาพขององค์กรและเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมาตรฐานนี้เปรียบเสมือนเครื่องมือวัดมาตรฐานกลางที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเทียบเคียงและพัฒนาคุณภาพได้อย่างเป็นระบบ ISO ไม่ได้สังกัดรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นองค์กรอิสระที่มีสมาชิกจากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก     ในการรักษามาตรฐาน ISO ให้มีประสิทธิภาพนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีระบบจัดการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะระบบจัดการเอกสาร (DMS) ที่เป็นหัวใจสำคัญ ช่วยควบคุมการจัดเก็บ การเข้าถึงและการติดตามเอกสารสำคัญขององค์กร พร้อมทั้งมีระบบ Workflow ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด   มาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง มาตรฐาน ISO มีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทมีจุดเน้นและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมและองค์กร มาทำความรู้จักกับมาตรฐาน... read more

Big Data Analytics คืออะไร ช่วยให้ต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้จริงไหม อ่านต่อ

Big Data Analytics คืออะไร ช่วยให้ต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้จริงไหม

January 9, 2025

  ในยุคที่ Digital Transformation กำลังเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจ Big Data Analytics คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกนำมาใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจ การใช้ระบบการจัดการเอกสาร ร่วมกับ Big Data Analytics จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น    Big Data Analytics คืออะไร  Big Data Analytics คือกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนำ automation มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลช่วยให้องค์กรสามารถค้นพบรูปแบบ แนวโน้ม และความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวิเคราะห์    Big Data Analytics มีความสำคัญอย่างไร  ด้วยการเติบโตของข้อมูลดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว Big Data Analytics คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ Business Process Outsourcing (BPO) ร่วมกับระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การพัฒนาโซลูชันและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด    ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data Analytics  การวิเคราะห์ Big Data ที่มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ... read more

ใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบวางบิล (Billing Note) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร อ่านต่อ

ใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบวางบิล (Billing Note) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

January 9, 2025

  ในการทำธุรกิจ เอกสารทางการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ โดยเฉพาะใบแจ้งหนี้และใบวางบิล ซึ่งเป็นเอกสารที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การเข้าใจความแตกต่างและการใช้งานที่ถูกต้องจะช่วยให้การบริหารจัดการการเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้เราจะพาคุณไปดูว่า ใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบวางบิล (Billing Note) แตกต่างกันอย่างไร   ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คืออะไร  ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารสำคัญทางการค้าที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อหลังจากส่งมอบสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว เพื่อเรียกเก็บเงินตามมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในการออกใบแจ้งหนี้ช่วยให้กระบวนการทำงานรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยในใบแจ้งหนี้จะมีการระบุรายละเอียดสำคัญ เช่น รายการสินค้า จำนวนเงิน และเงื่อนไขการชำระเงิน พร้อมทั้งลายเซ็นของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อยืนยันความถูกต้อง  ใบวางบิล (Billing Note) คืออะไร ใบวางบิลเป็นเอกสารที่ใช้ในการแจ้งยอดค้างชำระและกำหนดการชำระเงิน ซึ่งการนำระบบ automation มาใช้ในการออกใบวางบิลช่วยลดขั้นตอนการทำงานและความผิดพลาด โดยเฉพาะองค์กรที่มีการทำธุรกรรมจำนวนมาก ใบวางบิลมักใช้ในกรณีที่มีการรวบรวมยอดค้างชำระจากใบแจ้งหนี้หลายฉบับ หรือใช้แจ้งกำหนดการชำระเงินตามรอบระยะเวลาที่ตกลงกัน    ใบแจ้งหนี้ กับใบวางบิล ต่างกันอย่างไร  การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการการเงินขององค์กร     ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารที่ออกทันทีหลังการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ซึ่งปัจจุบันหลายองค์กรได้นำ Digital Signature มาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของเอกสาร โดยในใบแจ้งหนี้จะระบุรายละเอียดการซื้อขายที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นๆ เพียงรายการเดียว และสามารถใช้เป็นหลักฐานทางการเงินและภาษีได้    ใบวางบิล (Billing Note)  ใบวางบิลมักออกตามรอบการวางบิลที่กำหนด โดยการใช้บริการ business process outsourcing... read more

Workflow Management System คืออะไร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ อ่านต่อ

Workflow Management System คืออะไร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

January 9, 2025

  รูปแบบการทำงานในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป Workflow Management System จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความซับซ้อนของกระบวนการต่าง ๆ จัดระเบียบการทำงานให้เป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในองค์กรสมัยใหม่เป็นอย่างมาก    Workflow Management System คืออะไร  Workflow Management System คือระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดการและควบคุมกระบวนการทำงานทั้งหมดในองค์กรให้เป็นระบบอัตโนมัติ โดยระบบจะช่วยกำหนดลำดับขั้นตอน จัดการเอกสารและประสานงานระหว่างบุคคลหรือทีมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น    ประเภทของ Workflow Management System  Workflow Management System สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะการทำงานและการใช้งาน ดังนี้     Sequential workflows  Sequential workflows เป็นรูปแบบการทำงานที่เรียงลำดับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยแต่ละขั้นตอนจะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนถัดไปได้ การทำงานในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำและการควบคุมที่เข้มงวด เช่น การอนุมัติเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์  Parallel workflows  Parallel workflows เป็นการทำงานที่สามารถดำเนินการหลายขั้นตอนพร้อมกันได้ Workflow Management System ประเภทนี้ช่วยให้ทีมต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องรอให้ขั้นตอนก่อนหน้าเสร็จสมบูรณ์ เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการความรวดเร็วและมีทีมงานหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง     Rules-Driven Workflow Rules-Driven... read more

Workflow Automation คืออะไร นำไปต่อยอดธุรกิจ พัฒนาองค์ได้อย่างไร อ่านต่อ

Workflow Automation คืออะไร นำไปต่อยอดธุรกิจ พัฒนาองค์ได้อย่างไร

January 9, 2025

  หากคุณกำลังมองหาวิธีจัดการงานเอกสารและกระบวนการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Workflow Automation อาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังตามหา ระบบนี้ไม่เพียงช่วยจัดการขั้นตอนการทำงานง่ายและสะดวกขึ้นเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน ประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Workflow Automation และวิธีการนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรของคุณกัน     Workflow Automation คืออะไร Workflow Automation คือระบบที่ช่วยให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรสามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ โดยอาศัยการตั้งค่ากฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า ระบบจะทำงานตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยไม่จำเป็นต้องมีการแทรกแซงจากพนักงาน ตั้งแต่ระบบจัดเก็บเอกสาร รวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ไปจนถึงการส่งต่อข้อมูลไปยังระบบหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันกับระบบ Automation ทำให้การทำงานมีความรวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น    Workflow Automation มีกี่ประเภท อะไรบ้าง  Workflow Automation สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตามลักษณะการทำงานและการนำไปใช้งาน ได้แก่     Business Process Workflow (BPM) Business Process Workflow หรือ BPM เป็นการนำ Workflow Automation มาใช้ในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้า... read more

SaaS คืออะไร ทำไมหลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาให้ความสนใจกัน อ่านต่อ

SaaS คืออะไร ทำไมหลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาให้ความสนใจกัน

January 9, 2025

  หลายธุรกิจในปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสนใจกับระบบ SaaS (Software as a Service) มากขึ้น เพราะปัญหาการบริหารจัดการซอฟต์แวร์แบบเดิมที่มักมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และต้องมีทีมไอทีคอยดูแลระบบตลอดเวลา SaaS จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจด้วยรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ ที่ช่วยประหยัดต้นทุน ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบ และสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับระบบนี้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งข้อดีและประโยชน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง    SaaS คืออะไร  SaaS หรือ Software as a Service คือรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ Microsoft Office 365, Google Workspace หรือ Adobe Creative Cloud Express ซึ่งเป็นบริการที่คิดค่าใช้จ่ายในรูปแบบการเช่าใช้รายเดือนหรือรายปี แทนการซื้อขาดเหมือนซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิม    SaaS มีความสำคัญอย่างไรต่อองค์กร  ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น ระบบ SaaS ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ด้วยการไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เช่น เซิร์ฟเวอร์หรือฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ องค์กรสามารถประหยัดทั้งเงินลงทุนและทรัพยากรบุคคลในการดูแลระบบ... read more

trang cá cược bóng đá uy tín