ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะเห็นได้ว่า Digital Technology ค่อนข้างจะเข้ามามีบทความในการทำงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยี RPA และ AI ทั้ง 2 ระบบนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนให้องค์กรธุรกิจ แต่หลายคนยังสับสนว่า ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรและสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของ RPA และ AI พร้อมวิเคราะห์ศักยภาพการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับกระบวนการทำงานขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทำความรู้จักกับ RPA
RPA หรือ Robotic Process Automation เป็นเทคโนโลยีซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ในกระบวนการที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยจะเปรียบเสมือนหุ่นยนต์ดิจิทัลที่จำลองการทำงานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนที่มนุษย์ทำ เช่น การคลิก การป้อนข้อมูลหรือการคัดลอกข้อมูลระหว่างระบบ ช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานสามารถไปโฟกัสกับงานที่มีความซับซ้อนหรืองานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่า อย่างเช่น การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือการบริการลูกค้า เป็นต้น
แล้ว AI คืออะไร
AI หรือ Artificial Intelligence คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบมาให้มีความสามารถในการเลียนแบบสติปัญญาของมนุษย์ ด้วยการรวบรวมเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อสร้างระบบที่สามารถคิด เรียนรู้และตัดสินใจได้คล้ายมนุษย์ ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากผ่านอัลกอริธึมขั้นสูง และพัฒนาตัวเองจากการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทำให้มีศักยภาพในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างการนำ AI มาใช้ เช่น ระบบแชทบอตอัจฉริยะ การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า การคาดการณ์แนวโน้มทางธุรกิจ เป็นต้น
RPA และ AI มีความแตกต่างกันอย่างไร
แม้ว่าทั้ง RPA และ AI จะเป็นเทคโนโลยีอัตโนมัติที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันหลายประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการเรียนรู้
เทคโนโลยี RPA และ AI มีความแตกต่างอย่างชัดเจนในด้านความสามารถการเรียนรู้ โดย RPA เป็นเพียงเครื่องมือที่ทำงานตามคำสั่งและเงื่อนไขที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า ไม่มีความสามารถในการเรียนรู้หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตัวเอง เมื่อเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาปรับแต่งระบบใหม่
ในทางตรงกันข้าม AI มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากข้อมูลใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำงานได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องมีการตั้งค่าใหม่จากมนุษย์ทุกครั้ง
2. ความซับซ้อนของงาน
เทคโนโลยี RPA และ AI มีขีดความสามารถที่แตกต่างกันในการจัดการกับความซับซ้อนของงาน โดย RPA เหมาะกับการทำงานที่มีรูปแบบและขั้นตอนชัดเจน มีโครงสร้างที่แน่นอน เช่น การบันทึกข้อมูลลงระบบ การตรวจสอบเอกสาร หรือการจัดการรายงาน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับมือกับงานที่ต้องใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินใจที่ซับซ้อน
ในขณะที่ AI มีความสามารถในการวิเคราะห์และตัดสินใจในงานที่มีความซับซ้อนสูง สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากเพื่อหาแนวโน้มหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่และใช้ในการตัดสินใจที่ต้องอาศัยการพิจารณาปัจจัยหลายด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
ความแตกต่างสำคัญอีกสิ่งอย่างของเทคโนโลยี RPA และ AI คือการจัดการข้อมูล (Data Management) โดย RPA ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ตารางข้อมูล ฐานข้อมูลหรือไฟล์ Excel ที่มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่แน่นอน หากข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ RPA จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง
แต่เทคโนโลยี AI จะมีความสามารถในการประมวลผลทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้างและข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอหรือเสียง ซึ่งทำให้ AI สามารถดึงข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้
4. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน
ระบบ RPA มีข้อจำกัดด้านความยืดหยุ่น เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ทำงานในสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานหรือการปรับโครงสร้างองค์กร จำเป็นต้องมีการปรับแต่งหรือเขียนโปรแกรม RPA ใหม่ทั้งหมด
ในขณะที่ AI มีความยืดหยุ่นสูงกว่ามาก สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและข้อมูลใหม่ ๆ ได้โดยอัตโนมัติ ทำให้องค์กรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและลดภาระในการปรับแต่งระบบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
สามารถใช้งาน RPA ร่วมกับ AI ได้หรือไม่
เทคโนโลยี RPA และ AI สามารถนำมาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการผสมผสานความสามารถของทั้งสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เรียกว่า Intelligent Automation หรือ Cognitive Automation ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตของงานที่สามารถทำได้ให้กว้างขึ้น โดย AI จะเสริมความสามารถให้กับ RPA ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตัดสินใจและการเรียนรู้จากประสบการณ์ ในขณะที่ RPA จะช่วยให้ AI สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างการนำมาใช้ร่วมกัน เช่น การใช้ AI วิเคราะห์เอกสารที่มีรูปแบบหลากหลาย แล้วส่งผลลัพธ์ให้ RPA นำไปประมวลผลต่อในระบบต่าง ๆ หรือการใช้ AI เรียนรู้รูปแบบการทำงานและปรับปรุงกระบวนการทำงานของ RPA ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Ditto พร้อมช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยระบบ RPA (Robotic Process Automation) ที่สามารถทำงานร่วมกับ AI ได้อย่างลงตัว รองรับการทำงานที่ซับซ้อนและช่วยเพิ่มความแม่นยำของกระบวนการอัตโนมัติได้อย่างแน่นอน
สรุปบทความ
เทคโนโลยี RPA และ AI แม้จะมีความแตกต่างกันในหลายด้าน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ RPA เหมาะกับงานที่มีรูปแบบชัดเจนและทำซ้ำ ๆ ในขณะที่ AI เหมาะกับงานที่ต้องการความฉลาดและความสามารถในการเรียนรู้ การผสมผสานทั้งสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกันจะช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด
โดยสามารถอัตโนมัติกระบวนการทำงานได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Ditto ช่วยยกรระดับองค์กรของคุณ ให้เข้าสู่ยุค Digital Transformation ได้ พร้อมระบบ RPA เพิ่มความแม่นยำในกระบวนการทำงาน ลดข้อผิดพลาดและยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบ ECM และระบบ DMS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถจัดการ ค้นหาและส่งต่อเอกสาร ทั้งยังช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด