ข่าวสารและบทความ

Decentralized คือ การกระจายอำนาจให้พนักงานในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว สะดวก และฉับไว อ่านต่อ

รู้จักแนวคิดการบริหารองค์กรแบบ Decentralized เพื่อการทำงานที่สะดวก ฉับไว

February 23, 2024

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายองค์กรที่มีรูปแบบการบริหารงานแบบรวมอำนาจการตัดสินใจต่าง ๆ ไว้ที่บุคคลเดียว (Centralization) ประสบปัญหาและส่งผลกระทบต่อการทำงานขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันหลายองค์กรเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารมาเป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจ หรือที่เรียกกันว่า “Decentralized”   Decentralized คือ การกระจายอำนาจให้พนักงานในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว สะดวกและฉับไว โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตอย่างที่ผ่านมา   เพื่อให้ทุกคนเข้าใจการบริหารองค์กรแบบ Decentralized ว่าคืออะไร? แตกต่างกับแนวคิดบริหารแบบ Centralizetion อย่างไรบ้าง? วันนี้เราไปทำความรู้จักแนวคิดเหล่านั้นพร้อมกันเลย   การบริหารองค์กรแบบ Decentralized คืออะไร   การบริหารองค์กรในรูปแบบ Decentralized คือ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจให้แก่พนักงานในตำแหน่งหรือแผนกใดก็ตามที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญให้ทำการตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอคำตัดสินใจจากผู้บริหารขององค์กร การบริหารในรูปแบบนี้จะช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างรวดเร็ว องค์กรที่มีรูปแบบการบริหารแบบ Decentralized จะสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร   นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารงานที่ต้องรอการตัดสินใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียว (Centralization) จะเห็นว่า การบริหารแบบ Decentralized มีความยืดหยุ่นและแก้ปัญหาได้อย่างฉับไวมากกว่านั่นเอง   ความแตกต่างของแนวคิดบริหารแบบดั้งเดิม Centralization vs Decentralized     เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าการบริหารในรูปแบบดั้งเดิม หรือที่เรียกกันว่า Centralization คืออะไร? และเป็นการบริหารองค์กรในลักษณะใด   การบริหารในรูปแบบ... read more

Growth Mindset และ Fixed Mindset แนวคิดเพื่อการเติบโตขององค์กร อ่านต่อ

Growth Mindset และ Fixed Mindset แนวคิดเพื่อการเติบโตขององค์กร

February 23, 2024

  Growth Mindset คือ ความคิดที่เชื่อว่าความสามารถและความเก่งของเราสามารถที่จะพัฒนาได้โดยการใฝ่เรียนรู้และสั่งสมจากประสบการณ์การทำงาน เรียกได้ว่า Growth Mindset เป็นกุญแจสำคัญสู่ความก้าวหน้าในการทำงานของบุคคล และยังเป็นแนวคิดที่จะทำให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด   ในทางกลับกัน Fixed Mindset เป็นกรอบความคิดแบบตายตัวที่เชื่อว่าความสามารถนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผู้ที่ทำงานได้ไม่ดี จะไม่มีวันทำได้ดีกว่านี้ องค์กรที่มีความคิดลักษณะนี้มักมองหาคนที่มีความสามารถโดยธรรมชาติเป็นทุนเดิมแทนที่จะหาวิธีพัฒนาความสามารถของคุณในองค์กร ไม่ให้คุณค่ากับพนักงานที่แสดงศักยภาพผ่านความพยายามและการทำงานหนัก   สุดท้ายแล้ว ซึ่งแนวความคิดแบบ Fixed Mindset นี้เองที่อาจส่งผลให้การเติบโตขององค์กรหยุดชะงักลง ดังนั้นองค์กรควรที่จะปลูกฝังและฝึกอบรมให้พนักงานในองค์กรมีแนวความคิดแบบ Growth Mindset สามารถที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายและตอบสนองเป้าหมายใหม่ ๆ ขององค์กรได้   แนวคิด Growth Mindset คืออะไร     กรอบความคิดแบบ Growth Mindset ของพนักงานในองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและเติบโตขององค์กร พนักงานที่มี Growth Mindset คือ คนที่ความพร้อมจะปรับตัว เรียนรู้แก้ไขปัญหารับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างไม่ย่อท้อ   องค์กรควรปลูกฝังให้พนักงานมีความกล้าที่จะพัฒนาตนเองผ่านการฝึกอบรมและมอบหมายงานที่มีความท้าทาย เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และฝึกฝน ได้ออกจากพื้นที่ Comfort Zone เดิมที่ปิดกั้นการพัฒนา รวมถึงได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากประสบการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน   ขณะเดียวกันนั้นองค์กรควรที่จะจัดหาเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของพนักงานให้สะดวกราบรื่น ยกตัวอย่างเช่น... read more

