ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ไม่ใช่เรื่องที่สามารถนิ่งนอนใจได้หรือเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป เนื่องจากนับวันปัญหาดังกล่าวยิ่งส่งผลกระทบชัดเจนขึ้น การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) จึงกลายเป็นเป้าหมายที่ไม่เพียงแค่ฝ่ายกำหนดนโยบายจะเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ประเทศบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่านั้น แต่ภาคเอกชนก็เป็นผู้เล่นสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อน และลดผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนได้ จึงทำให้เกิด Carbon Credit และตลาด Carbon Credit ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา
บทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่าตลาด Carbon Credit คืออะไร? Carbon Credit ขายยังไง? และมีวิธีการคำนวณอย่างไร? ไปศึกษาพร้อม ๆ กันเลย
ทำความรู้จัก “ตลาด Carbon Credit”
ก่อนที่เราจะไปดูกันว่า Carbon Credit ขายยังไง Carbon Credit คำนวณอย่างไร เรามาทำความเข้าใจตลาด Carbon Credit กันก่อนดีกว่า
ตลาด Carbon Credit หรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตนั้น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นสื่อกลางในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน Carbon Credit โดยใช้แนวคิดการใช้กลไกตลาดเป็นแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลง และยังทำให้ผู้ที่ก่อมลพิษ หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือมีต้นทุนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องบรรเทา หรือชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกแปรปรวนด้วย
โดยแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market)
ถูกจัดตั้งขึ้นจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย มีกฎหมายและกฎระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายกำกับอย่างชัดเจน ซึ่งภาครัฐหรือหน่วยงานกำกับเป็นผู้ดูแลและบังคับด้วยกฎหมาย เพื่อไม่ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (Legally Binding Target) หากผู้ใดสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกในส่วนที่ปล่อยต่ำกว่าเกณฑ์ไปขายให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้หรือที่รู้จักกันในนาม Emission Trading Scheme (ETS) และระบบ Cap and Trade
2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)
ถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ การจัดตั้งตลาดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการดังกล่าวสามารถนำมาขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจได้และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด
Carbon Credit ขายยังไง
การซื้อขาย Carbon Credit ก็สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- ซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) หรือ ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
- ซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง โดยไม่ผ่านตลาด
เมื่อต้องการซื้อคาร์บอนเครดิต หากการพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตยังไม่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ผู้ที่ต้องการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์สามารถเปิดบัญชี T-VER Credit ในระบบทะเบียน (Registry) ของ อบก. เพื่อใช้สำหรับเก็บบันทึกปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองมาแล้ว และตัดออกจากบัญชีเมื่อมีการใช้งานคาร์บอนเครดิต โดยช่องทางการซื้อขายสามารถดำเนินการผ่านการติดต่อกับผู้ขายโดยตรง (Over-the-Counter) ผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ FTIX ในประเทศไทย หรือสามารถเปิดบัญชีกับ Platform Trading Carbon Credit ของต่างประเทศ เช่น CBL Xpansiv, Air Carbon Exchange, Carbon Trade Exchange เป็นต้น เพื่อซื้อคาร์บอนเครดิตในมาตรฐานอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
Carbon Credit คำนวณอย่างไร
สูตรในการคำนวณ Carbon Credit กำหนดให้
- Ebaseline คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงการบินทั่วไป (kg CO2e)
- ESAF คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกจาก Sustainable Aviation Fuel (kg CO2e)
- Vfuel คือปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ (ลิตรหรือกิโลกรัม)
- คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงการบินทั่วไป
- คำนวณการปล่อย Greenhouse gas จาก Fossil Jet Fuel Ebasline = EFJetfuel× Vfuel EFJetFuel คือค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงการบินทั่วไป (kg CO2e ต่อหน่วยปริมาณเชื้อเพลิง)
- คำนวณการปล่อย Greenhouse gas จาก Sustainable Aviation Fuel ESAF = EFSAF × Vfuel EFSAF คือค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก SAF (kg CO2e ต่อหน่วยปริมาณเชื้อเพลิง)
- คำนวณการลดการปล่อย GHG (Emission Reduction) Emission Reduction = Ebaseline − ESAF
- แปลงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นคาร์บอนเครดิต Carbon Credits = Emission Reduction/1000 (แปลงจาก kg CO2e เป็น tCO2e โดยการหารด้วย 1000)
ทำไมองค์กรต่าง ๆ ต้องซื้อขาย Carbon Credit
ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ หันมาทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) โดย TGO โดยเราได้รวบรวมประโยชน์ของการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนที่เป็นเหตุผลว่าทำไมองค์กรต่าง ๆ ต้องซื้อขาย Carbon Credit กัน
- เพื่อลดค่าใช้จ่าย จากการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน
- เพื่อสร้างกระบวนการส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการคิดวางแผน ดำเนินการ และประเมินความสำเร็จ
- เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในเรื่องของการรับผิดชอบต่อสังคมเพราะเงินที่ซื้อคาร์บอนเครดิตจะช่วยสนับสนุนให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นในประเทศซึ่งจะทำให้
- ชุมชนหรือเมืองที่เป็นผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกมีรายได้เพิ่มขึ้น
- ประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกโดยสุทธิลดลง
- ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เพราะฉะนั้น ทุกองค์กรควรเริ่มคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อเป็นแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่วนที่ลดไม่ได้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมชดเชยคาร์บอน
สรุป
จะเห็นได้ว่าเมื่อองค์กรไหนเกิดการปรับตัวและวางแผนควบคุมการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็สามารถเสริมภาพลักษณ์และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่องค์กรนั้น ๆ ในขณะเดียวกันองค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวหรือลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่ง Ditto ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงได้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อคาร์บอนเครดิต ควบคู่กับการสนับสนุนในด้านงบประมาณและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและดูแลรักษาป่าเพื่อให้ป่ามีความสมบูรณ์และยังให้การสนับสนุนชุมชนในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เป็นการสนับสนุนนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหล่านี้จะทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green & Climate Technology), คาร์บอนเครดิต และการขยายการลงทุนกับกลุ่มพลังงานสะอาด – พลังงานทดแทนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ Zero-Carbon ได้ในที่สุดนั่นเอง
ติดต่อสอบถามข้อมูลระบบจัดการเอกสาร เพิ่มเติม
📞 02-517-555
📱063 204 0321
Line ID: @dittothailand