รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาท ก่อให้เกิดความสะดวกสบายและแก้ไขปัญหาที่เคยมีในการดำเนินงาน
รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาท ก่อให้เกิดความสะดวกสบายและแก้ไขปัญหาที่เคยมีในการดำเนินงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่หลายบริษัทได้เห็นถึงประโยชน์ จึงต่างพากันปรับองค์กรของตนมาสู่แนวทางแบบ Digital Workplace เนื่องจากมีประสิทธิภาพกว่าแบบเก่า แถมยังสร้างรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
สิ่งสำคัญที่สุดของบริษัทคือ บุคลากรหรือคน เพราะเป็นตัวแปรหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจหรือองค์กร หากคนเหล่านี้ทำงานได้ดีย่อมส่งผลให้องค์กรมีประสิทธิภาพและก้าวหน้า เนื่องจากคนเป็นตัวกำหนดทิศทาง รวมถึงการบริหารจัดการให้เป็นไปในทางที่ต้องการ อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยของ Deloitte ระบุว่า นอกจากการปรับองค์กรสู่รูปแบบ Digital Workplace ส่งผลให้มีส่วนช่วยในด้านการแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ แล้ว ยังส่งผลต่อบุคลากรดังนี้
4 ข้อดีของการเป็น Digital Workplace ที่ส่งผลต่อพนักงาน
1. ดึงดูดใจพนักงานให้เข้ามาทำงานด้วย
กว่า 64 % ของพนักงานพึงพอใจกับการทำงานที่บ้าน แม้ว่าจะได้เงินเดือนหรือค่าจ้างลดลง แลกกับการไม่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ ส่งผลให้คนเก่ง ๆ ที่มีศักยภาพจำนวนมาก ต้องการร่วมงานกับองค์กรที่เป็น Digital Workplace เพราะสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต
2. พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
องค์กรที่ใช้เครื่องมือดิจิทัลในการดำเนินงาน เช่น แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับองค์กรที่ไม่มีเครื่องมือเหล่านี้
3. สร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน
การใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างโซเชียลเน็ตเวิร์คหรือแพลตฟอร์มกลางขององค์กร ช่วยสร้างความพึงพอใจแก่พนักงานเพิ่มขึ้น 20%
4. ลดอัตราการเปลี่ยนงาน
เมื่อพนักงานมีความพึงพอใจ มักจะตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้พนักงานมีความภักดีต่อองค์กรเพิ่มขึ้นถึง 87%
นอกจากนี้ยังพบว่า การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ที่ดีให้กับพนักงานในการทำงาน เป็นการสร้างค่านิยมที่ดีและพนักงานก็จะส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับลูกค้าในรูปแบบการบริการที่ดีเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ องค์กรควรเริ่มต้นการพัฒนาที่พนักงานก่อนเป็นอันดับแรก และควรรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ให้ได้ โดยใช้กรอบแนวคิดดังนี้
กรอบแนวคิดของ Digital Workplace Framework
1. ใช้หลัก 3C Collaborate, Communicate, Connect
หลักการทำงานของ Digital Workplace นอกจากมีทักษะในงานแล้วยังต้องร่วมมือทำงานกันเป็นทีมได้ สามารถสื่อสารเชื่อมต่อระหว่างกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร นอกจากช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานแล้วยังก่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน
2. สร้าง Digital Toolbox
องค์กรที่เป็น Digital Workplace ต่างมี Digital Toolbox ที่ใช้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะอุตสาหกรรมและเป้าหมายของธุรกิจนั้นๆ สิ่งสำคัญคือการหาเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากจะบรรลุถึงเป้าหมายแล้วยังช่วยเสริมสร้างทักษะทางดิจิทัลให้แก่พนักงานด้วยเช่นกัน
3. ควบคุมความเสี่ยงและข้อจำกัดทางกฎหมาย
ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีและเครื่องมือใด ๆ มาใช้ในองค์กร ควรคำนึงถึงโครงสร้างหรือข้อจำกัดของรัฐด้วย ว่าเอื้ออำนวยหรือขัดต่อกฎหมายหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็ควรเปลี่ยน รวมถึงการกำหนดนโยบายในการใช้งานไม่ให้เกิดปัญหาต่อสังคม
4. สร้างให้ธุรกิจเติบโตและมีคุณค่า
เป้าหมายหลักของธุรกิจคือการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรต้องปรับไปสู่การเป็น Digital Workplace เพราะจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานจากประโยชน์ของการใช้เครื่องมือทางดิจิทัล รวมถึงพัฒนาธุรกิจให้อยู่เหนือกว่าคู่แข่ง
จะเห็นได้ว่า การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรต่อไปได้ ย่อมทำให้การดำเนินงานราบรื่นไม่สะดุดหรือคั่งค้าง โดยเฉพาะพนักงานที่เก่งและมีประสิทธิภาพ เพราะพนักงานประเภทนี้จะหาวิธีการใหม่ ๆ พร้อมความคิดสร้างสรรค์ เข้ามาปรับปรุงแก้ไขการทำงานนั่นเอง ขณะเดียวกัน Ditto (Thailand) เองก็มีระบบจัดเก็บเอกสาร ที่เป็นเครื่องมือทางดิจิทัล ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเป็น Digital Workplace ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องระบบจัดการเอกสารที่เคยมีอย่าง การชำรุด, สูญหาย, ค้นหายาก ทั้งยังส่งเอกสารทางออนไลน์ได้เลยแม้อยู่กันคนละสถานที่ นอกจากจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยประหยัดวัสดุสำนักงานอย่างกระดาษและหมึกพิมพ์ ตลอดจนแฟ้มและกล่องที่ใช้จัดเก็บกองเอกสารเหล่านี้ รวมถึงพื้นที่ที่ต้องเสียไปในการจัดเก็บด้วยเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Ditto (Thailand)
📞 02-517-5555