ESG แนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่องค์กรไทยไม่ควรมองข้าม อ่านต่อ

ESG แนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่องค์กรไทยไม่ควรมองข้าม

February 23, 2024

ESG เป็นตัวย่อมาจาก Environment, Social และ Governance คือแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความตระหนักรู้และจิตสำนึกของสังคมเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก   สังคมมีความคาดหวังให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การลดผลกระทบด้านลบให้เหลือน้อยที่สุด แต่ยังต้องสนับสนุนและสร้างผลกระทบในทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย   ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เหล่านักลงทุนจึงตระหนักถึงความสำคัญของ ESG มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ภาคธุรกิจจำนวนมากเริ่มบูรณาการ ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินแผนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ เป็นเหตุผลว่าทำไมองค์กรในไทยถึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของ ESG   ทำความรู้จักกับ ESG คืออะไร     การลงทุน ESG คือการมุ่งเน้นที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยแนวคิด ESG คือ แนวทางปฏิบัติในการลงทุนที่ไม่เพียงแค่คำนึงถึงการสร้างกำไรทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะต้องสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย   ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการผลิตและการบริโภคทั่วโลกมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ทุกการผลิตและการบริโภคตั้งแต่ยานพาหนะไปจนถึงอาหารการกินส่งผลให้เกิดมลพิษ ของเสีย การตัดไม้ทำลายป่า การสูญเสียทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ภาคธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น ๆ   ปัจจัยด้านสังคม อีกจุดเด่นหนึ่งของ ESG คือ การมุ่งให้องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อพนักงานภายในองค์กร อาทิ สิทธิแรงงาน ความหลากหลายและความเท่าเทียมของแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่มาตรฐานด้านแรงงานยังไม่แข็งแรงมากนัก นอกจากนี้องค์กรยังต้องจัดการกับผลกระทบทางสังคมที่มาจากการดำเนินธุรกิจ   ... read more

อ่านต่อ

DITTO จับมือ “ธ.ก.ส.” ลุยพัฒนาระบบงานรองรับ “บริหารจัดการคุณภาพหนี้”

February 8, 2024

DITTO จับมือ “ธ.ก.ส.” เปิดโครงการพัฒนาระบบงานเพื่อรองรับ การบริหารจัดการคุณภาพหนี้ใน 4 ระบบย่อยวิเคราะห์-ติดตามและแจ้งเตือน-ปรับปรุง-กฎหมาย   นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ และคณะผู้บริหาร และนายฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DITTO ร่วมเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาระบบงานรองรับการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ณ ห้องประชุมชั้น 24 สำนักงานใหญ่ ทั้งนี้โครงการพัฒนาระบบงานรองรับการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ประกอบด้วย ระบบย่อยต่างๆ 4 ระบบ เช่น ระบบวิเคราะห์หนี้,ระบบติดตามและการแจ้งเตือน,ระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และ ระบบกฎหมาย     ขอขอบคุณ https://www.kaohoon.com/news/653885.   #Ditto #DittoTH #DittoThailand #DittoDMS #DocumentManagementSolution #DMS #ระบบจัดเก็บเอกสาร #ECM #OCR #Digitization #Digitalization #DigitalTransformation#DigitalSolution #DigitalDisruption #CyberSecurity... read more

รู้จัก Disruptive Technology เทคโนโลยีสร้างความพลิกผันต่อธุรกิจในอนาคต อ่านต่อ

รู้จัก Disruptive Technology เทคโนโลยีสร้างความพลิกผันต่อธุรกิจในอนาคต

January 22, 2024

  ความก้าวหน้าของโลกเดินทางควบคู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คุณจะเห็นได้เลยว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ กำลังทำให้โลกของธุรกิจถูก Disrupt ตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายจากยุคที่คุณเลือกดูหนังหรือฟังเพลงจากแผ่น CD หรือ DVD เข้าสู่การฟังเพลงหรือดูหนังผ่านแพลตฟอร์ม Streaming ขนาดใหญ่ เช่น YouTube, Spotify, Apple Music และ Netflix เป็นต้น   ส่วนในอนาคต Disruptive technology ก็ยังคงเดินหน้าสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นและจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนนับล้านมากกว่าเดิมอีกด้วย   วันนี้เราจึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีสร้างความพลิกผันต่อธุรกิจในอนาคต หรือที่เรียกว่า Disruptive technology ว่าคืออะไร? และแนะนำ 5 Disruptive technology ที่กำลังนิยมในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มทำความรู้จัก Disruptive technology กันเลย!   Disruptive Technology คือ     Disruptive Technology คือ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งจะมีผลต่อตลาดของผลิตภัณฑ์เดิมหรือเทคโนโลยีเดิม ๆ โดยที่อาจจะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิมทำให้เทคโนโลยีเหล่านั้นหายไปอย่างถาวร   ทำให้ Disruptive... read more

5 ประเภท Cyber Security ที่องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญ อ่านต่อ

5 ประเภท Cyber Security ที่องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญ

January 19, 2024

  Cyber Security คือการรักษาความปลอดภัยในการปกป้องระบบ เครือข่าย และโปรแกรมจากการโจมตีทางไซเบอร์ โดยส่วนมากการโจมตีลักษณะนี้มักมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเข้าถึง เปลี่ยนแปลง หรือทำลายข้อมูล การใช้ Cyber Security ที่มีประสิทธิภาพนับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้มีจำนวนอุปกรณ์มากกว่าผู้ใช้งาน อาชญากรทางไซเบอร์เองก็มีนวัตกรรมใหม่ ๆ มากขึ้น   มาลองดูกันว่า Cyber Security มีอะไรบ้าง โดยสามารถจำแนกได้หลัก ๆ 5 ประเภท ที่องค์กรควรจะให้ความสำคัญ ได้แก่ ความปลอดภัยของเครือข่าย แอปพลิเคชัน โครงสร้างพื้นฐาน ระบบเก็บข้อมูล และอุปกรณ์รับส่งข้อมูล   ทำความรู้จักกับ Cyber Security     ได้รู้แล้วว่า Cyber Security มีอะไรบ้าง ลองมาสำรวจให้ลึกลงไปว่าจุดกำเนิดของ Cyber Security เริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่เมื่อไรและทำไมถึงไม่ควรจะมองข้ามการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์   เชื่อกันว่า Cyber Security มีจุดเริ่มต้นในปี 1971 เมื่อ Bob Thomas โปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันได้สร้างไวรัสที่ชื่อว่า Creeper เพื่อทดสอบความปลอดภัยในองค์กร... read more

Digital Transformation คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อองค์กรในปี 2024 อ่านต่อ

Digital Transformation คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อองค์กรในปี 2024

January 19, 2024

  เมื่อเราพูดถึง Digital Transformation คือ ตัวแปรสำคัญในทุก ๆ องค์กร มีบทบาทในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงาน ตั้งแต่กระบวนการวางแผนทางองค์กร ผลิตภัณฑ์และบริการลูกค้า Digital transformation สามารถช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทางองค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อาทิ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการคาดการณ์และการตัดสินใจ   Digital transformation มีศักยภาพในการพลิกโฉมองค์กรธุรกิจทุกประเภท โดยช่วยให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลได้ดีขึ้น และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเจริญเติบโต   Digital Transformation คืออะไร?     Digital Transformation คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการและการทำงานทั้งหมด เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงทางองค์กรไปในทางที่ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้การทำงานของทุก ๆ ฝ่ายมีประสิทธิภาพ ลดช่องโหว่ได้มากขึ้น   การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในทุกพื้นที่ขององค์กร เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานและมอบคุณค่าให้กับลูกค้าขององค์กรโดยพื้นฐาน ไม่ได้เป็นเพียงการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นเพื่อสร้างวิธีการทำงานใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ อีกด้วย   Digital Transformation สำคัญอย่างไรต่อองค์กรในปัจจุบัน   Digital Transformation มีความสำคัญต่อองค์กรในหลาย... read more

