ข่าวสารและบทความ

RPA และ AI แตกต่างกันอย่างไร สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้หรือไม่
มีนาคม 24, 2025
ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะเห็นได้ว่า Digital Technology ค่อนข้างจะเข้ามามีบทความในการทำงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยี RPA และ AI ทั้ง 2 ระบบนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนให้องค์กรธุรกิจ แต่หลายคนยังสับสนว่า ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรและสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของ RPA และ AI พร้อมวิเคราะห์ศักยภาพการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับกระบวนการทำงานขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำความรู้จักกับ RPA RPA หรือ Robotic Process Automation เป็นเทคโนโลยีซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ในกระบวนการที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยจะเปรียบเสมือนหุ่นยนต์ดิจิทัลที่จำลองการทำงานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนที่มนุษย์ทำ เช่น การคลิก การป้อนข้อมูลหรือการคัดลอกข้อมูลระหว่างระบบ ช่วยลดข้อผิดพลาดจากการทำงานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานสามารถไปโฟกัสกับงานที่มีความซับซ้อนหรืองานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่า อย่างเช่น การวางแผนกลยุทธ์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือการบริการลูกค้า เป็นต้น แล้ว AI คืออะไร AI หรือ Artificial Intelligence คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ออกแบบมาให้มีความสามารถในการเลียนแบบสติปัญญาของมนุษย์ ด้วยการรวบรวมเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อสร้างระบบที่สามารถคิด เรียนรู้และตัดสินใจได้คล้ายมนุษย์ ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากผ่านอัลกอริธึมขั้นสูง และพัฒนาตัวเองจากการเรียนรู้ข้อมูลใหม่... read more

แนวทางรณรงค์ลดการใช้กระดาษ พลิกโฉมองค์กรยุคใหม่สู่ Paperless เต็มรูปแบบ
มีนาคม 24, 2025
ปัจจุบัน แนวทางการรณรงค์ลดการใช้กระดาษกลายเป็นเทรนด์สำคัญสำหรับหลาย ๆ องค์กรที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Digital Transformation ทั้งนี้การลดใช้กระดาษไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานและภาพลักษณ์ขององค์กร หลายบริษัทชั้นนำทั่วโลกกำลังมุ่งสู่การเป็นออฟฟิศ Paperless อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การลดการใช้กระดาษจึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการปฏิวัติระบบการทำงานและปรับองค์กรให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัล 3 วิธีลดการใช้กระดาษ อย่างไรก็ตาม การลดการใช้กระดาษในองค์กรจำเป็นต้องอาศัยแนวทางที่เป็นระบบและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพื่อช่วยให้การรณรงค์ลดการใช้กระดาษเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีวิธีดังนี้ 1. ใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น การรณรงค์ลดการใช้กระดาษโดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ องค์กรควรวิเคราะห์และคัดกรองเอกสารที่ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา โดยเริ่มจากการแปลงเอกสารที่ไม่สำคัญให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บันทึกข้อความภายใน รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้ ควรปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้พนักงานได้ปรับตัวและเรียนรู้ระบบใหม่ ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงการสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการลดการใช้กระดาษ โดยรณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงผลกระทบของการใช้กระดาษฟุ่มเฟือยต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนขององค์กรด้วย 2. ใช้กระดาษรีไซเคิล จัดวางจุดรวบรวมกระดาษใช้แล้วไว้ในบริเวณที่เข้าถึงง่าย เช่น ข้างเครื่องถ่ายเอกสารหรือในพื้นที่ส่วนกลาง พร้อมทั้งติดป้ายแนะนำวิธีการใช้งานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ควรมีการแยกประเภทของกระดาษรีไซเคิล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล กระดาษที่มีข้อมูลสำคัญหรือเป็นความลับขององค์กรไม่ควรนำมาใช้ซ้ำในงานที่อาจเกิดการรั่วไหลของข้อมูลได้ 3. ใช้ระบบจัดเก็บและจัดการเอกสาร การรณรงค์ลดการใช้กระดาษให้ได้ผลอย่างยั่งยืนต้องอาศัยระบบจัดการเอกสารที่มีประสิทธิภาพ ระบบ Enterprise Content Management (ECM) และระบบ Document Management System (DMS) จาก... read more

