Lead time คืออะไร มีความสำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้า

  • May 23, 2024

News Description

Lead Time คือ

 

“เวลา” คือสิ่งมีค่าที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ คำพูดนี้ไม่ได้ใช้แค่กับเรื่องโอกาสในชีวิตด้านต่าง ๆ แต่รวมถึงในด้านธุรกิจเช่นกัน เนื่องจากเวลามีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจของลูกค้า หากสั่งซื้อสินค้าที่มีระยะเวลาดำเนินการนานเกินไป กว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าก็เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถบริหารจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตลาดจึงกำหนดสิ่งที่เรียกว่า “Lead time” เพื่อวัดเวลาระหว่างการดำเนินงานทั้งหมด

 

 

Lead time คืออะไร

 

Lead time คือ ระยะเวลาในการรอสินค้า โดยนับตั้งการสั่งซื้อตลอดจนสินค้าถูกส่งมอบถึงมือของลูกค้า โดยปัจจัยที่มีผลต่อ Lead time ได้แก่ ขั้นตอนการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

หากบริษัทของคุณมี Lead time ที่ยาวนานกว่าบริษัทคู่แข่ง ก็อาจส่งผลต่อความพึงพอใจและทำให้สูญเสียลูกค้าไป ทุกธุรกิจควรศึกษาแนวทางในการลด Lead time เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารเวลาได้อย่างมีคุณภาพ ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาไปกับการรอ

 

 

Lead time สำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าอย่างไร

จากที่เราได้ยกตัวอย่างในหัวข้อ Lead time คืออะไร อาจทำให้หลายคนเข้าใจแล้วว่า Lead time มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก ในหัวข้อนี้เราจะมาขยายความให้เข้าใจมากขึ้น

 

หากคุณเป็นลูกค้าที่ต้องการสั่งรองเท้าผ่าน Shoping Online สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของคุณนอกจากการใช้งาน ความสวยงาม และราคาแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือระยะเวลาที่ร้านใช้ในการจัดส่ง โดยดูได้จากรีวิวต่าง ๆ ว่าเป็นไปในทิศทางใด และเลือกร้านที่ใช้เวลาในการจัดส่งไม่ล่าช้าจนเกินไป ดังนั้น การจัดการ Lead Time ที่ดีจะช่วยให้บริษัทสามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าได้ตรงตามกำหนด ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น และเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการของบริษัท

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อ Lead time

สำหรับการหา lead time องค์กรหรือผู้ผลิตสามารถหาได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

 

Lead Time ตัวอย่าง

 

1. Preprocessing Time

ปัจจัยแรกที่มีผลต่อการหา Lead Time คือ Preprocessing Time หรือ ระยะเวลาก่อนเริ่มกระบวนการ เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งสินค้า รวมถึงเวลาที่พนักงานหรือระบบใช้ประมวลผลเพื่อทำความเข้าใจคำสั่งและออกใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ยกตัวอย่างในกรณีของร้านรองเท้า เมื่อลูกค้ายืนยันคำสั่งซื้อ ระบบจะส่งข้อมูลให้กับผู้ขายเพื่อรอตรวจสอบสินค้าในคลัง หรือรอการผลิตรองเท้าในกรณีที่เป็นสินค้า Preorder

 

2. Processing Time

ปัจจัยข้อถัดไปที่มีผลต่อ Lead Time คือ Processing Time หรือ ระยะเวลาดำเนินการ เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้าตามจริง ถ้าเป็นร้านรองเท้าในขั้นตอนนี้คือ ช่วงเวลาที่รับคำสั่งซื้อมาค้นหารองเท้าในคลัง หรือทำการผลิตรองเท้าใหม่

 

3. Waiting Time

สำหรับปัจจัยต่อไปคือ Waiting Time หรือ ระยะเวลารอคิวเพื่อดำเนินการ เป็นระยะเวลาหลังจากดำเนินการผลิตสินค้าเสร็จสิ้น แต่อยู่ในคิวที่จะนำส่งสินค้าไปเก็บไว้ในสต๊อกหรือโกดัง (Warehouse) เพื่อเตรียมส่งสู่มือลูกค้าต่อไป ในขั้นตอนนี้หากเป็นร้านรองเท้า จะเป็นเวลาหลังจากผลิตรองเท้าเสร็จและรอส่งสู่คลัง

 

4. Storage Time

Storage Time หรือ ระยะเวลาในการจัดเก็บ เป็นระยะเวลาในขณะที่สินค้าถูกจัดเก็บอยู่ในคลังเพื่อเตรียมจัดส่งไปสู่มือลูกค้า หากเป็นร้านรองเท้าจะเป็นช่วงที่รองเท้าถูกจัดเก็บไว้ในคลังเพื่อเตรียมจัดส่ง

 

5. Shipping Time

Shipping time หรือ ระยะเวลาในการจัดส่ง เป็นระยะเวลาที่ขนส่งสินค้าไปสู่มือลูกค้า หากเป็นร้านรองเท้าขั้นตอนนี้คือการส่งรองเท้า (สินค้า) ผ่านผู้ให้บริการด้านขนส่งต่าง ๆ เพื่อให้ถึงมือลูกค้านั่นเอง

 

6. Inspection Time

และปัจจัยสุดท้ายที่มีผลต่อ Lead Time คือ Inspection Time หรือ ระยะเวลาในการตรวจสอบ คือ ระยะเวลาที่สินค้าถูกส่งมาถึงมือลูกค้าเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นลูกค้าจะทำการพิจารณาว่าสินค้าที่ได้รับมีความถูกต้องหรือไม่ มีคุณภาพและได้ปริมาณตามคำสั่งซื้อจริงหรือไม่ สำหรับขั้นตอนนี้หากเป็นร้านรองเท้า จะอยู่ในช่วงที่ลูกค้าได้รับรองเท้าเรียบร้อยแล้ว ทำการตรวจสอบว่าได้ไซซ์ สี หรือรุ่นที่ต้องการหรือเปล่า ก่อนทำการยืนยันและรับสินค้าเพื่อสิ้นสุด Lead Time