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ SDG คือ อ่านต่อ

ทำความรู้จัก SDG เป้าหมายเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต

January 19, 2024

  หลายปีที่ผ่านมาทุกคนคงได้ยินและเริ่มคุ้นเคยกับ คำว่า ความยั่งยืน หรือ Sustainable กันมากขึ้น เพราะไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคธุรกิจ ต่างก็เริ่มให้ความสำคัญและพูดถึงความยั่งยืนกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย   ดังนั้น องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำสิ่งที่เรียกว่า เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDG) เพื่อหวังจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ให้หมดไป   เพื่อให้คุณรู้จัก SDG คืออะไร? และ 17 เป้าหมายที่ถูกตั้งขึ้นมาจะช่วยเพิ่มความยั่งยืนแก่สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร? วันนี้เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ SDG กันเลย   ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ SDG คือ     SDG คือ Sustainable Development Goals หรือแปลเป็นไทยได้ว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนและให้เกิดความสมดุล มีด้วยกัน 3 เสาหลัก (Three Pillars of Sustainability) นั่นคือ สังคม เศรษฐกิจ... read more

ทั่วโลกได้หันมาให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจ Circular Economy ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดจำนวนของเสียลงอย่างยั่งยืน อ่านต่อ

Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม

January 19, 2024

  หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่บ่อยครั้ง บ้างก็เกิดคำถามและฉงนใจว่าคำนี้มีความหมายและสำคัญอย่างไรในปัจจุบัน   การจะเข้าใจความหมายว่า Circular Economy คืออะไรอย่างลึกซึ้ง ต้องมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจในช่วง 150 ปีที่ผ่านมาสักเล็กน้อย จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเราถูกครอบงำโดยเศรษฐกิจแบบเส้นตรง หรือ Linear Economy สินค้าผลิตจากวัสดุในโรงงาน ก่อนถูกนำออกจำหน่ายให้ผู้บริโภคใช้งาน หลังจากนั้นก็เผาทิ้งกลายเป็นขยะ   ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรทั่วโลกก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เป็นที่แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการตระหนักว่าการดำเนินเศรษฐกิจในลักษณะนี้ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน จึงเป็นที่มาของแนวคิด Circular Economy   Circular Economy คือ     แนวคิด Circular Economy คือการมุ่งเน้นให้ภาคเศรษฐกิจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมถึงมีเป้าหมายที่จะลดเสียและจำนวนขยะทั่วโลก โดยสนับสนุนให้คิดค้นวัสดุ ผลิตภัณฑ์ และระบบที่เหนือขั้นกว่าแบบเดิมเพื่อเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการผลิตและบริโภคทางเดียวให้เป็น Circular Economy ที่ลดการใช้วัสดุและทรัพยากรให้น้อยลง ตลอดจนนำ “ของเสีย” กลับมาเป็นทรัพยากรในการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่   หนทางการสร้าง Circular Economy คือแนวทางที่ยั่งยืนและจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ ตั้งแต่ภาคส่วนธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจขนาดใหญ่ องค์กร บุคคล องค์กรท้องถิ่นไปจนถึงระดับสากลโลก โดยใจความสำคัญของ Circular... read more

รู้จัก Zero Waste แนวคิดลดขยะให้เป็นศูนย์ ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม อ่านต่อ

รู้จัก Zero Waste แนวคิดลดขยะให้เป็นศูนย์ ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

