ESG เป็นตัวย่อมาจาก Environment, Social และ Governance คือแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความตระหนักรู้และจิตสำนึกของสังคมเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก
สังคมมีความคาดหวังให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การลดผลกระทบด้านลบให้เหลือน้อยที่สุด แต่ยังต้องสนับสนุนและสร้างผลกระทบในทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เหล่านักลงทุนจึงตระหนักถึงความสำคัญของ ESG มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ภาคธุรกิจจำนวนมากเริ่มบูรณาการ ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินแผนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ เป็นเหตุผลว่าทำไมองค์กรในไทยถึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของ ESG
ทำความรู้จักกับ ESG คืออะไร
การลงทุน ESG คือการมุ่งเน้นที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยแนวคิด ESG คือ แนวทางปฏิบัติในการลงทุนที่ไม่เพียงแค่คำนึงถึงการสร้างกำไรทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะต้องสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากการผลิตและการบริโภคทั่วโลกมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ทุกการผลิตและการบริโภคตั้งแต่ยานพาหนะไปจนถึงอาหารการกินส่งผลให้เกิดมลพิษ ของเสีย การตัดไม้ทำลายป่า การสูญเสียทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ภาคธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น ๆ
- ปัจจัยด้านสังคม
อีกจุดเด่นหนึ่งของ ESG คือ การมุ่งให้องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อพนักงานภายในองค์กร อาทิ สิทธิแรงงาน ความหลากหลายและความเท่าเทียมของแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่มาตรฐานด้านแรงงานยังไม่แข็งแรงมากนัก นอกจากนี้องค์กรยังต้องจัดการกับผลกระทบทางสังคมที่มาจากการดำเนินธุรกิจ
- ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล
การกำกับดูแลเกี่ยวกับความโปร่งใสภายในองค์กรเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ ESG ให้ความสำคัญ หลัก ๆ คือเพื่อเป็นกลไกควบคุมการทุจริต ติดสินบน ลบเลี่ยงภาษี และการเอารัดเอาเปรียบบุคลากรในองค์กร โดย ESG มองว่าการกำกับดูแลกิจการเชิงรุกมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรและส่งผลดีระยะยาวต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคม
จะเห็นได้ว่าแนวคิด ESG คือการผลักดันให้เกิดความยั่งยืนขององค์กรในหลายมิติ เป็นเรื่องของการสร้างมูลค่าระยะยาวด้วยการคำนึงถึงทั้งองค์กร บุคลากร และสังคมส่วนรวม มากกว่าการคำนึงถึงกำไรและปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้น
ความสำคัญของ ESG ที่ผู้ประกอบไม่ควรมองข้าม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มธุรกิจถูกเรียกร้องและจับตามองอย่างหนักจากสังคมในฐานะตัวแปรสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ความคาดหวังเหล่านี้ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับแนวความคิด ESG มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็จะได้รับประโยชน์จาก ESG ดังนี้
- ดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพ
การนำเอาแนวคิด ESG มาปรับใช้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์อันดีเและเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน เนื่องจากการลงทุนในองค์กรที่นำ ESG มาปรับใช้ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ปลอดภัยและมีเสถียรภาพกว่า นอกจากจะลดโอกาสของการโดนปรับและควบคุมจากรัฐบาลแล้วยังมีโอกาสที่จะได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
- ลดค่าใช้จ่าย
ในขณะเดียวกัน การผนวก ESG และแนวทางการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้ในบริษัทยังมีผลดีต่อองค์กรในแง่ของการลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ อาทิ การรณรงค์ให้บุคลากรประหยัดพลังงานด้วยการลดใช้น้ำ-ไฟ ลดการใช้กระดาษและทดแทนด้วยเทคโนโลยีจัดการเอกสาร DMS
- เพิ่มเสถียรภาพองค์กร
แนวคิด ESG ผลักดันให้องค์กรมุ่งเน้นการจัดการที่มีคุณภาพและโปร่งใส โดยเฉพาะประเด็นสิทธิแรงงานและความเท่าเทียม การที่องค์กรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรต่อพนักงานและมีสวัสดิการดูแลพนักงานถือเป็นวิธีสร้างความภักดีให้กับบุคลากรในองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของพนักงาน ตลอดจนช่วยลดอัตราการเกิดทุจริต ฉ้อโกงภายในองค์กรได้อีกด้วย
ESG Risk ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ
ESG Risk หรือ ความเสี่ยงด้าน ESG คือ เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลซึ่งเป็นหัวใจหลักของ ESG โดยองค์กรธุรกิจจะต้องหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อผลกำไร ชื่อเสียง และความสามารถในการแข่งขันขององค์กร อย่างไรก็ตาม ESG Risk สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ Carbon Footprint การใช้น้ำ การจำกัดของเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดไม้ทำลายป่า
- ด้านสังคม อาทิ การละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงงาน ความหลากหลายและเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติของแรงงาน ตลอดจนเงื่อนไขความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน
- ด้านธรรมาภิบาล อาทิ การป้องกันการทุจริตและฉ้อโกง การสื่อสารที่โปร่งใส ความหลากหลายของโครงสร้างคณะกรรมการบริการ ตลอดจนค่าตอบแทนของผู้บริหาร
บริษัทที่มองข้ามการนำหลัก ESG มาปรับใช้หรือองค์กรที่การกำกับดูแลไม่มีประสิทธิภาพอาจมีผลให้บริษัทสูญเสียความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์อันดี หรือที่หนักหนากว่านั้นคือการต้องเสียค่าปรับจำนวนมากให้กับรัฐ เป็นเหตุที่ว่าทำไมวิธีการจัดการกับความเสี่ยง ESG ควรที่จะโปร่งใส มีประสิทธิภาพและไม่สนับสนุนการกระทำที่ผิดกฎหมาย
องค์กรธุรกิจสามารถปรับตัวนำเอาแนวคิด ESG มาใช้ได้ง่าย ๆ โดยเริ่มต้นจากการลดการใช้งานกระดาษและนำเอาเทคโนโลยีระบบจัดการเอกสารและข้อมูล DMS เข้ามาทดแทน ซึ่งระบบจัดการเอกสารของ Ditto เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดความยุ่งยากในการทำงานและทำให้การควบคุมเอกสารเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเดิม มีระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ลดอัตราการสูญหายของเอกสารสำคัญเพราะเอกสารจะถูกจัดเก็บไว้บนคลาวด์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยการเชื่อมต่อกับโปรแกรม ERP ต่าง ๆ วิธีนี้นอกจากจะช่วยประหยัดต้นทุน ลดการใช้ผงหมึก ลดการใช้กระดาษและการตัดไม้ทำลายป่าแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของเอกสาร การซื้อแฟ้ม และตู้เก็บเอกสารภายในองค์กรลงได้อีกด้วย
องค์กรที่กำลังมองหาแนวทางพัฒนาระบบภายในองค์กรให้สอดคล้องกับความยั่งยืนของ ESG สามารถมั่นใจในการเทคโนโลยีระบบจัดการเอกสารและข้อมูลของ Ditto ทั้งเรื่องความปลอดภัย การใช้งานที่สะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะ Ditto ได้รับการยอมรับในฐานะองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน
ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม
📞 02-517-555
📱063 204 0321
Line ID: @dittothailand