 

 

6 แนวทางในการบริหาร Lead Time อย่างมีประสิทธิภาพ

และนี่คือ 6 แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ทุกภาคธุรกิจ ช่วยให้คุณสามารถจัดการ Lead Time ได้อย่างชาญฉลาด ดังนี้

 

การหา lead time

 

1. ลดกระบวนการผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อน

ขั้นตอนแรกในการลด Lead time คือ ในกรณีที่สินค้ามีส่วนประกอบเป็นชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนและมีจำนวนหลายชิ้น อาจทำให้ Lead Time เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องผลิตหลายชิ้นส่วนทำให้มีหลายขั้นตอน ดังนั้น ผู้ผลิตหรือองค์กรควรพิจารณาว่าส่วนประกอบใดที่สามารถสั่งจากซัพพลายเออร์ (Supplier) ได้บ้าง เพื่อลดเวลาในการผลิตเอง

 

2. ยกเลิกขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า

ตรวจสอบขั้นตอนการผลิตว่ามีขั้นตอนใดบ้างที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น และเป็นขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนการดำเนินการที่มักจะเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้า และส่งต่อคำสั่งซื้อไปยังโรงงานผลิต สามารถใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อลดขั้นตอนที่ซับซ้อนในส่วนนี้ได้ เช่น ใช้บริการ BPO Service (Business Process Outsourcing Service) ที่มีทีมงานที่เชี่ยวชาญพร้อมระบบบเข้ามาช่วยสแกนเอกสารกระดาษ เพื่อทำการแปลงเอกสารกระดาษให้อยู่ในรูปไฟล์ดิจิทัลหรือ E-Document จากนั้นจึงส่งข้อมูลคำสั่งซื้อให้แก่โรงงานผลิต เพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการหาข้อมูล และลด Lead Time ได้มากขึ้น

 

3. วางระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

ควรวางแผนการดำเนินงานภายในองค์กรให้ได้มาตรฐาน โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับแผนกต่าง ๆ อย่างชัดเจน รวมถึงจัดขั้นตอนการดำเนินงานให้ทุกคนรับทราบและปฏิบัติตาม เพื่อช่วยป้องกันความสับสน สร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และลดระยะเวลาใน Lead Time ได้มากขึ้น เช่น การใช้ระบบ DMS (Document Management System) ที่โดดเด่นด้านการลดกระดาษและตรงกับแนวคิดรักโลกอย่าง Paperless โดยแปลงเอกสารกระดาษให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา พร้อมสามารถออกแบบระบบงานเอกสาร เช่น การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การขออนุมัติงาน เป็นต้น ช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้อย่างเห็นผลชัดเจน

 

ทำความรู้จักกระบวนการจัดระเบียบข้อมูลได้ที่: File Management คืออะไร ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างไรบ้าง

 

4. จัดการไลน์ผลิตให้ทำงานควบคู่กันได้

แม้ว่าการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ครบวงจร แต่จริง ๆ แล้วการแบ่งไลน์ผลิตออกเป็นหลายไลน์ แต่ละไลน์สามารถทำงานไปพร้อมกันได้ แล้วจึงนำไปเข้าสู่กระบวนการประกอบในภายหลัง อาจใช้ Lead Time ในการผลิตน้อยกว่าการใช้เครื่องจักรเครื่องเดียว

และในขั้นตอนนี้ยังสามารถใช้ระบบ POS (Point-of-Sale) เข้ามาช่วยตรวจสอบยอดขายและสินค้าในสต๊อกได้แบบ Real-time เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถประเมินได้ว่าควรบริหารไลน์ผลิตอย่างไร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด

 

5. บำรุงรักษาเครื่องจักร/อุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ

หากเครื่องจักรมีความเสียหายเกิดขึ้นอาจจะทำให้ขั้นตอนการผลิตล่าช้าลง จึงควรตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที และไม่ส่งผลกระทบต่อ Lead Time มากจนเกินไป

 

6. เลือกซัพพลายเออร์ที่ได้มาตรฐาน

ขั้นตอนสุดท้ายซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการลด Lead time คือ ควรรวบรวมรายชื่อซัพพลายเออร์ไว้หลาย ๆ เจ้า เพื่อทำการสั่งซื้อและประเมินผลว่าซัพพลายเออร์เจ้าใดบ้างที่มีสินค้าตรงตามมาตรฐาน และใช้เวลาในการจัดส่งรวดเร็ว เพื่อลด Lead Time ในการผลิตสินค้าของคุณให้สั้นลง

 

 

สรุป Lead time

ในบทความนี้สามารถสรุปได้ว่า Lead time คือ ระยะเวลาที่สำคัญ นับเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า หากคุณกำลังเริ่มทำธุรกิจ ควรวางแผน Lead time เพื่อบริหารจัดการเวลาได้อย่างเหมาะสม เลือกวิธีหรือระบบที่ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าเร็วที่สุด และไม่เสียเวลารอสินค้านาน ๆ โดยเปล่าประโยชน์ รวมถึงคงคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน พร้อมส่งมอบสินค้าสู่มือลูกค้าได้อย่างประทับใจ และกลับมาใช้บริการในครั้งต่อ ๆ ไป

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม

📞 02-517-555

📱063 204 0321

Line ID: @dittothailand