Digital Technology คืออะไร ช่วยผลักดันธุรกิจของคุณให้เติบโตเหนือกว่าคู่แข่ง
มีนาคม 24, 2025
ปัจจุบันโลกได้พัฒนาจนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยการนำ Digital Technology มาประยุกต์ใช้ในการทำงานถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ธุรกิจที่ปรับตัวช้าหรือไม่ยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็มักจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ในขณะที่องค์กรที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างชาญฉลาดกลับได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดต้นทุนลงหรือเป็นสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่า Digital Technology คืออะไร และประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลว่าจะช่วยผลักดันธุรกิจของคุณให้ก้าวหน้าเหนือคู่แข่งได้อย่างไร Digital Technology คืออะไร Digital Technology คือการรวมกันของอุปกรณ์ ระบบและทรัพยากรดิจิทัลที่ช่วยในการสร้าง จัดเก็บ ประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ธุรกิจนำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานและการให้บริการลูกค้า เช่น การใช้ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) หรือระบบจัดการเอกสารที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Green Technology ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน Digital Technology มีความสำคัญอย่างไร โลกเรากำลังก้าวเข้าสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น เทคโนโลยีดิจิทัลจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้... read more

OKR คืออะไร กุญแจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
มีนาคม 4, 2025
ในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนความสำเร็จ ซึ่งระบบ OKR (Objectives and Key Results) ถือเป็นหนึ่งในระบบการบริหารผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากบริษัทชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Google, Intel, LinkedIn หรือแม้แต่ Netflix ต่างนำระบบนี้มาใช้เพื่อผลักดันการเติบโตขององค์กรเช่นกัน ดังนั้น วันนี้ DITTO จะพาคุณไปทำความรู้จักกันว่า OKR คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร พร้อมวิธีการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพขององค์กรคุณสู่ความสำเร็จให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่สู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดด OKR คืออะไร OKR คือระบบการตั้งเป้าหมายและวัดผลที่มีประสิทธิภาพ โดยย่อมาจาก Objectives and Key Results ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางและผลักดันองค์กรสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ Objectives (O) คือเป้าหมายหลักที่องค์กรหรือทีมต้องการบรรลุ มักเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและสร้างแรงบันดาลใจ ตอบคำถามว่า "เราต้องการทำอะไรให้สำเร็จ?" ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ก็จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกมุ่งมั่นอยากที่จะทำงานมากขึ้น Key Results (KR)... read more

การวิเคราะห์ข้อมูลคืออะไร มีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
กุมภาพันธ์ 28, 2025
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลมหาศาลถูกสร้างขึ้นทุกวัน การวิเคราะห์ข้อมูลจึงกลายเป็นทักษะสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ต้องมี เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ โดยเฉพาะข้อมูลจาก Big Data ที่สามารถนำข้อมูลตรงนี้มาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมลูกค้า คาดการณ์แนวโน้มตลาดไปจนถึงการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ล้วนอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นพื้นฐาน ดังนั้นในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการวิเคราะห์ข้อมูล มีอะไรบ้าง รวมไปถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คืออะไร การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คือกระบวนการนำข้อมูลมาเรียบเรียง จัดกลุ่ม แยกประเภทชุดข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลแต่ละชุดในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight) หรือข้อสรุป (Conclusion) ที่มีประโยชน์ การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ ค้นหาสาเหตุของปัญหาและช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในแง่มุมของธุรกิจและการตลาด จนเกิดเป็นวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือ Data Science และการใช้ Big Data เพื่อให้องค์กรได้องค์ความรู้มาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ข้อมูล มีอะไรบ้าง การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก แต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์และวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 1. Descriptive Analysis Descriptive... read more

Knowledge Management คืออะไร ช่วยจัดการองค์ความรู้ได้อย่างไร
กุมภาพันธ์ 7, 2025
การเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital Transformation อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวลาเดินไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นการจัดการองค์ความรู้ หรือ Knowledge Management จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวม จัดเก็บ และถ่ายทอดความรู้ที่มีค่าจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จากฐานความรู้ที่มีอยู่ มาทำความเข้าใจกันว่า Knowledge Management คืออะไร และมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ในบทความนี้กัน Knowledge Management คืออะไร Knowledge Management หรือการจัดการองค์ความรู้ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กร ครอบคลุมตั้งแต่การระบุ การจัดเก็บ การประเมิน การเข้าถึง และการแบ่งปันความรู้ทั่วทั้งองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งไม่เพียงแต่จัดการกับข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลทั่วไป ดังนั้นการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร นำไปสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องได้ Knowledge Management มีกี่ประเภทอะไรบ้าง การจัดการองค์ความรู้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. Explicit knowledge Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถเห็นและจับต้องได้ มีความชัดเจนและสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเอกสาร คู่มือหรือสื่อดิจิทัลต่าง... read more

มาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง? ช่วยยกระดับองค์กร เพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจได้อย่างไร
กุมภาพันธ์ 7, 2025
ในโลกธุรกิจปัจจุบัน การสร้างความน่าเชื่อถือและการรับรองคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่องค์กรทั่วโลกใช้ เพื่อยกระดับการดำเนินงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับมาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง ไปจนถึงประโยชน์ที่จะได้รับเลย ISO คืออะไร ISO หรือ International Organization for Standardization คือองค์กรระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐานสากลสำหรับการดำเนินธุรกิจและองค์กร ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อพัฒนาคุณภาพขององค์กรและเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมาตรฐานนี้เปรียบเสมือนเครื่องมือวัดมาตรฐานกลางที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเทียบเคียงและพัฒนาคุณภาพได้อย่างเป็นระบบ ISO ไม่ได้สังกัดรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นองค์กรอิสระที่มีสมาชิกจากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก ในการรักษามาตรฐาน ISO ให้มีประสิทธิภาพนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีระบบจัดการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะระบบจัดการเอกสาร (DMS) ที่เป็นหัวใจสำคัญ ช่วยควบคุมการจัดเก็บ การเข้าถึงและการติดตามเอกสารสำคัญขององค์กร พร้อมทั้งมีระบบ Workflow ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด มาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง มาตรฐาน ISO มีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทมีจุดเน้นและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมและองค์กร มาทำความรู้จักกับมาตรฐาน... read more

Big Data Analytics คืออะไร ช่วยให้ต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้จริงไหม
มกราคม 9, 2025
ในยุคที่ Digital Transformation กำลังเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจ Big Data Analytics คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกนำมาใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาโอกาสทางธุรกิจ การใช้ระบบการจัดการเอกสาร ร่วมกับ Big Data Analytics จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น Big Data Analytics คืออะไร Big Data Analytics คือกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนำ automation มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลช่วยให้องค์กรสามารถค้นพบรูปแบบ แนวโน้ม และความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ Big Data Analytics มีความสำคัญอย่างไร ด้วยการเติบโตของข้อมูลดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว Big Data Analytics คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ Business Process Outsourcing (BPO) ร่วมกับระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การพัฒนาโซลูชันและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data Analytics การวิเคราะห์ Big Data ที่มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ... read more

ใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบวางบิล (Billing Note) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
มกราคม 9, 2025
ในการทำธุรกิจ เอกสารทางการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ โดยเฉพาะใบแจ้งหนี้และใบวางบิล ซึ่งเป็นเอกสารที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การเข้าใจความแตกต่างและการใช้งานที่ถูกต้องจะช่วยให้การบริหารจัดการการเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้เราจะพาคุณไปดูว่า ใบแจ้งหนี้ (Invoice) และใบวางบิล (Billing Note) แตกต่างกันอย่างไร ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คืออะไร ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารสำคัญทางการค้าที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อหลังจากส่งมอบสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว เพื่อเรียกเก็บเงินตามมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในการออกใบแจ้งหนี้ช่วยให้กระบวนการทำงานรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยในใบแจ้งหนี้จะมีการระบุรายละเอียดสำคัญ เช่น รายการสินค้า จำนวนเงิน และเงื่อนไขการชำระเงิน พร้อมทั้งลายเซ็นของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อยืนยันความถูกต้อง ใบวางบิล (Billing Note) คืออะไร ใบวางบิลเป็นเอกสารที่ใช้ในการแจ้งยอดค้างชำระและกำหนดการชำระเงิน ซึ่งการนำระบบ automation มาใช้ในการออกใบวางบิลช่วยลดขั้นตอนการทำงานและความผิดพลาด โดยเฉพาะองค์กรที่มีการทำธุรกรรมจำนวนมาก ใบวางบิลมักใช้ในกรณีที่มีการรวบรวมยอดค้างชำระจากใบแจ้งหนี้หลายฉบับ หรือใช้แจ้งกำหนดการชำระเงินตามรอบระยะเวลาที่ตกลงกัน ใบแจ้งหนี้ กับใบวางบิล ต่างกันอย่างไร การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการการเงินขององค์กร ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารที่ออกทันทีหลังการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ซึ่งปัจจุบันหลายองค์กรได้นำ Digital Signature มาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของเอกสาร โดยในใบแจ้งหนี้จะระบุรายละเอียดการซื้อขายที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นๆ เพียงรายการเดียว และสามารถใช้เป็นหลักฐานทางการเงินและภาษีได้ ใบวางบิล (Billing Note) ใบวางบิลมักออกตามรอบการวางบิลที่กำหนด โดยการใช้บริการ business process outsourcing... read more