January 19, 2024

  เนื่องจากปัญหาขยะล้นโลกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรุนแรง ขยะที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การฝังกลบ การเผา และการรีไซเคิล แต่ละวิธีล้วนก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การฝังกลบทำให้เกิดมลพิษทางดินและน้ำ การเผาทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และการรีไซเคิลต้องใช้พลังงานและทรัพยากรจำนวนมาก   จึงเกิดเป็นแนวคิดลดขยะให้เป็นศูนย์ “Zero Waste” คือ แนวคิดที่จะช่วยลดปริมาณขยะ ลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้ทรัพยากร และเป็นเรื่องที่ทำให้มนุษย์ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน   Zero Waste คืออะไร สำคัญอย่างไร Zero Waste คือแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาจากการทำงานของ Dr. Daniel Knapp ในปี 1995 ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งของ "Urban Ore” โดย Zero Waste คือ การมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณขยะที่สังคมสร้างขึ้น การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ ก่อนที่จะนำขยะเหล่านั้นไปกำจัด เพื่อทำให้ของเหลือใช้หรือขยะเหล่านั้นเกิดประโยชน์สูงสุด   หลักการ 1A3R เพื่อจัดการ Zero Waste     เพื่อจัดการ Zero Waste เราต้องอาศัยหลักการนี้... read more

อ่านต่อ

DITTO ผนึก 6 พันธมิตร ขยายจิ๊กซอว์ธุรกิจ Gen AI ดึงจุดแข็งพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน

January 17, 2024

DITTO ผนึก 6 พันธมิตร ขยายจิ๊กซอว์ธุรกิจ Gen AI ดึงจุดแข็งพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน DITTO ผนึก 6 พันธมิตร ร่วมมือ TEAMG-ORI-NETBAY-โสมาภา-ไซเท็ม สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ขยายจิ๊กซอว์ธุรกิจยุค Gen AI นวัตกรรม เทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนโลก ดึงจุดแข็งดิจิทัลทรานฟอร์เมชันต่อยอดธุรกิจครบวงจร นายฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DITTO เปิดเผยว่า กลุ่ม 6 พันธมิตรธุรกิจประกอบด้วย DITTO, NETBAY, TEAMG, SITEM, ORIGIN และ SOMAPA ซึ่งล้วนเป็นบริษัทชั้นนำอันดับต้น ๆ ในแต่ละสาขาธุรกิจ โดยบริษัทเหล่านี้เข้ามาร่วมถือหุ้นใน NETBAY เพื่อนำจุดเด่นและจุดแข็งของแต่ละบริษัทมาร่วมมือกันเสริมซึ่งกันและกันเพื่อต่อยอดธุรกิจร่วมกัน ในส่วนของ DITTO... read more

Carbon offset หรือ การชดเชยทางคาร์บอน คืออะไร อ่านต่อ

Carbon Offset หรือ การชดเชยทางคาร์บอน คืออะไร?

December 26, 2023

  Carbon Offset หรือ การชดเชยทางคาร์บอน คืออะไร Carbon Offset หรือ การชดเชยทางคาร์บอน คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน เช่น การฟื้นฟูที่ดิน การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น โดย Carbon Offset เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรสามารถที่จะซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   แนวคิดหลักของ Carbon Offset คือเครดิตชดเชยด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถโอนถ่ายจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานได้ โดยมองว่าการที่องค์กรยุติกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสถานที่หนึ่ง มีค่าเช่นเดียวกับการทำให้เกิดกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซที่เทียบเท่ากันในอีกที่หนึ่งบนโลก   สรุปได้ว่า Carbon Offset มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถดำเนินการชดเชยการปล่อยคาร์บอนได้ง่ายขึ้นผ่านการสนับสนุนเงินทุนให้กับหน่วยงานอื่น เพราะปัญหาก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นบนชั้นบรรยากาศทั่วโลก ดังนั้นจึงไม่สำคัญว่าก๊าซเรือนกระจกจะลดลงจากตรงไหน     Carbon Offset คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมโลกในอนาคต วัตถุประสงค์ของ Carbon Offset คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นที่อื่น เครดิต Carbon Offset แสดงให้เห็นว่าองค์กรได้มีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเครดิตการชดเชยทางคาร์บอนหมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 เมตริกตัน   โดยทั่วไป รายได้ที่เกิดจากการซื้อขายเครดิต Carbon Offset ของภาคธุรกิจเอกชนต่าง ๆ มักถูกนำไปลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีวัตถุประสงค​์เพื่อสร้างสมดุลและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคต   ยกตัวอย่างเช่นโครงการปลูกป่าและการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งเป็นกิจกรรม Carbon Offset... read more