รู้หรือไม่! ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทางราชการมีอะไรบ้าง

  • March 27, 2023

News Description

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็เปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงานที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น บัตรประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ ก็เปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์กันทั้งนั้น ซึ่งลายมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะด้วยรูปแบบการเซ็นที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถเซ็นได้ทุกที่ตลอดเวลา ทั้งนี้ทางหน่วยงานราชการเองก็เปิดโอกาสให้ใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature ในหน่วยงานราชการแล้ว แต่เพื่อน ๆ ทราบหรือไม่ ว่าลายมืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบไหนบ้าง ที่ทางหน่วยงานราชการอนุญาตให้ใช้ วันนี้ Ditto เตรียมข้อมูลส่วนนี้มาให้คุณแล้ว

 

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature รูปแบบไหนบ้างที่ใช้ในหน่วยงานราชการได้

 

1. เขียนชื่อ นามสกุล บนหน้าจอ ก็เป็นลายมืออิเล็กทรอนิกส์ได้

รูปแบบการเซ็นชื่อที่ได้รับความนิยม และเป็นการเซ็นเอกสารออนไลน์ที่ง่ายและรวดเร็ว แค่เราเขียนชื่อ – นามสกุลของเราบนโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ก็เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว เพราะตามกฏหมายว่าด้วยเรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคำว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้มีคำนิยามเอาไว้ว่า

อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำไปประกอบใช้กับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไประบุตัวบุคคล ผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

โดยรูปแบบการเซ็นเอกสารแบบนี้เป็นที่นิยมมาก และได้แพร่หลายอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นชื่อในไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การเซ็นชื่อผ่านอุปกรณ์ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เวลาที่เราไปทำธุรกรรมกับทางธนาคาร หรือตอนชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตในห้างสรรพสินค้า หรือที่ร้านอาหารเองก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน

 

2. ลงชื่อต่อท้ายอีเมล ก็สามารถใช้ได้

ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือการตอบกลับอีเมลในเรื่องใดก็ตาม แล้วเราพิมพ์ชื่อต่อท้ายข้อความของอีเมล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล ชื่อย่อ ชื่อเล่น หรือกำกับด้วยตำแหน่งหรือชื่อองค์กรต่อท้าย เช่น “นางสาวสมใจ เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลบริษัท A” หรือ “นายสมหมาย เพียรขยัน” ก็ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ทางหน่วยงานราชการอนุญาตให้ใช้นั่นเอง โดยการใส่ชื่อต่อท้ายอีเมลจะเปรียบเสมือนลายมือชื่อที่เซ็นกำกับไว้ท้ายข้อความของจดหมายหรือหนังสือ เพื่อแสดงเจตนายอมรับหรือการรับรองข้อความในจดหมายอีเมลที่ส่งไปยังผู้รับนั่นเอง

 

3. ใช้ Username และ Password ก็ใช้ในหน่วยงานราชการได้

การใส่ Username กับ Password เพื่อล็อกอินเข้าระบบ เว็บไซต์ แอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น LINE Lazada Shopee หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการเช่น การล็อกอินเข้าเว็บไซต์ประกันสังคม ล็อกอินเข้าใช้เว็บไซต์หน่วยงานราชการ ก็ถือว่า Username และ Password เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Signature ได้

และในอีกกรณีที่เป็นประเด็นอยู่ช่วงขณะหนึ่ง อย่างกรณีการทักหาเพื่อนผ่านแชทไลน์ เพื่อขอยืมเงิน แม้ไม่มีเอกสารสัญญา แต่เมื่อผู้ให้ยืมเงินไม่ได้รับเงินคืนตามข้อตกลง ก็สามารถนำหลักฐานข้อความสนทนาในแชทไลน์มาใช้เป็นหลักฐานทางกฏหมายได้ เนื่องจากการล็อกอิน Username กับ Password ของผู้ยืมเงินนั้น จะเปรียบเสมือนลายมือชื่อที่ได้เซ็นบนเอกสารสัญญากู้เงินนั่นเอง

 

4. การกด I Accept หรือ ฉันยอมรับ ก็เป็นลายมืออิเล็กทรอนิกส์​

เคยไหมที่บางทีเวลาเราเข้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะมี Pop-up โชว์ว่า จะยอมรับให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันนี้ทำการเก็บข้อมูลหรือไม่ ซึ่งจะมีให้เลือก “ยอมรับ” กับ “ไม่ยอมรับ” ซึ่งเมื่อไหร่ที่คุณคลิกว่ายอมรับจะถือว่าเป็นการลงนาม และนับว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทันที โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในการเข้าสมัครใช้บริการต่าง ๆ ทางออนไลน์ ที่ก่อนจะทำธุรกรรมหรือใช้บริการใด ๆ จะมีข้อความ ข้อกำหนด หรือเงื่อนไขขึ้นแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบ ซึ่งในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการที่มีการทำธุรกรรมทางออนไลน์ก็มีเช่นกัน เพื่อเป็นการยอมรับข้อตกลง ข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการทำธุรกรรมหรือการใช้บริการที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์นี้เอง

 

5. เสียบบัตรและใส่รหัส ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบลายมืออิเล็กทรอนิกส์

และท้ายที่สุดคือ การเสียบบัตรและการใส่รหัสนั่นเอง โดยการใช้บัตร ATM กดเงินจากตู้ ATM และต้องใส่รหัส 4 – 6 ตัว ก่อนเข้าเมนูถอนเงินหรือทำธุรกรรมการเงินในขั้นตอนถัดไป ซึ่งการเสียบบัตรและใส่รหัสส่วนตัวนี้ สามารถเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature ได้ โดยปัจจุบันมีคำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 ซึ่งเป็นเรื่องของการนำบัตรกดเงินสดไปกดเงินจากตู้เบิกถอนเงินอัตโนมัติ โดยศาลได้มีคำวินิจฉัยตัดสินแล้วว่า การนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือ ชื่อตนเองในการทำรายการเบิกถอนเงิน ซึ่งในการใส่รหัสแบบนี้ หลายคนคงคุ้น ๆ กับการเข้าใช้งาน “แอปเป๋าตัง” เพราะต้องเข้ารหัสก่อนเข้าใช้บริการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการเซ็นชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานราชการใช้นั่นเอง

 

และนี้คือ 5 รูปแบบลายมืออิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานราชการใช้นั่นเอง ซึ่งเชื่อว่าแต่ละคนได้เคยใช้ไปบ้างแล้ว เพราะทุกวันนี้การเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันทั้งหน่วยงานราชการหรือเอกชน เราก็ลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ไปแบบไม่รู้ตัวเช่นกัน โดยทาง Ditto สนับสนุนให้ทุกคนเข้าถึงการบริการของหน่วยงานราชการได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เราจึงพัฒนาระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. ขึ้นมา ทำให้สามารถเข้าถึงระบบการทำงานได้จากที่ไหนก็ได้ แค่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยอิงการใช้งานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐานสากลสามารถลงชื่อเข้าระบบใช้งานได้ตลอดเวลา เพียงแค่เซ็น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็สามารถเข้าถึงระบบหน่วยงานราชการได้ ตอบโจทย์นโยบาย Thailand 4.0

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand