อันตรภาคชั้น (Data Frequency) การแจกแจงความถี่ของข้อมูลคืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่

  • August 22, 2024

News Description

อันตรภาคชั้น

 

อย่างที่ทราบกันว่า ทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเติบโตทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ “ข้อมูล” กลายเป็นสิ่งสำคัญ องค์กรต่าง ๆ มีการเก็บข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อให้ได้มาสิ่งข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาต่อยอดทางธุรกิจ หนึ่งในวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ช่วยจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลและลดความซับซ้อนของข้อมูลคือ “การแจกแจงความถี่ข้อมูล” ซึ่งประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และการแจกแจงความถี่แบบเป็นอันตรภาคชั้น หากคุณกำลังสงสัยว่าวิธีนี้คืออะไร เรามีคำตอบ

 

 

การแจกแจงความความถี่ข้อมูล คืออะไร

 

ก่อนจะไปทำความรู้จักอันตรภาคชั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการแจกแจงความถี่คืออะไร

การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) คือ วิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อจัดระเบียบข้อมูลที่รวบรวมไว้ให้เป็นระเบียบ ข้อมูลอาจเป็นคะแนนของนักเรียน อุณหภูมิของเมืองต่าง ๆ คะแนนในการแข่งขันวอลเลย์บอล ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อมูลมากขึ้น ตลอดจนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจหรือวางแผนต่อไป หลังจากการรวบรวมข้อมูล จึงมีการแสดงข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งเรียกว่าการแจกแจงความถี่นั่นเอง

การแจกแจงความถี่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

 

1. การแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น

การแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดไม่แตกต่างกันมากนัก หรือข้อมูลที่มีค่าของจำนวนที่แตกต่างกันไม่มากนัก การแจกแจงความถี่ในลักษณะนี้จะใช้ค่าสังเกตทุกค่าในการนำเสนอข้อมูล

 

2. การแจกแจงความถี่แบบอันตรภาคชั้น

การแจกแจงความถี่แบบอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันค่อนข้างมาก หรือในกรณีที่การแจกแจงความถี่โดยใช้ค่าสังเกตทุกค่าอาจไม่สะดวกนัก การจัดกลุ่มข้อมูลเป็นช่วงชั้นจะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีความกระชับและเข้าใจง่ายขึ้น โดยแบ่งช่วงของค่าที่เป็นไปได้ออกเป็นอันตรภาคชั้น (Interval) แล้วแจกแจงความถี่ของข้อมูลตามช่วงชั้นที่กำหนดไว้

การเลือกใช้วิธีการแจกแจงความถี่ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความสะดวกในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและตีความหมายของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน การเลือกใช้การแจกแจงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารข้อมูลทางสถิติมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

อันตรภาคชั้น คืออะไร

อันตรภาคชั้น (Data Frequency) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลออกเป็นช่วงต่าง ๆ แล้วนับจำนวนข้อมูลที่ตกอยู่ในแต่ละช่วง ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงออกมาในรูปแบบของตารางหรือกราฟ เพื่อให้เห็นการกระจายตัวของข้อมูลได้อย่างชัดเจน

 

 

ขั้นตอนการสร้างตารางแจกแจงความถี่แบบอันตรภาคชั้น

 

ขั้นตอนที่ 1 นำข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดมาใช้ในการหาพิสัย (Rang)

พิสัย = ข้อมูลสูงสุด – ข้อมูลต่ำสุด

 

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดช่วงของข้อมูลที่ต้องการสร้างอันตรภาคชั้น (โดยทั่วไปจะมีจำนวนระหว่าง 5-15 ชั้น)

 

ขั้นตอนที่ 3 หาความกว้างของอันตรภาคชั้น โดยใช้สูตร

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = พิสัย/จำนวนอันตรภาคชั้น

หมายเหตุ: หากผลลัพธ์เป็นเศษทศนิยมให้ปัดเป็นจำนวนเต็ม

โดย ความกว้างของอันตรภาคชั้น (class width) คือ ความกว้างของแต่ละอันตรภาคชั้น

และ จำนวนอันตรภาคชั้น (class limit) คือ จำนวนชั้นของช่วงของข้อมูล

 

ขั้นตอนที่ 4 สร้างตารางแจกแจงความถี่ โดยสามารถเรียงข้อมูลจากชั้นข้อมูลที่มีค่าต่ำที่สุดไปยังชั้นข้อมูลที่มีค่าสูงที่สุด หรือเรียงจากชั้นข้อมูลที่มีค่าสูงสุดไปยังค่าต่ำสุดก็ได้เช่นกัน

 

ขั้นตอนที่ 5 พิจารณาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนว่าข้อมูลนั้นต้องอยู่ในช่วงข้อมูลใด จากนั้นจึงทำการขีด (mark) ลงในช่องรอยขีด ซึ่ง 1 ขีด มีค่าเท่ากับข้อมูล 1 จำนวน

โดย จำนวนรอยขีดแต่ละชั้น = ความถี่ของข้อมูลในชั้นนั้น

 

ขั้นตอนที่ 6 แทนค่ารอยขีดด้วยตัวเลข เพื่อให้เห็นความถี่ชัดขึ้น

 

 

ตัวอย่างการสร้างตารางความถี่แบบอันตรภาคชั้น

 

จากผลการสอบปลายภาคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 50 คน มีผลคะแนนดังต่อไปนี้

ตารางความถี่แบบอันตรภาคชั้น

 

การสร้างตารางความถี่ โดยกำหนดให้มีจำนวนอันตรภาคชั้นเป็น 8

ขั้นตอนที่ 1 หาพิสัยโดยใช้สูตร พิสัย = ข้อมูลสูงสุด – ข้อมูลต่ำสุด สามารถแทนค่าได้ดังนี้

พิสัย = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด

พิสัย = 100 – 40

พิสัย = 60

 

ขั้นตอนที่ 2 จากโจทย์กำหนดให้มีจำนวนอันตรภาคชั้นเป็น 8

 

ขั้นตอนที่ 3 หาความกว้างของอันตรภาคชั้น โดยใช้สูตร

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = พิสัย/จำนวนอันตรภาคชั้น

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = 60/8

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = 7.5 โดยปัดเศษทศนิยมขึ้นเสมอจึงมีค่าเท่ากับ 8

 

ขั้นตอนที่ 4 สร้างตารางแจกแจงความถี่ โดยพิจารณาจากขั้นตอนที่ 5 และ 6 จะได้ตารางแจกแจงความถี่ ดังนี้

 

ตารางแจกแจงความถี่

 

อันตรภาคชั้นแตกต่างจากการแจกแจงความถี่สะสมอย่างไร

อันตรภาคชั้นเป็นการแสดงจำนวนหรือความถี่ของข้อมูลในแต่ละช่วง ส่วนการแจกแจงความถี่สะสม (Cumulative Frequency) จะแสดงผลรวมของความถี่ของค่านั้นหรืออันตรภาคชั้นนั้น กับความถี่ของค่าหรือของอันตรภาคชั้นที่มีช่วงคะแนนต่ำกว่าทั้งหมด หรือสูงกว่าทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง (นิยมใช้ความถี่สะสมแบบต่ำกว่า) ทำให้เห็นภาพรวมของการสะสมข้อมูลในแต่ละช่วง

 

 

สรุป

อันตรภาคชั้นเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Data Analytics) ช่วยให้เห็นภาพรวมของการกระจายตัวของข้อมูล ทำให้เข้าใจลักษณะของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจ วางแผน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกรูปแบบของอันตรภาคชั้นให้เหมาะสมกับประเภทของข้อมูลและวัตถุประสงค์ จะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลเป็นไปอย่างชัดเจนและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอันตรภาคชั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลอย่างมืออาชีพ

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม

📞 02-517-555

📱063 204 0321

Line ID: @dittothailand