Workflow Management System คืออะไร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
มกราคม 9, 2025
รูปแบบการทำงานในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป Workflow Management System จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความซับซ้อนของกระบวนการต่าง ๆ จัดระเบียบการทำงานให้เป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในองค์กรสมัยใหม่เป็นอย่างมาก Workflow Management System คืออะไร Workflow Management System คือระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดการและควบคุมกระบวนการทำงานทั้งหมดในองค์กรให้เป็นระบบอัตโนมัติ โดยระบบจะช่วยกำหนดลำดับขั้นตอน จัดการเอกสารและประสานงานระหว่างบุคคลหรือทีมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเภทของ Workflow Management System Workflow Management System สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะการทำงานและการใช้งาน ดังนี้ Sequential workflows Sequential workflows เป็นรูปแบบการทำงานที่เรียงลำดับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยแต่ละขั้นตอนจะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนถัดไปได้ การทำงานในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำและการควบคุมที่เข้มงวด เช่น การอนุมัติเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ Parallel workflows Parallel workflows เป็นการทำงานที่สามารถดำเนินการหลายขั้นตอนพร้อมกันได้ Workflow Management System ประเภทนี้ช่วยให้ทีมต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องรอให้ขั้นตอนก่อนหน้าเสร็จสมบูรณ์ เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการความรวดเร็วและมีทีมงานหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง Rules-Driven Workflow Rules-Driven... read more

Workflow Automation คืออะไร นำไปต่อยอดธุรกิจ พัฒนาองค์ได้อย่างไร
มกราคม 9, 2025
หากคุณกำลังมองหาวิธีจัดการงานเอกสารและกระบวนการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Workflow Automation อาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังตามหา ระบบนี้ไม่เพียงช่วยจัดการขั้นตอนการทำงานง่ายและสะดวกขึ้นเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน ประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Workflow Automation และวิธีการนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรของคุณกัน Workflow Automation คืออะไร Workflow Automation คือระบบที่ช่วยให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรสามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ โดยอาศัยการตั้งค่ากฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า ระบบจะทำงานตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยไม่จำเป็นต้องมีการแทรกแซงจากพนักงาน ตั้งแต่ระบบจัดเก็บเอกสาร รวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ไปจนถึงการส่งต่อข้อมูลไปยังระบบหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันกับระบบ Automation ทำให้การทำงานมีความรวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Workflow Automation มีกี่ประเภท อะไรบ้าง Workflow Automation สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตามลักษณะการทำงานและการนำไปใช้งาน ได้แก่ Business Process Workflow (BPM) Business Process Workflow หรือ BPM เป็นการนำ Workflow Automation มาใช้ในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้า... read more

SaaS คืออะไร ทำไมหลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาให้ความสนใจกัน
มกราคม 9, 2025
หลายธุรกิจในปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสนใจกับระบบ SaaS (Software as a Service) มากขึ้น เพราะปัญหาการบริหารจัดการซอฟต์แวร์แบบเดิมที่มักมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และต้องมีทีมไอทีคอยดูแลระบบตลอดเวลา SaaS จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจด้วยรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ ที่ช่วยประหยัดต้นทุน ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบ และสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับระบบนี้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งข้อดีและประโยชน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง SaaS คืออะไร SaaS หรือ Software as a Service คือรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ Microsoft Office 365, Google Workspace หรือ Adobe Creative Cloud Express ซึ่งเป็นบริการที่คิดค่าใช้จ่ายในรูปแบบการเช่าใช้รายเดือนหรือรายปี แทนการซื้อขาดเหมือนซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิม SaaS มีความสำคัญอย่างไรต่อองค์กร ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น ระบบ SaaS ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ด้วยการไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เช่น เซิร์ฟเวอร์หรือฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ องค์กรสามารถประหยัดทั้งเงินลงทุนและทรัพยากรบุคคลในการดูแลระบบ... read more